จากกระแสข่าวผ่านสื่อที่ว่ามีอีกัวน่า เข้าทำลายผลผลิตพืชผักของประชาชนในพื้นที่อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ได้รับความเสียหาย นั้น ซึ่งทางกรมอนุรักษ์สัตว์ป่า และพันธุ์พืชได้มีการประชุมหารือแนวทางการจัดการแก้ไขปัญหาอีกัวน่าเขียว ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี และในพื้นที่จังหวัดอื่น เมื่อวันที่15พ.ย.ที่ผ่านมาเพื่อนำแนวทางการการจัดการแก้ไขปัญหาอีกัวน่าเขียวและเร่งวางแผนการดำเนินการในพื้นที่ความรับผิดชอบของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 สาขาสระบุรี
ล่าสุด ศูนย์ข่าวภาคกลาง หนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ รายงานข่าวล่าสุด
16 พ.ย.66)นายสุทธิพงษ์ แกมทับทิม ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 สาขาสระบุรี พร้อมด้วยนายกฤติน หลิมตระกูล ผอ.สำนักงาน ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อมจังหวัดลพบุรี ทีมสัตว์แพทย์ และทีมเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี ลงพื้นที่ตรวจสอบบริเวณพื้นที่ชุมชนเขาพระยาเดินธง อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี เพื่อประเมินสภาพถิ่นที่อยู่อาศัย การกระจายตัว และจำนวนประซากรอีกัวน่าเขียวในบริเวณดังกล่าวเพื่อนำมาวางแผนการดำเนินการดักจับ และขนย้ายอีกัวน่าเขียวออกจากพื้นที่ที่ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนสำหรับกรณีที่มีการดักจับอีกัวน่าเขียวได้แล้วนั้น ทางส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่าจะดำเนินการส่งสัตว์ไปศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ 1 นครนายก เพื่อดูแลต่อไป
จากนั้นเจ้าหน้าที่จะทำการลงพื้นที่สอบถามข้อมูลความเดือดร้อน หรือผลกระทบจากการแพร่กระจายของอีกัวน่าเขียวที่มีต่อชาวบ้านบริเวณชุมชนเขาพระยาเดินธง อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ ทำความเข้าใจ และให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเมื่อพบเจออีกัวน่าเขียวโดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับแผนการดำเนินการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการแพร่กระจายของอีกัวน่าเขียว
นายสุทธิพงษ์ แกมทับทิม ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 สาขาสระบุรี กล่าวว่าหากประชาชนมีการพบเห็นอีกัวน่าเขียว ให้โทรฯแจ้งทางสายด่วนพิทักษ์ป่า 1362 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่อยู่ใกลับริเวณพบเจอเข้าดำเนินการนำตัวอีกัวน่าเขียวไปส่งยังศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่า หรือสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าต่อไป
สำหรับอีกัวน่าทุกชนิดในสกุล Iguana เป็นสัตว์ป่าควบคุม ตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 กลุ่มที่ 1 ลำดับที่ 690 ,เป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น รายการที่ 3 ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่มีประวัติรุกรานแล้วในประเทศอื่น แต่ยังไม่รุกรานในประเทศไทย และเป็นสัตว์อื่น ตาม พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 ลำดับที่ 40 เป็นพาหะของเชื้อสกุลแซลโมเนลลา ซึ่งก่อให้เกิดโรคอุจจาระร่วงในคน กองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ด้านนางสาวสุนิตา วิงวอน นายสัตวแพทย์ชำนาญการ กล่าวว่า กรณีเรื่องโรคติดต่อระหว่างอีกัวน่าสู่คนนั้น (โรคซาโมเนลโลซิส) จากก่อนหน้าที่มีการตรวจหาเชื้อซึ่งเป็นชื่อแบคทีเรียกลุ่ม Enterobacteriaceae ที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียนั้น เชื้อดังกล่าว สามารถพบได้เป็นปกติในทางเดินอาหารโดยเฉพาะสำไส้ใหญ่ของอีกัวน่า หรือสัตว์เลี้อยคลานชนิด ในธรรมชาติ เช่น งู กิ้งก่า เต่า เมื่อสัตว์เหล่านี้ขับถ่ายอุจจาระออกมาภายนอก จึงมีการปนเปื้อน ปะปนอยู่ในสิ่งแวดล้อม น้ำ ดิน ได้ จากการศึกษาพบว่า85% ของเต่า 77ของกิ้งก่า และ92% ของงู จะเป็นพาหะของเชื้อ Salmonella spp. ซึ่งตัวสัตว์เองมักไม่แสดงอาการป่วย แต่เซื้อสามารถทำให้เกิดอาการป่วยในมนุษย์ได้แต่อาการป่วยก็ขึ้นอยู่กับจำนวนเชื้อที่ได้รับเข้าไป ภูมิคุ้มกัน และสุขภาพของผู้ที่ได้รับเชื้อ โดยคนที่มีสุขภาพ
การปกติดี มักไม่มีอาการรุนแรง อาจหายได้เอง อาการป่วยที่มักพบ คือ ท้องร่วง ปวดท้อง มีไข้
ภายหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 12-72 ชั่วโมง แต่ในกรณีที่ผู้ได้รับเชื้อมีผู้คุ้มกันต่ำ ผู้ป่วยHIV ผู้ได้รับเคมีบำบัดได้รับยาสเตียรอยเป็นเวลานาน ผู้ป่วยเบาหวาน หรือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า1ปี คนชรา จะมีความเสี่ยงต่อการติด
เชื้อสูง และอาการมักรุนแรง ถึงอย่างนั้นโรคชาโมเนลโลชิสก็ไมใช่โรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่ร้ายแรงถึงขั้นหวาดกลัว หรือตื่นตระหนกเกินไป หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับตัวอีกัวน่าเขียว หรือสัตว์เลื้อยคลานอื่นๆ ควรมีการสวมใส่ถุงมือยางเพื่อป้องกันเชื้อโรค ล้างมือ หรือส่วนต่างๆของร่างกายด้วยสบู่หลังจากสัมผัส
อีกัวน่า หรือมูลของมัน หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ที่ยังไม่สุก เพราะในเนื้อสัตว์ดิบก็สามารถพบเชื้อชาโมเนลโลซิสได้
เช่นกัน ล้างผักและผลไม้ให้สะอาดก่อนรับประทาน เพราะเชื้อซาโมเนลโลชิสสามารถปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมได้ และล้างบริเวณบ้าน หรือภาชนะต่างๆที่มีอีกัวน่ามาอยู่ในบริเวณนั้น
นันท์นภัส วงศ์ใหญ่
ผู้อำนวยการศูนย์ข่าวภาคกลาง หนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ