เปิดตัว “จ่าเฉย” อัจฉริยะถ่ายภาพอัตโนมัติจยย.ไม่สวมหมวกกันน็อก ประมวลผลออกใบสั่ง
พล.ต.ต.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร รอง ผบช.น. และ พล.ต.ต.จิรสันต์ แก้วแสงเอก ผบก.จร. ร่วมกันแถลงข่าว “จ่าเฉยอัจฉริยะตรวจจับผู้ไม่สวมหมวกนิรภัยอัตโนมัติ” ทั้งระบบการตรวจสอบ ถ่ายภาพจากหลายกล้องและประมวลผลก่อนออกใบสั่ง นำร่องที่แยกแรกโบสถ์แม่พระ หวังลดต้นเหตุความรุนแรงจากอุบัติเหตุโครงการด้านการจราจร
สืบเนื่องจากกองบังคับการตำรวจจราจร(บก.จร.)ได้ร่วมมือกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดงานแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนในการพัฒนาโครงการระบบจ่าเฉยอัจฉริยะ “ระบบตรวจจับผู้ไม่สวมหมวกนิรภัยอัตโนมัติ” มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจราจร ลดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ขับขี่รถจักยานยนต์ และประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน
โดยการทำงานของระบบตรวจจับผู้ไม่สวมหมวกนิรภัยอัตโนมัตินั้น จะมีการทำงานอัตโนมัติตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ และผู้ซ้อนท้ายที่ไม่สวมหมวกนิรภัยขับขี่ผ่านกล้องวงจรปิด ระบบจะตรวจจับพร้อมส่งข้อมูลเชื่อมต่อกับระบบออกใบสั่งของกองบังคับการตำรวจจราจร ซึ่งกองบังคับการตำรวจจราจรและคณะวิจัยได้ทำการทดสอบใช้งานระบบเป็นโครงการนำร่อง จำนวน 1 จุด ที่บริเวณแยกโบสถ์แม่พระทิศทาว จากถนนจตุรทิศมุ่งหน้าถนนประชาสงเคราะห์ พบว่า ใน 1 ชั่วโมง มีรถจักยานยนต์ขับผ่านโดยเฉลี่ย 116 คัน มีผู้ขับขี่ไม่สวมหมวกนิรภัย จำนวน 29 คัน หรือคิดเป็นประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ของระบบตรวจจับอัตโนมัติความแม่นยำของระบบอยู่ที่ 84 เปอร์เซ็นต์ ถือเป็นวัตกรรมที่จะนำมาใช้บังคับใช้กฏหมายต่อไป
พล.ต.ต.จิรพัฒน์ กล่าวว่า เป็นการพัฒนากล้องตรวจจับให้มีความฉลาดมากขึ้น และสามารถเรียนรู้ได้ว่าผู้ขับขี่รถจักยานยนต์คันไหนไม่ส่วมหมวกนิรภัย โดยใส่ข้อมูลเข้าไปในระบบกล้อง อีกทั้งยังสามารถแยกแยะได้ว่าเป็นหมวกเเก๊ป หรือผ้าคลุมหัว หมวกนิรภัยมีกี่รูปแบบ กี่สี ทั้งแบบเต็มใบ ครึ่งใบ เมื่อกล้องตรวจจับพบว่ารถจักยานยนต์ขับขี่มาไม่สวมหมวกนิรภัย กล้องจะบันทึก ทางระบบจะขยายแผ่นป้ายทะเบียนรถจากนั้นจะทำการตรวจสอบแผ่นป้ายทะเบียนรถอัตโนมัติ ว่าใครเป็นเจ้าของรถ จากนั้นจะส่งข้อมูลมายังกองบังคับการตำรวจจราจร และออกใบสั่งอัตโนมัติ ทางด้านเจ้าหน้าที่จะมีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องในขั้นตอนสุดท้าย เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด ถือว่าเป็นการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ เปรียบเสมือนสมองของมนุษย์ ส่วนเรื่องความผิดพลาดของกล้องนั้น จาก 6 เดือนที่ผ่านมายังไม่พบเห็นแต่อย่างใด และมีการปรับปรุงพัฒนาเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด ความสามารถของนวัฒกรรมนี้เทียบเท่าได้ถึงต่างประเทศ
พล.ต.ต.จิรพัฒน์ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันมีการทดลองกล้องดังกล่าวแล้ว 1 จุด ต่อไปหากได้ผลดีตามที่กำหนดไว้ ก็จะสามารถเริ่มติดตั้งกล้องอัจฉริยะได้เลย ทั้งนี้สามารถช้วยให้ผู้ใช้รถใช้ถนนหันมาสวมหมวกมากขึ้น ซึ่งช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุ และผู้เสียชีวิตบนท้องถนน ลดลง ทางเราได้กำหนดโครงการอย่างต่อเนื่องที่จะเข้าสู่ระบบการจัดหาจัดจ้าง ส่วนของทางนี้จะเป็นหน้าที่ของกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.)
ได้กำหนดขอบเขตการติดตั้งกล้องวงจรปิดดังกล่าวก่อนเดือนเมษายน นี้แน่นอน