คสช.เห็นชอบ 6 ร่างกฎหมายเร่งด่วน6ฉบับเตรียมเสนอ สนช. พิจารณา ให้ “ไพบูลย์”
สแกนกฎหมาย 80 ฉบับค้างสภา
เมื่อวันที่ 15 ก.ค.เวลา 15.30 น. นายดิสทัต โหตระกิตย์ รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เปิดเผย
ภายหลังการประชุม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ว่าที่ประชุม คสช. เห็นชอบร่าง พรบ.กฎหมาย
สำคัญเร่งด่วนนำเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)พิจารณาภายหลังมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
การปกครองชั่วคราว พ.ศ… ดังนี้
1. ร่างพรบ.แรงงานทางทะเล
2.ร่างพรบ.การทวงถามหนี้
3.ร่างพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
4.ร่างพรบ.อำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ
5.ร่างพรบ.วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง
6.ร่างพรบ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน
ทั้งนี้ในการพิจารณากฎหมายจะนำกฎหมายที่ค้างอยู่ในสภามาพิจารณา ปัจจุบันมีจำนวน 80 ฉบับ
ซึ่งการพิจารณาจะมี พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะหัวหน้าฝ่ายกฎหมาย
และกระบวนการยุติธรรม มีอำนาจเต็มในการพิจารณาคัดเลือกโดยหลักสำคัญ คือ ต้องเป็นกฎหมาย
ที่สอดกับนโยบาย คสช. จากนั้นจะส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตรวจทาน และนำเสนอครม
. คสช.พิจาณาต่อไปในทุกวันอังคารของสัปดาห์
อย่างไรก็ตามการพิจาณากฎหมายค้างสภาจะมีหลายฉบับและผ่านหลายชั้นกรรมาธิการ แต่สุดท้าย
จะจัดลำดับ 3 ส่วนเพื่อนำเสนอ คือ 1.สำคัญที่สุดจะออกเป็นประกาศ คสช. 2.นำเสนอให้สภา สนช.
พิจารณ และ 3.กฎหมายสำคัญรองลงไปจะนำเสนอภายหลังมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปกครอง
ถาวรและมีการรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
นายดิสทัต กล่าวว่า สาเหตุที่ คสช.ผ่าน ร่างกฎหมาย พรบ.แรงงานทางทะเล เป็นการนำเสนอโดยฝ่าย
ที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจ คสช. เพราะเห็นว่าเป็นประโยชน์ในการคุ้มครองแรงงานประมง ผู้ประกอบการ
ทางทะเล รวมถึงจะเป็นการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานรวมถึงครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่
ผู้ประกอบการทางทะเลด้วย
สำหรับร่างพรบ.การทวงถามหนี้ ทาง คสช.เห็นว่าต้องการส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจและ
คุ้มครองลูกหนี้ซึ่งเป็นประชาชนผู้มีรายได้น้อย ควรได้รับสิทธิ์คุ้มครอง เนื่องจากปัจจุบันมีความ
ไม่เหมาะสมในการทวงหนี้และไม่มีกฎหมายรองรับผู้ประกอบการบริษัทรับทวงหนี้ที่เกิดขึ้นมาก
มายอย่างไร้ระบบโดยเบื้องต้นกฎหมายฉบับนี้ต้องการจัดตั้งคณะการการขึ้นมากำกับดูแลพร้อมกับ
จัดระบบขึ้นทะเบียบบริษัททวงหนี้ พร้อมกับจะออกประกาศคุ้มครองสิทธิการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
ต้องไม่ละเมิดสิทธิประชาชน เช่น การจดทะเบียน การทวงหนี้ในเวลาอันเหมาะสม การลงประกาศ
ต้องไม่ทำให้ลูกหนี้เสียชื่อเสียง เป็นต้น
นอกจากนี้หลักการในการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายการค้ำประกันและจำนอง เนื่องจาก คสช.ต้องการจัด
ระบบการค้ำประกันและจำนองที่ต้องครอบคลุมสิทธิผู้ค้ำประกัน และลูกหนี้ชั้นต้น เพราะปัจจุบันพบว่า
การทำสัญญากู้ยืมหนี้มีการบังคับทำสัญญาบังคับผู้ค้ำประกันให้ต้องชดใช้หนี้แทน โดยที่ผู้ค้ำประกัน
ไม่รับทราบสิทธิ์ของตนเอง เป็นต้น โดยหลักสำคัญ คือการสร้างความเป็นธรรมทางกฎหมาย
นายดิสทัต กล่าวว่ากฎหมายที่ คสช.ให้ความสำคัญอีกฉบับ คือ ร่างพรบ.อำนวยความสะดวกในการพิจารณา
อนุญาตของทางราชการ เพราะทาง คสช.เห็นว่าที่ผ่านมาการขอใบอนุญาตทางราชการมีความยุ่งยากโดย
เฉพาะการกำหนดหลักเกณฑ์ที่ปัจจุบันสร้างภาระค่าใช้จ่ายแก่ประชาชน ดังนั้นเมื่อมีการแก้ไขจะช่วยลด
ระยะเวลาการขอใบอนุญาต ลดขั้นตอน และลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนที่สำคัญแม้กฎหมายฉบับนี้ยัง
ไม่ประกาศใช้ทางคสช. ได้มอบหมายให้พล.อ.ไพบูลย์ จัดตั้งศูนย์บริการและออกใบอนุญาตทางราชการ
แบบครอบวงจร หรือ One stop service ขึ้นทุกจังหวัดโดยมีผู้ว่าราชการจัดหวัดกำกับดูแลบริการประชาชน
ในการออกใบอนุญาตต่างๆ