วันนี้ 27 ต.ค. 2566 ที่ท่าเทียบเรือเจ้าท่า สาขาสตูล ตำบลตำมะลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 โดยพลเรือโทสุชาติ ธรรมพิทักษ์เวช มอบนโยบายนาวาเอก แสนย์ไท บัวเนียม ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจพื้นที่ตอนใต้ จว.สตูล ศรชล.ภาค 3/รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดสตูล,นาวาเอก รัฐพล แก้วกระจาย หัวหน้าศูนย์ควบคุมความมั่นคงท่าเรือจังหวัดสตูล ศรชล.ภาค 3 , นายสุขเกษม ศรีงาม เจ้าพนักงานประมงชำนาญงาน หน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลเกาะหลีเป๊ะ (สตูล)ประมงจังหวัดและประมงอำเภอเมืองสตูล บูรณาการกำลังจากหน่วยงานใน ศรชล.จังหวัดสตูล ประกอบด้วย ศูนย์ควบคุมความมั่นคงท่าเรือจังหวัดสตูล ศรชล.ภาค 3 สำนักงานประมงจังหวัดสตูล ด่านศุลกากรสตูล ศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจประมงเขต 9 (สตูล) สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาสตูล ตำรวจน้ำสตูล ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลจังหวัดสตูล หน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลเกาะหลีเป๊ะ (สตูล) และ ชุดปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ จำนวน 30 นาย นำเรือ ศรชล.2906 และ เรือ เจ้าท่า 188 ออกตรวจสอบและแสดงกำลังในการป้องกันและป้องปรามการกระทำผิดกฎหมายทางทะเลบริเวณพื้นที่ตำมะลัง – ตันหยงโป – เกาะสาหร่าย และได้พบปะพูดคุยสร้างความรับรู้ในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลให้กับผู้นำชุมชนบ้านเกาะสาหร่าย ต.เกาะสาหร่าย อ.เมืองสตูล จว.สตูล เกี่ยวกับข้อมูลเรือพื้นบ้านใช้เครื่องมือทำประมงผิดกฎหมาย (คราดปลิงทะเลลูกบอล ) หลังได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านเกาะสาหร่าย ว่ามีการลักลอบใช้เครื่องมือผิดกฎหมายคราดปลิงทะเลลูกบอล สร้างความเสียหายให้ทรัพยากรธรรมชาติและเครื่องมือประมงของชาวบ้าน ซึ่งการออกลาดตระเวนพร้อมเพิ่มความถี่ในการตรวจตรารอบเกาะสาหร่ายในครั้งนี้ แม้จะไม่พบการกระทำผิดกฎหมายดังกล่าว
ด้านนาวาเอกแสนย์ไท บัวเนียม รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดสตูล (ศรชล.สตูล) พร้อมคณะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงรับฟังปัญหา จากผู้นำชาวบ้านในพื้นที่และเชิญเจ้าของแพรับซื้อปลิงทะเลลูกบอล มาแจ้งถึงการรับซื้อปลิงทะเลลูกบอลจากกลุ่มเรือประมงที่ใช้เครื่องมือคราดในครั้งนี้มีความผิดทางกฎหมายจากการลงพื้นที่รับฟังข้อมูลข้อเท็จจริงจากชาวบ้าน ผู้นำชุมชน ได้เสนอแนะ 3 ประเด็นใหญ่คือ 1 ให้มีการรวมตัวกันผู้นำชุมชน ผู้นำหมู่บ้านและชาวบ้านรวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อทำการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น 2. หากเกินขีดความสามารถให้แจ้งมายัง ศรชล.หรือ ว่าสำนักงานประมงจังหวัด/หรือว่าหน่วยปราบปรามประมงทะเลเกาะหลีเป๊ะ 3 ศรชล.ได้เพิ่มความถี่ในการลาดตระเวน/เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาการกระทำความผิดประมงผิดกฎหมายเพื่อจำกัดเสรีในการกระทำความผิดกฎหมาย ควบคุมดำเนินคดีการกระทำความผิดต่อไป โดยลักษณะของการกระทำความผิดเป็นการใช้เครื่องมือคราดปลิงทะเล สร้างความเสียหายให้ทรัพยากรและเครื่องมือประมงอื่น เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรสัตว์น้ำ สำหรับการแก้ไขปัญหาประมง และการกระทำความผิดประมง เป็นปัญหาซับซ้อนที่ต้องร่วมมือกัน ระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐประชาชนและผู้ทำอาชีพประมง ในทุก ๆ เรื่องการสร้างความตระหนักรู้วินัย/ทุกคนต้องร่วมมือกันเชื่อว่าทุกอย่างจะคลี่คลาย
สำหรับปลิงทะเลลูกบอล การข่าวพบว่ามีการซื้อขายกิโลกรัมละ 60-70 บาทในตัวปลิงที่มีขนาดใหญ่ และขนาดเล็ก 35 บาท มีการจับเพื่อส่งขายไปเป็นยาบำรุงร่างกาย ในประเทศเวียนดนามและจีน ซึ่งชาวบ้านเกาะสาหร่ายหากเดินหาริมชายหาดหลังน้ำลดสามารถทำได้
สำหรับคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสตูล ได้ประกาศ เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมง ที่ห้ามใช้ทำการประมงจับสัตว์น้ำ พ.ศ.2560 เครื่องมือประมงปประเภทคราดประกอบกับเรือยนต์ทำการประมงปลิงทะเล ทำให้เกิดการทำลายหน้าดิน หญ้าทะเล ปะการัง อันเป็นแหล่งวางไข่และเลี้ยงตัวอ่อนของสัตว์น้ำ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อชาวประมง อาศัยมาตรา 28 วรรคหนึ่ง (3) และวรรคสอง มาตรา 71 (1)แห่งพระราชกำหนดประมง พ.ศ.2558 (มีโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาท ถึงหนึ่งแสนบาท หรือปรับจำนวนห้าเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมง)
ด้านนายรอดาษ นากมา ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 5 ตำบลเกาะสาหร่าย ยอมรับว่า ปัญหาการลักลอบทำประมงด้วยการใช้เครื่องมือ คราดปลิงทะเลลูกบอล มีจริง โดยมีการใช้เรือประมาณ 10 ลำเป็นเรือหางพร้อมเครื่องมือคราดสร้างความเสียหายให้กับเครื่องมือประมงของชาวบ้าน ซึ่งปัญหานี้มีมาต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 2 ปีแล้วที่ชาวบ้านเกาะสาหร่ายประสบปัญหา โดยกลุ่มเรือที่เข้ามาทำส่วนใหญ่มาจากต่างถิ่น จึงอยากให้ศรชล.เข้ามาช่วยเหลือ ตรวจตรา ป้องปรามการกระทำผิด
นิตยา แสงมณี // ผู้สื่อข่าวภูมิภาคประจำจังหวัดสตูล