วันที่ 23 ตุลาคม 2566 พระครูสมุห์สนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี ได้เปิดเผยว่า วัดพระธรรมกาย และ องค์กรพุทธโลก 18 ประเทศ ได้ร่วมประชุมสงฆ์ชาวพุทธ 3 นิกาย (วัชรยาน มหายาน เถรวาท) สวดมนต์ให้ผู้ประสบอุทกภัยอินเดีย และภาวนาเพื่อยุติสงคราม พร้อมรณรงค์สมาธิเพื่อสันติภาพร่วมกับ กินเนสส์เวิลด์เล็กคอร์ด
โดยองค์กรพุทธโลก ร่วมกับวัดพระธรรมกาย มูลนิธรรมกาย และเครือข่ายองค์กรพุทธกว่า 25 องค์กร จาก 18 ประเทศ ได้แก่ 1.ประเทศไทย, 2.เนปาล, 3.บังคลาเทศ, 4.มาเลเซีย, 5.ฟิลิปปินส์, 6.เมียนมา, 7.สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, 8.ออสเตรเลีย, 9.ศรีลังกา, 10.อินโดนีเซีย, 11.สหรัฐอเมริกา, 12.สหราชอาณาจักร, 13.เวียดนาม, 14.อียิปต์, 15.ภูฏาน, 16.ไต้หวัน, 17.สิงคโปร์, และ 18.อินเดีย เข้าร่วมประชุมสัมมนานานาชาติ ครั้งที่ 4 ของเครือข่ายองค์กรพุทธโลก (The 4th Global Buddhist Congregation – GBC of World Alliance of Buddhists – WAB & World Alliance of Buddhists – WAB 9th Executive Council (Exco) Meeting) มีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 500 ท่าน ณ เมืองกาลิมปง เบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย ระหว่างวันที่ 13-16 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา
สำหรับการประชุมประจำปี THE 4TH GLODAL BUDDHIST CONGREGATION มีกิจกรรมสำคัญ ได้แก่ 1.ประชุมสามัญประจำปีของเครือข่ายองค์กรพุทธโลก, 2.พิธีถวายมหาสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 3 นิกาย (วัชรยาน มหายาน เถรวาท) จำนวน 80 รูป (เท่าอายุพระพุทธเจ้า), 3.บริจาคช่วยผู้ประสบน้ำท่วมอินเดีย รัฐกาลิมปง สิกขิม และดาจิริง, 4.สวดมนต์และภาวนา ณ TriRatana และ Ground Zero ใน Kalimpong สำหรับทุกคนใน Kalimpong & Darjeeling & Sikkim ที่เผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ, 5.สงฆ์ 3 นิกาย สวดมนต์-นั่งสมาธิ-จุดประทีปถวายเป็นพุทธบูชา เพื่อสันติภาพโลก และยุติสงคราม, 6.สัมมนา “AMAZING HIMALAYAN BUDDHIST TRADITION & SOCIAL SPIRITUAL TRANSFORMATION 2023”, 7.สวดพระอภิธรรม โดยคณะสงฆ์วัชรยาน และเถรวาท อุทิศบุญให้ผู้เสียชีวิตกว่า 77 คน ในรัฐสิกขิม กาลิมปง ดาจิริง และ 8.กิจกรรม High Light เป็นการเซ็น MOU (Memorandum of Understanding) เพื่อร่วมในโครงการ สมาธิเพื่อสันติภาพโลก 1,000,000 คน กับสถิติ กินเนสส์เวิลด์เล็กคอร์ด โดยใช้สถานที่ของวัดสาเกีย (Sakya Monastery) และสถาบันพระพุทธศาสนาดิวาการ์ (Diwakar Buddhist Academy) ในการจัดประชุมสัมมนาและทำกิจกรรม
เครือข่ายองค์กรพุทธโลกที่เข้าร่วม ได้แก่ Wat Phra Dhammakaya, Pathum Thani, Thailand; World Alliance of Buddhists; All India Mahayana Buddhist Mhanipa Association; Shakya Monastery; All Island Buddhasasana Council of Sri Lanka; Wat Hua Kuang Kaew, Phayao, Thailand; Dr. Ambedkar Memorial Committee of Great Britain, the United Kingdom; Sanghakaya Foundation, India; Jaigaon Dolma Lhakhang (Monastery), India; Giac Hai Buddhist Temple, Vietnam; Dhammadipa foundation, Tripura, India; The Buddhist Society of India; Sambodhi Academy, Maharashtra, India; International Sasana Mamaka Association (ISMA), Myanmar; BUDDHACARE, Australia; Mahayana Buddhist Pure land Council of Indonesia, Indonesia; Bangladesh Boudhou Juba Parishad (BBJP); Malalasekera Foundation, Sri Lanka; Middle East Meditation Center, U.A.E.; International Education Religion & Culture Foundation (IERC), Singapore; Ambedkar International Mission, Egypt; Tamang Youth Association, West Bengal, India; Chinese Young Buddhist Association (CYBA), Taiwan; Asoka Meditation Center, Sydney, Australia; Buddhist Cultural Center of Cambodia; West Bengal Tamang Development & Cultural Board ; and Tamang Women United Federation
พระครูสมุห์สนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกาย กล่าวว่า “ในการประชุมนี้ เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นเพื่อนกัน แสดงถึงความรัก ความสามัคคี เป็นหนึ่งเดียวกันของชาวพุทธ ทั้ง 3 นิกาย ทั้งวัชรยาน มหายาน และเถรวาท ซึ่งส่งผลดีอย่างยิ่งต่อการบูรณาการความร่วมมือ ช่วยเหลือ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพื่อการนำสันติสุขอันเกิดจากหลักธรรมของพระพุทธเจ้าไปสู่ใจชาวโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่อง สันติสุขภายใน หรือ Inner Peace เพราะไม่ว่าจะเป็น สงคราม หรือ สันติภาพ ล้วนเกิดขึ้นจากใจของมนุษย์ทั้งสิ้น ถ้ามนุษยชาติได้มีโอกาสเรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ย่อมเข้าถึงสันติสุขภายใน และนำไปสู่สันติภาพภายนอกได้ สงครามย่อมไม่เกิดขึ้น เช่นเดียวกับที่ หลวงพ่อธัมมชโย ผู้สถาปนาวัดพระธรรมกาย เคยกล่าวไว้ว่า ‘สันติภาพโลก เริ่มต้นจากสันติสุขภายใน’ (World Peace through Inner Peace) เพราะสันติสุขภายในทำให้มนุษย์มีความรัก ความเมตตา มหากรุณา ให้อภัย และเห็นทุกคนเป็นเพื่อนร่วมเดินทางในวัฏฏสงสาร ไม่เบียดเบียนกันทางกาย วาจา ใจ ปฏิบัติตามหลักหัวใจของพระพุทธศาสนา คือ ‘ละชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส’ ซึ่งความรู้เหล่านี้มีความจำเป็นต่อโลก และต้องช่วยกันเผยแพร่ความจริงเหล่านี้ ออกไปอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่เราทุกคนต่างเผชิญหน้าและได้รับผลกระทบโดยตรงทั้งจาก ภัยสงคราม ภัยเศรษฐกิจ โรคภัยไข้เจ็บ และภัยธรรมชาติ ดังนั้น การมารวมตัวกันของเราในวันนี้ เพื่อส่งเสียงไปยังชาวโลกว่า เราทุกคนเป็นเพื่อนกัน เราเจอภัยพิบัติเหมือน ๆ กัน และเราทุกคนสามารถมีความรัก มีความเมตตาต่อกันได้ โดยเริ่มง่าย ๆ ด้วยการเจริญสติ สมาธิ ปัญญา เพื่อเข้าถึงสันติภายใน เมื่อถึงจุดนั้นเราจะมีความรักความเมตตาขึ้นเองโดยอัตโนมัติ และขอขอบคุณการสัมมนาในครั้งนี้ ที่มีการทำพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) “โครงการการสมาธิเพื่อสันติภาพโลก – Guinness World Records 1,000,000 รายชื่อ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ความร่วมมือของสมาชิกในชุมชน สังคม โรงเรียน และองค์กรต่าง ๆ ได้มาทำสมาธิร่วมกัน 2.เป็นการสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสมาธิและสร้างแรงบันดาลใจให้ชาวโลกหันมาทำสมาธิมากขึ้น และ 3.เพื่อรวบรวมรายชื่อสมาชิกขององค์กรเครือข่ายเพื่อทำสถิติโลก โดยไม่มีการเปิดเผยรายชื่อและข้อมูลต่าง ๆ และไม่ถูกนำไปใช้ในทางกฎหมายแต่อย่างใด เพื่อสิทธิและความปลอดภัยของทุกคน
ทั้งนี้ จากงานวิจัยในระดับปริญญาเอกของอาตมา พบว่า ถ้าให้การทำงานเผยแผ่ที่ยั่งยืน องค์กรพุทธต่าง ๆ ต้องทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ 1.ธรรมยาตรา ฝึกความอดทนและช่วยงานเผยแผ่ 2.การบวชระยะสั้น เพิ่มจำนวนพระภิกษุ 3.การตักบาตรหมู่พระ 500 รูป หรือ 1,000 รูป ขึ้นไป หรือถวายมหาสังฆทาน ส่งเสริมการทำทาน 4.การสวดมนต์, จุดประทีป ส่งเสริมศรัทธาในหมู่ชาวพุทธได้อย่างง่าย ๆ 5.การประชุม สัมมนา สร้างความสามัคคี และเข้มแข็งในเครือข่ายองค์กรพุทธด้วยกันเอง ทั้งนี้ ในการเผยแผ่ธรรมะของพระพุทธเจ้านีั เราทำเพียงองค์กรใดองค์กรหนึ่งไม่ได้ ต้องทำงานเป็นทีม เป็น “ทีมพระพุทธศาสนา” จึงจะสำเร็จ สมกับคำว่า ‘ไปคนเดียวไปได้ไว แต่ถ้าจะไปให้ไกล ต้องไปเป็นทีม’ เช่นเดียวกับที่หลวงพ่อธัมมชโย ท่านให้คำขวัญว่า “พุทธบุตรเป็นหนึ่งเดียวกัน เหมือนดวงตะวันที่มีดวงเดียว” (All Buddhist monks must be united as one, in the same way that there is only one sun in the sky.)”
สำหรับเหตุอุทกภัย วันที่ 4 ต.ค. 2566 ในรัฐสิกขิม ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย จากฝนตกหนัก หิมะถล่ม ส่งผลให้ระดับน้ำในทะเลสาบธารน้ำแข็งบนเทือกเขาหิมาลัยเอ่อล้นตลิ่ง และเขื่อนชุมทังแตก ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ดินโคลนถล่มเต็มพื้นที่ทั่วเมืองริมแม่น้ำในรัฐสิกขิม และเขื่อนแตก ทำให้มีผู้เสียชีวิตไม่น้อยกว่า 77 ราย และสูญหายอีกกว่า 140 ราย โดยมีประชาชนถูกอพยพ 2,400 คน และมีผู้พักอาศัยในค่ายบรรเทาทุกข์ 7,600 คน กระทบต่อประชาชนกว่า 22,000 คน ซึ่งถือว่าร้ายแรงในรอบ 50 ปี.
ภาพ/ข่าว สมาคมนักข่าวปทุมธานี