นายสุรชาติ มาลาศรี ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน พร้อมคณะ ลงพื้นที่พบปะกลุ่มผู้ใช้น้ำในเขตชลประทาน ของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาช่องแค เพื่อเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และกลุ่มเกษตรกร ผู้ใช้น้ำตลอดแนวคลองชลประทานชัยนาท-ป่าสัก ซึ่งไหลผ่านโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามโนรมย์ อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท ผ่านอำเภอตาคลี จ.นครสวรรค์ และ อ.บ้านหมี่ อ.เมือง จ.ลพบุรี โดยเฉพาะในแม่น้ำบางขาม อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี ซึ่งประสบปัญหาภัยแล้งซ้ำซากเป็นประจำทุกปี ทั้งนี้ เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชน เพื่อแก้ปัญหาน้ำแล้ง และน้ำท่วมในพื้นที่โครงการส่งน้ำ อย่างยั่งยืน โดยมี หน่วยงานระดับอำเภอ หน่วยงานระดับท้องถิ่น จนท.กรมชลประทาน และกลุ่มองค์กรผู้ใช้น้ำในพื้นที่ส่งน้ำ ในพื้นที่ จ.ลพบุรี สิงห์บุรี และ นครสวรรค์ เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ซึ่งประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ประสบปัญหาน้ำแล้ง น้ำไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตร พื้นที่เกษตรบริเวณท้ายคลองส่งน้ำต้องสูบน้ำจากแม่น้ำบางขามมาใช้ เนื่องจากน้ำส่งไปไม่ถึงบริเวณด้านท้ายคลองส่งน้ำ ทำให้เกษตรกร ต้องเพื่อต้นทุนในภากการเกษตร โดยเกษตรกรในพื้นที่ขอให้ กรมชลประทาน ติดตั้งเครื่องสร้างเครื่องสูบน้ำถาวร สร้างประตูระบายน้ำ เพิ่มเติมเพื่อให้สามารถส่งน้ำได้อย่างทั่วถึง เนื่องจากในปีที่ผ่านมามีปริมาณน้ำต้นทุนน้อย ส่งผลต่อการทำการเกษตรเป็นอย่างมากถึงแม้จะเป็นช่วงฤดูฝน
โดย กลมชลประทาน เตรียมเพื่อประสิทธิภาพในการระบายน้ำ โดยบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาช่องแค และตลอดแนวคลองส่งน้ำ ชัยนาท-ป่าสัก ที่สามารถเชื่อมโยงกับระบบลำน้ำของโครงการข้างเคียง ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และมีความสมดุลระหว่างการใช้น้ำ การระบายน้ำ และการรักษาคุณภาพน้ำ ตลอดจนเพื่อหาแนวทางและนำไปสู่การพัฒนา และการปรับปรุงระบบชลประทาน ระบบระบายน้ำ รวมถึงระบบลำน้ำที่มีอยู่เดิม ให้สอดคล้องกับการใช้น้ำในปัจจุบัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบชลประทานในพื้นที่ชลประทานโครงการส่งน้ำ กว่า 238,000 ไร่
ด้าน นายสุรชาติ มาลาศรี ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน กล่าวว่า….จากการลงพื้นที่ พบว่าการบริหารจัดการ ในเรื่องการส่งน้ำของชลประทาน ในฤดูฝน รวมถึงปัญหาการส่งน้ำในฤดุแล้ง…มีปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง…นอกเหนือจากปริมาณน้ำต้นทุนแล้ว คือ.. ระบบการส่งน้ำของชลประทานที่สร้างมา มีระยะเวลายาวนานมาก 50 , 60 ถึง 70 ปี เริ่มมีการชำรุด และไม่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ซึ่งเปลี่ยนแปลงไป จากนี้ไป กรมชลประทาน ต้องปรับปรุงระบบชลประทาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งน้ำ โดยเฉพาะที่คลองดิน ต้องประปรุงเป็นคลองด่านคอนกรีต ส่วนอาคารชลประทานชลประทานไหนที่ชำรุด หรือควบคุมน้ำได้ไม่ดี อาจต้องมีการประเปลี่ยน รวมถึงการบริหารจัดการในเรื่องรอบเวรของการส่งน้ำ ต้องดูถึงความเหมาะสม กับระดับของพื้นที่คลองส่งน้ำ และปริมาณน้ำต้นทุน เพื่อแก้ปัญหาทั้งการขาดแคลนน้ำในช่วงนี้ และ ปัญหาอุทกภัยในช่วงฤดูน้ำหลากด้วย
………………………………………………………….
นันท์นภัส วงศ์ใหญ่
สมชาย เกตุฉาย
ศูนย์ข่าวภาคกลางหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ