วันที่ 17 สิงหาคม เวลา 14.30 น นายนิวัฒน์ รุ่งสาคร ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วยนายกฤษณ์ แก้วทองหลาง ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายวันชัย ปังพูนทรัพย์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานพระนครศรีอยุธยา เขื่อนพระราม 6 หมู่ 10 ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีนายวิชาญ น้อยโต นายอำเภอท่าเรือ นายประจักษ์ อั้นจุกฉุน ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาป่าสักใต้ นายบำรุง ม่วงวิจิตร นายกเทศมนตรีตำบลท่าหลวง พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมลงพื้นที่ในครั้งนี้ สำหรับการลงพื้นที่ในครั้งนี้เพื่อติดตามสถานการณ์อุทกภัยและภัยแล้ง โดยจากการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา ฝนจะทิ้งช่วง และจากสถานการณ์เอลนีโญ ด้วย โดยในปัจจุบัน มีประตูระบายน้ำทั้งหมด 13 ประตู สามารถใช้งานได้ทั้งหมด
จากนั้น นายนิวัฒน์ รุ่งสาคร ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมคณะทำงาน เดินทางไปยังประตูระบายน้ำคลองหันตรา ต.บ้านเกาะ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมี นายเดชาธร เชาว์เลขา นายอำเภอพระนครศรีอยุธยา นายอดิศักดิ์ บุญรอด นายก ร.ต.ต.ธานี โพธิ์ชีพันธ์ รองนายกเทศมนตรีเมืองอโยธยา ร่วมลงพื้นที่ สำหรับประตูระบายน้ำหันตรา โดยประตูระบายน้ำแห่งนี้ได้รับการช่วยเหลือแบบให้เปล่าจากรัฐบาลญี่ปุ่น ผ่านทางองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) โดยใช้วงเงินก่อสร้าง 2,550 ล้านเยน เพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยป้องกันพื้นที่หลักและเขตเศรษฐกิจสำคัญทางด้านซ้ายของแม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่อย่างยั่งยืนอีกด้วย ซึ่งประตูระบายน้ำแห่งนี้จะเป็นประตูที่ใช้ป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่อุตสาหกรรมในเขต อ.อุทัย อ.พระนครศรีอยุธยา รวมถึงพื้นที่เศรษฐกิจใกล้เคียง
นายนิวัฒน์ รุ่งสาคร ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ณ สถารณ์ในปัจจุบัน จะเห็นว่าสถานการณ์มีแนวโน้มจะแล้ง แต่ทางจังหวัดฯ ไม่ประมาท ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงาน ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รวมถึงวางแผนเตรียมพร้อมรับมืออุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นด้วย โดยเฉพาะสถานที่สำคัญต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาล พื้นที่เศรษฐกิจ โดยได้ถอดบทเรียนจากปีที่ผ่านมา มาวางแผนรับมือในปีนี้เพื่อให้เกิดผลกระทบกับประชาชนน้อยที่สุด ส่วนพื้นที่อุตสาหกรรมยังไม่น่าห่วง เนื่องจากแต่ละสวนอุตสาหกรรมได้มีการก่อสร้างผนังกั้นน้ำโดยรอบไว้หมดแล้ว แต่ได้สั่งการให้ติดตามสถานการณ์จากทางจังหวัดต่อเนื่อง และได้มีความห่วงใยเรื่องของอุทกภัย และภัยแล้ง ที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อประชาชน โดยเฉพาะปัญหาน้ำอุปโภคบริโภค และน้ำการเกษตร ทั้งนี้ ได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้บริหารจัดการน้ำแบบปราณีต พร้อมให้เร่งดำเนินการเชิงรุกในการสร้างการรับรู้ และรณรงค์ขอความร่วมมือให้ประชาชนงดทำนาปัง และใช้น้ำอย่างประหยัด เกิดความคุ้มค่า
นันท์นภัส วงศ์ใหญ่
ผู้อำนวยการศูนย์ข่าวภาคกลางหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ