วันนี้ (15 ส.ค.66) เวลา 09.00 น. กรมทางหลวง โดยสำนักสำรวจและออกแบบ ได้จัดการประชุมสรุป
ผลการศึกษาโครงการ (สัมมนา ครั้งที่ 3) โครงการจ้างวิศวกรที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบ ทางหลวง 4
ช่องจราจรบนทางหลวงหมายเลข 113 ช่วง อ.ชนแดน-ต.ดงขุย ณ หอประชุมอำเภอชนแดน ที่ว่าการอำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยได้รับเกียรติจาก นายนาวิน สังฆมาตร นายอำเภอชนแดน เป็นประธานเปิดการประชุม เพื่อนำเสนอสรุปผลการศึกษาของโครงการทั้งด้านวิศวกรรม การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมทั้ง เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมการประชุมได้แสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ เพื่อนำมาประกอบการจัดทำรายงานสรุปผลการศึกษาโครงการให้มีความสมบูรณ์ โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน เข้าร่วมการประชุม
สำหรับแนวเส้นทางโครงการฯ มีจุดเริ่มต้นบนทางหลวงหมายเลข 113 อ.ชนแดน – ต.ดงขุย บริเวณ กม.27+000 มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกผ่านเขตตำบลชนแดน ตำบลศาลาลาย ตำบลท่าข้าม ตำบลตะกุุดไร ตำบลดงขุุย และสิ้นสุด
บนทางหลวงหมายเลข 113 บริเวณ กม.54+000 ตำบลดงขุุย อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบููรณ์ โดยมีรูปแบบการพัฒนาโครงการส่วนต่างๆ ได้แก่ รูปแบบทางหลวงโครงการ จะก่อสร้างตามลักษณะของพื้นที่ ถนนช่วงนอกและช่วงในเขตชุมชน ประกอบด้วย 1) ถนนนอกเขตชุมชนขนาด 4 ช่องจราจร (ไป-กลับ) กว้างช่องละ 3.5 เมตร ไหล่ทางด้านนอกกว้าง 2.5 เมตร และมีเกาะกลางแบบกำแพงคอนกรีต (Median Barrier) และ 2) ถนนช่วงในเขตชุมชน ออกแบบเป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร (ไป-กลับ) กว้างช่องละ 3.5 เมตร ไหล่ทางด้านนอกกว้างข้างละ 2.5 เมตร และมีเกาะกลางแบบยก (Raised Median) รูปแบบจุดกลับรถ มีจุดกลับรถทั้งโครงการ 26 จุด ได้แก่ จุดกลับรถเดิมของโครงการ 14 จุด จุดกลับรถที่เปิดในอนาคต 12 จุด โดยมีด้วยกัน 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) จุดกลับรถระดับดิน แบ่งออกเป็นจุดกลับรถรูปแบบเกาะกลางแบบกำแพงคอนกรีต และจุดกลับรถรูปแบบเกาะยก 2) จุดกลับรถใต้สะพานบกช่วงชุมชนบ้านกุฎิพระ
ในส่วนของ จุดตัดทางแยก จำนวน 7 แห่ง ในรูปแบบที่เหมาะสมสอดคล้องกับปริมาณจราจร และข้อคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ที่สัญจร ประกอบด้วย จุดตัดทางแยกที่ยังคงรูปแบบสัญญาณไฟจราจรทางแยกไว้คงเดิม จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ 1) จุดตัดทางแยกทางหลวงหมายเลข 2398 กม.27+296 สามแยกบ้านโคกเจริญ 2) จุดตัดทางแยก ทล.1205 กม.28+619 บริเวณวัดพระพุทธบาทชนแดน 3) จุดตัดทางแยก ทล.1069 กม.43+532 แยกตะกุดไร-ชนแดน จุดตัดทางแยกที่เพิ่มสัญญาณไฟจราจร จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ จุดตัดทางแยก พช.3036 กม.44+615 แยกเข้าบ้านตะกุดไร ใกล้ Lotus สาขาดงขุย จุดตัดทางแยก โรงเรียนบ้านดงขุย ซอย 9 เทศบาลดงขุย กม.45+209 และจุดตัดทางแยก กม.36+746 หน้าโรงเรียนบ้านท่าข้าม (เป็นจุดที่กรมทางหลวงมีแผนเปิดเป็นทางแยกในอนาคต) จุดตัดทางแยกที่ปิดทางแยกและให้ใช้ทางกลับรถ ได้แก่ จุดตัดทางแยกถนนท้องถิ่นชุมชนบ้านบุ่งคล้า กม.49+435 แยกเข้าโรงเรียนบ้านหนองระหมาน
นอกจากนี้ ได้พิจารณาออกแบบและปรับปรุงสะพาน จำนวน 12 แห่ง ประกอบด้วย สะพานคลองหินเหล็กไฟ (กม.28+146) สะพานข้ามลำรางสาธารณะ (กม.30+173) สะพานข้ามห้วยหลัว (กม.30+380) สะพานข้ามลำรางสาธารณะ (กม.33+164)สะพานบกช่วงชุมชนบ้านกุฏิพระ (กม.34+180) สะพานข้ามคลองตะกุดจั่น (กม.37+077) สะพานข้ามคลองตะกุดจั่น 2 (กม.38+940) สะพานข้ามลำรางสาธารณะ (กม.41+370) สะพานข้ามคลองบุษบง (กม.42+645) สะพานข้ามคลองปอ (กม.44+763) สะพานคลองหินลาด (กม.46+322) สะพานข้ามลำรางสาธารณะ (กม.47+261)
รวมทั้ง โครงการฯ ได้ตรวจสอบระบบระบายน้ำและพิจารณาปรับเปลี่ยนประเภทและขนาดของอาคารระบายน้ำ เพื่อให้เพียงพอต่อการรองรับปริมาณน้ำหลากในแต่ละพื้นที่ โดยมีรูปแบบการปรับปรุงอาคารระบายน้ำของโครงการ ประกอบด้วย 1.อาคารระบายน้ำตามขวาง การออกแบบระบายน้ำของโครงการเพื่อรองรับปริมาณหลากของระบบระบายน้ำขวางเดิมให้มีค่าส่วนเผื่อความปลอดภัยน้อยกว่า 1.5 ให้เพียงพอต่อการรองรับปริมาณน้ำหลากในแต่ละพื้นที่ โดยสรุปรูปแบบการอาคารระบายน้ำของโครงการ ประกอบด้วย สะพานจำนวน 11 แห่ง ท่อหลอดเหลี่ยมจำนวน 19 แห่ง ท่อกลมจำนวน 20 แห่ง โดยระบบระบายน้ำตามขวาง ได้เพิ่มเติมระบบระบายน้ำท่อลอดเหลี่ยมขนาด 1.20 x 1.20 ม. วางไว้ใต้ไหล่ทาง ซึ่งมี่ฝาตะแกรงเหล็กสามารถเปิด-ปิด ได้ ส่วนระบบระบายน้ำเดิมบริเวณทางเท้าให้คงไว้ แสดงตำแหน่งปรับปรุง 2.อาคารระบายน้ำตามยาว พบว่ามีค่าส่วนเผื่อความปลอดภัยน้อยกว่า 1.5 จึงได้พิจารณาปรับเปลี่ยนประเภทและขนาดของอาคารระบายน้ำเพื่อให้เพียงพอต่อการรองรับปริมาณน้ำหลากในแต่ละพื้นที่ ดังนี้ (1) เพิ่มความยาวคูระบายน้ำและวางท่อบ่อพักใต้ไหล่ทางเพิ่มขึ้น (2) ปรับความลาดชันคูระบายน้ำตามยาว 4 แห่ง (3) ปรับจากท่อกลมเป็นท่อเหลี่ยม 14 แห่ง (4) เพิ่มท่อเหลี่ยม 7 แห่ง (5) เพิ่มรางคางหมู 2 แห่ง รวมทั้งมีการรื้อย้ายศาลาพักคอยให้สอดคล้องกับแนวทางการขยายช่องทางจราจรของโครงการฯ และมีรูปแบบศาลาพักคอยที่เหมาะสม ตามมาตรฐานของกรมทางหลวง รูปแบบ G ตามแนวเส้นทางของโครงการทั้งหมด 26 แห่ง
ทั้งนี้ โครงการได้ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น ทั้งในระยะก่อนก่อสร้าง ระยะก่อสร้าง และระยะดำเนินการและบำรุงรักษา ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ และคุณค่าต่อคุณภาพชีวิต และนำมากำหนดมาตรการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อลดผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นให้น้อยที่สุด เช่น การจัดวางกองดินให้ห่างจากแหล่งน้ำ การควบคุมไม่ให้คนงานก่อสร้างทิ้งเศษวัสดุก่อสร้างลงสู่ลำน้ำ การเปิดพื้นที่ก่อสร้างให้น้อยที่สุดและต้องบดอัดดินให้เรียบร้อยก่อนเปิดพื้นที่ส่วนอื่นๆ การจำกัดความเร็วในการวิ่งของรถบรรทุกขนวัสดุก่อสร้าง การปิดผ้าใบคลุมส่วนกระบะบรรทุกวัสดุอย่างมิดชิดมากที่สุด การติดตั้งกำแพงกั้นเสียงชั่วคราวในช่วงก่อสร้าง รวมทั้งต้องมีการประสานทุกภาคส่วนเพื่อประชาสัมพันธ์เส้นทางเลี่ยงพื้นที่ก่อสร้างให้ได้อย่างทั่วถึงและครอบคลุม เป็นต้น
ทั้งนี้ ภายหลังจากการศึกษาในครั้งนี้แล้วเสร็จ กรมทางหลวง จะดำเนินการเสนอรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา ซึ่งคาดว่าโครงการจะสามารถเริ่มก่อสร้างได้เร็วที่สุดในปี พ.ศ.2570 และสามารถเปิดใช้งานได้ใน
ปี พ.ศ. 2572 เมื่อโครงการแล้วเสร็จจะช่วยรองรับปริมาณการจราจรที่คาดว่าจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการเดินทางและการขนส่งสินค้าของจังหวัดเพชรบูรณ์ที่เชื่อมต่อไปสู่ภูมิภาคต่างๆ ได้อย่างปลอดภัย และสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น นำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการค้า การลงทุน ของจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยผู้สนใจสามารถติดตามความคืบหน้าและรายละเอียดของโครงการฯ ได้ 3 ช่องทาง ได้แก่ 1.เว็บไซต์ www.highway113-chondaen-dongkhui.com 2.แฟนเพจเฟซบุ๊ค : โครงการสำรวจออกแบบ ทางหลวง 4 ช่องจราจร ทล.113 ช่วง ชนแดน-ดงขุย และ 3.Line Official : @324ecuud