วันที่ 12 สิงหาคม 2566 ที่บริเวณหน้าที่ว่าการ อ.เสาไห้ จ.สระบุรี มีพิธีเปิดการแข่งขันเรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2566 โดยมี นายผล ดำธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เป็นประธาน นายชินนาอาชว์ รสิอัครศักดิ์ นายอำเภอเสาไห้ นายธนกฤต อัตถะสัมปุณณะ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี นายวิจักขณ์ โพธ์ใบ สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอเสาไห้ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการจัดการแข่งขัน ทีมเรือยาวจากจังหวัดต่างๆ และประชาชนชาวจังหวัดสระบุรี และใกล้เคียงร่วมในพิธีเป็นจำนวนมาก
นายธนกฤต อัตถะสัมปุณณะ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี กล่าวรายงานต่อประธานในพิธีเปิด ว่า การแข่งขันเรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทานของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จ.สระบุรี ประจำปี 256 6การแข่งขันเรือยาว เป็นประเพณีที่สำคัญประเพณีหนึ่งของจังหวัดสระบุรี ซึ่งมีมาตั้งแต่ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมา เป็นวิถีชีวิตของชาวสระบุรีที่อาศัยอยู่บริเวณริมแม่น้ำป่าสัก ได้พึ่งพาอาศัยลำน้ำป่าสักประกอบอาชีพในการจับปลา และเพาะปลูกเป็นส่วยใหญ่ ในช่วงออกพรรษาจะว่างเว้นจากการทำนา ชาวบ้านในแต่ละหมู่บ้านจึงรวมตัวกันฝึกซ้อม “พายรือยาว” เพื่อเตรียมแข่งขันกันในห้วงฤดู “ทอดกฐิน” ซึ่งในแต่ละปี วัดต่างๆ ที่ตั้งอยู่ตามแนวแม่น้ำป่าสักจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันเรือยาว โดยมีรางวัลเป็น “กองผ้าป่า” 1 กอง เพื่อสร้างความสนุกสนานและเกิดความสามัคคีในกลุ่มชาวบ้าน กระทั่งในปี พ.ศ.2525 จึงได้มีการฟื้นฟูการแข่งขันเรือยาวประเพณีขึ้นอีกครั้งในงาน “ทอดกฐินหลวงพระราชทาน” สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี ที่วัดสมห์ประดิษฐาราม อ.เสาไห้ ในโอกาสนั้น จึงได้กำหนดให้เป็นประเพณีสำคัญของ อ.เสาไห้ และได้จัดการแข่งขันเรือยาวติดต่อกันมาทุกปี
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2537 จ.สระบุรี ได้เล็งเห็นความสำคัญของการแข่งขันเรือยาวประเพณี ซึ่งเป็นมรดกวัฒนธรรมทางสายน้ำ วิถีชีวิตของผู้คนที่ผูกพันกับสายน้ำ บนพื้นฐานความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนในชุมชน จึงได้เปลี่ยนจากการแข่งขันเรือยาวของ อ.เสาไห้ ยกระดับเป็นการแข่งขันเรือยาว จ.สระบุรี และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าจาก สมเด็จพระกนิฯฐาธิราช เจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี พระราชทาน “ถ้วยรางวัล” สำหรับการแข่งขันเรือยาว “เป็นประเพณีของจังหวัดสระบุรี” ตั้งแต่นั้นมา ถึงปัจจุบัน สำหรับ ปีนี้ 2566 จ.สระบุรี องค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี ได้สนับสนุนงบประมาณจัดการแข่งขัน ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนด จัดงานการแข่งขันเรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทาน “กรมสมเด็จพระเทพฯ” ขึ้น ในวันที่ 12-13 สิงหาคม 2566 ดังกล่าว
นายผล ดำธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี กล่าวในพิธีเปิดว่า ขอขอบคุณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี หน่วยงานองค์กรต่างๆ ภาครัฐ และเอกชน ที่ได้ให้การสนับสนุนการดำเนินการจัดการแข่งขันเรือยาวประเพณี ชิงถ้วยพระราชทานของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในครั้งนี้ ซึ่งทำให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญาท้องถิ่น การแข่งขันเรือยาวของชาวอำเภอเสาไห้ ให้คงอยู่สืบต่อไป ทั้งนี้ยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้กับจังหวัดสระบุรี และปลูกฝังจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนรู้คุณค่าของน้ำ ก่อ่ให้เกิดการอนุรักษ์ รักษาแหล่งน้ำ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมถึงเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของ จ.สระบุรีให้ดียิ่งขึ้น
สำหรับการจัดการแข่งขันเรือยาวในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ เรือยาวใหญ่ 55 ฝีพาย จำนวน 8 ลำเรือยาวกลาง 40 ฝีพาย จำนวน 8 ลำ เรือยาวเล็ก 30 ฝีพาย จำนวน 12 ลำ และเรือพื้นบ้าน ไม่เกิน 10 เป็นเรือดังจากจังหวัดต่างๆ อาทิ เทพนรสิงห์ 88 จังหวัดสระบุรี เจ้าแม่ประดู่ทอง จังหวัดชลบุรี สิงห์ปทุม จังหวัดปทุมธานี พรพ่อปู่ขุนดาบ จังหวัดสระบุรี พญาชาละวันสิงห์ลิโอ จังหวัดพิจิตร ศรีสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ พรวิชิตเทพองค์อินทร์ จังหวัดพิษณุโลก พรปู่กลมจังหวัดหนองคาย ประเภทเรือยาวกลาง 40 ฝีพาย จำนวน 8 ลำ มี จักรนารายณ์ จังหวัดสระบุรี เจ้าแม่ประดู่เงิน จังหวัดชลบุรีสิงห์ปทุม จังหวัดปทุมธานี แม่แสงมณีจังหวัดสระบุรี ชาละวันสิงห์ลีโอ จังหวัดพิจิตร พรวิชิตสิงห์ไสวจังหวัดพิษณุโลก กาพสินธ์นาวาจังหวัดกาพสินธุ์ พรปู่กลมจังหวัดหนองคาย ประเภทเรือยาวเล็ก 30 ฝีพาย จำนวน 12 ลำ มี สุวรรณเลขาจังหวัดสระบุรี แม่เหลืองทอง จังหวัดสระบุรี คนสวยเมืองเก่า จังหวัดสระบุรี แม่โขงเอกนาวา จังหวัดนครปฐม คนสวยเมืองเพชร จังหวัดเพชรบุรี ฉัตรชัย จังหวัดนครสวรรค์ หมื่นไวยวรนาท จังหวัดนครสวรรค์ เพชรพิมาย วีทีสปอร์ต จังหวัดนครราชสีมา เทพโกศล จังหวัดปราจีนบุรี เจ้าย่ามณีนาวา จังหวัดอุดรธานี ท้าวขุนศรี ขุนพัน จังหวัดอุบลราชธานี สิงห์อีสาน จังหวัดหนองคาย
โดยใช้เวลาในการแข่งขัน จำนวน 2 วัน ( 12-13 ส.ค.66) วันนี้ 12ส.ค. 66 เป็นการแข่งขันรอบคัดเลือกเพื่อ คัดผู้ชนะ เข้าไปชิงชนะเลิศของแต่ละประเภทใน วันที่ 13 ส.ค.66 ซึ่งเป็นรอบชิงชนะเลิศในแต่ละประเภท โดยจะเริ่มการแข่งขันตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป รับชมการถ่ายทอดสดตลอดการแข่งขันผ่านทาง Facebook Live ไทยลองโบท และถ่ายทอดสดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในวันที่ 13 สิงหาคม 2566เวลา 14.30 – 16.30 น. ทางช่อง ททบ.5 เอชดี ซึ่งหลังพิธีเปิด คณะกรรมการจัดการแข่งขัน ได้ ปล่อยเรือยาวลงสู่สนามในแม่น้ำป่าสัก ทันทีท่ามกลาง ทีมพากษ์ฝีปากเอก กระตุ้นเสียงเชียร์ ของประชาชนที่ชื่นชอบในเกมการแข่งขันเรือยาว เฝ้ารอชมเต็มอัฐจันทร์ริมฝั่งหน้าที่ว่าการอำเภอเสาไห้นับพันคน
นันท์นภัส วงศ์ใหญ่
ผู้อำนวยการ
ศูนย์ข่าวภาคกลางหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ