ข่าว 5 เหล่าทัพฉบับภูมิภาคหนังสือพิมพ์กองทัพข้าวภูมิภาคออนไลน์ทั่วไทย
วันนี้ (ศุกร์ที่ 11 ส.ค. 2566) เวลา09.00น.ที่ ตึกเภสัชกรรม ชั้น 4 รพ.พหลพลพยุหเสนา อ.เมือง จ.กาญจนบุรี นายแพทย์รักษ์พงศ์ เวียงเจริญ รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ รพ.พหลฯ พร้อมด้วย ผศ.ภญ.ยุพดี ศิริสินสุข รองเลขาธิกา สปสช.ประธานในการประชุม เนื่องด้วยโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี เครือข่ายภาคีองค์กรประชาชน และ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการภาคีเครือข่ายและอบรมปฏิบัติการเก็บสิ่งส่งตรวจสารพันธุกรรม(DNA) เพื่ออบรมและประสานเครือข่ายการพัฒนาการเข้าถึงบริการระบบหลักประกันสุขภาพของกลุ่มคนไทยที่มีปัญหาสิทธิสถานะ /กลุ่มคนไทยไร้สิทธิ์ จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีองค์กรเครือข่ายต่างๆ อาทิ กระทรวงมหาดไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจ.กาญจนบุรี กลุ่มคนไร้บ้านกาญจนบุรี และเครือข่ายภาคประชาชนอื่นๆ เข้าร่วมประชุม
📌จังหวัดกาญจนบุรี เป็นจังหวัดที่อยู่ชายขอบ ชายแดนไทย-พม่า ซึ่งมีสภาพของกลุ่มชาติพันธ์ที่หลากหลาย การเดินทางสัญจรไปมายากลำบาก อาศัยตามชายขอบ รวมทั้งเด็กที่เกิด ไม่ได้รับการแจ้งเกิด เนื่องจากความยากจน เข้าไม่ถึงการบริการด้านสุขภาพ จึงทำให้มีประชาชนที่ยังตกหล่นอยู่ คือผู้ที่ยังไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนเป็นจำนวนมาก ในโอกาสนี้ทางสำนักงานทะเบียนกรมการปกครอง และสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม และ สปสช. ได้จัดทำโครงการที่จะจัดเก็บสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอเพื่อเพิ่มชื่อให้กับคนที่ตกหล่นได้มีโอกาสเป็นคนไทยตามสิทธิ ซึ่งในโอกาสนี้ คนไทยไร้สิทธิ ที่มีปัญหาสถานะทางทะเบียน ต้องขอขอบคุณ ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และที่สำคัญก็คือทางโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา ที่ได้อาสาร่วมเป็น เครือข่าย และเป็นสถานที่จัดเก็บสารพันธุกรรม เพื่อส่งต่อไปยังสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรมในการที่จะทำให้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการลดรายจ่าย และลดเวลาในการเดินทาง และที่สำคัญก็คือเป็นการอำนวยความสะดวก
📌ผศ.ภญ.ยุพดี ศิริสินสุข รองเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า “จากการที่หน่วยงานเริ่มต้น 9 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรุงเทพมหานคร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) องค์การแพลนอินเตอร์เนชั่นแนลประเทศไทย มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย ได้ร่วมลงนามบันทึก โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อแก้ไขปัญหาสิทธิของคนไทยที่มีปัญหาสถานะทางทะเบียน มีการกำหนดประเด็นภารกิจของแต่ละหน่วยงาน เพื่อให้ได้สิทธิอื่นๆ ตามมา เช่น สิทธิการรักษาพยาบาล ซึ่งการพิสูจน์สารพันธุกรรม(DNA) เป็นอีกกระบวนการหนึ่ง ที่จะใช้ท้ายสุด……
📌ด้านนายแพทย์ ขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย ประธานคณะทำงานพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข คนไทยที่มีปัญหาสถานะทางทะเบียน เผยว่า เป็นการร่วมกันทำงานและประสานงานของภาคีเครือข่าย เป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหา คนไทยที่มีปัญหาสิทธิทางทะเบียนหรือเรียกง่ายๆว่า คนไทยไร้สิทธิ ก็เป็นการแก้ไขปัญหาร่วมกันของ 9 หน่วยงาน โดยมี สสส.เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณหลัก เป็นเรื่องของการพยายามที่จะให้คนไทยที่ไร้สิทธิสถานะไม่มีสิทธิ์ความเป็นคนไทย ไม่มีเลข 13 หลัก สามารถกลับมาเป็นคนไทยได้ ซึ่งมีขั้นตอนทางกฎหมายที่สามารถทำได้แต่ต้องมีหลักฐานพอสมควร หลักฐานหนึ่งที่มีความจำเป็นและเป็นประโยชน์กับการคืนสิทธิการเป็นคนไทย ให้กลุ่มคนเหล่านี้คือการตรวจ DNA เพื่อพิสูจน์ความเป็นคนไทย กับคู่เทียบ ซึ่งอาจจะเป็นสมาชิกในครอบครัว ที่มีบัตรประชาชน มีเลข 13 หลักอยู่แล้ว ซึ่งหากตรวจสารพันธุกรรมตรวจ DNA ได้ ผลตรวจตรงกัน เราก็สามารถคืนสิทธิ์ความเป็นคนไทยให้เขา ออกเลข 13 หลักให้เขาได้ตามกฎหมาย
📌ด้านนายณัฐพงศ์ เหมือนรุ่ง นางวรรณา แก้วชาติ กล่าวว่า.. การเข้ามาทำงานของเรื่องคนไทยไร้สิทธิ์นั้น ทำงานเป็นเครือข่ายโดยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เมื่อเจอผู้มีปัญหา ผู้ไม่มีเลข 13 หลัก ไม่ได้รับสิทธิ์ในการรักษา หรือสวัสดิการ โรงพยาบาลที่เป็นภาคีเครือข่ายร่วมกันกับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ก็จะเข้าทำการช่วยเหลือและประสานเครือข่ายสืบค้นต่อไป ในส่วนของตนนั้นอยู่ส่วนของการติดตามค้นหา ประสานกับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ประสาน อสม. และ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชนของในพื้นที่ เข้าติดตาม ตามหา ตั้งแต่ ปู่ ย่า ตา ยาย พี่ น้อง ค้นหาว่ายังมีใครที่หลงเหลือ เพื่อหาพยานหลักฐานให้นายทะเบียนที่ต้องการเพิ่มเติม เพื่อนำเข้าสู่ขบวนการ การตรวจ DNA การมีโครงการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาสถานะทางทะเบียน หรือคนไทยไรสิทธิ์ จนไปถึงขั้นตอน ตรวจDNA และทราบผลว่าเป็นคนไทย จนถึงขั้นตอนได้เลข 13 หลักนั่น ได้รับการช่วยเหลือแก่ผู้ยากไร้ จากภาคีเครือข่าย จากอำเภอ จากโรงพยาบาล จาก สปสช. จาก สสส. เป็นต้น เพราะไม่มีค่าใช่จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น บางราย ต้องหลบซ่อน หลบหนี หรือเจอหลอกลวงจากผู้หาผลประโยชน์ ที่แอบอ้างว่าสามารถช่วยเหลือให้มีเลข 13 หลักได้ สูญเงิน เสียทรัพย์สินเป็นต้น
📌นพ.รักษ์พงศ์ เวียงเจริญ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา กล่าวว่า โรงพยาบาลยินดีมากที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสนับสนุนการพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคลให้แก่ผู้มีปัญหาด้านสถานะให้กับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ โดยการประชุมในวันนี้เป็นการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลและเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการจัดเก็บและตรวจพิสูจน์อัตลักษณ์ตามมาตรฐานของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งที่มาของการร่วมมือในครั้งนี้เนื่องจากที่ผ่านมาโรงพยาบาลพบว่ามีคนไข้จำนวนหนึ่งที่มารักษาแล้วโรงพยาบาลต้องให้การอนุเคราะห์ บางรายเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังซึ่งหากต้องอนุเคราะห์ต่อไปเรื่อยๆ ก็ไม่ทราบว่าจะมีจุดสิ้นสุดตรงไหน เมื่อสอบถามข้อมูลจึงพบว่าคนกลุ่มนี้บางคนไม่มีบัตรประชาชนจึงไม่มีสิทธิการรักษาพยาบาล
ด้วยเหตุนี้ โรงพยาบาลจึงได้ประชุมหารือกับทีมผู้ให้การรักษาและกลุ่มงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม จึงได้ทำการประสานงานกับหลายหน่วยงาน ทั้งกระทรวงมหาดไทย กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ ในการผลักดันช่วยเหลือให้คนกลุ่มนี้ได้รับบัตรประชาชนและเข้าถึงสิทธิในการรักษาพยาบาล “ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นโอกาสดีที่กระทรวงยุติธรรมให้โอกาสโรงพยาบาล ถ้าสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องสิทธิการรักษาก็จะได้ลดแรงกดดันจากค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ซึ่งโรงพยาบาลมองว่าผู้ป่วยเป็นคนไทยจึงควรต้องเข้าถึงสิทธิ จึงได้เริ่มจึงปรึกษาเครือข่ายต่างๆ ว่าทำอย่างไรถึงจะผลักดันให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงสิทธิและกระบวนการพิสูจน์ตัวตน ทำให้กลุ่มงานสังคมสงเคราะห์และกลุ่มงานหลักประกันสุขภาพทราบแนวทางว่าต้องทำอย่างไร ต้องติดต่อประสานงานในจุดไหน จึงมีเคสผู้มีปัญหาด้านสถานะเข้ามาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันโรงพยาบาลมีส่วนช่วยผลักดันให้คนกลุ่มนี้เข้าสู่กระบวนการพิสูจน์ตัวตนและได้รับบัตรประชาชนไปแล้ว 11 ราย
อย่างไรก็ดี ในบางครั้งผู้ที่ต้องการพิสูจน์อัตลักษณ์ไม่สะดวกที่จะเดินทางมาตรวจ DNA ที่ส่วนกลาง เช่น เป็นคนไข้ติดเตียง หรือบางครั้งมาได้ก็ต้องหอบหิ้วกันมาทั้งครอบครัว บางรายกว่าจะได้บัตรประชาชนก็สายเกินไป ทางสถาบันนิติวิทยาศาสตร์จึงต้องการปรับปรุงกระบวนการพิสูจน์ DNA ให้ดีขึ้น จึงเป็นที่มาโครงการนำร่องให้โรงพยาบาลช่วยเก็บอัตลักษณ์ให้ เพราะถ้าในพื้นที่ทำได้ ผู้ที่มีปัญหาสถานะและสิทธิในการรักษาพยาบาลจะได้ไม่ต้องรอนาน บัตรประชาชนเป็นจุดเริ่มต้นที่จะได้รับสิทธิการรักษาพยาบาลและสิทธิประโยชน์อื่นๆ จากรัฐ ซึ่งที่ผ่านมา สปสช. มีเครือข่ายภาคประชาชนและเครือข่ายศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพภาคประชาชนในพื้นที่ที่ทำงานช่วยเหลือให้ผู้มีปัญหาด้านสถานะเข้าได้เข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลอยู่แล้ว เพียงแต่ร่วมมือแบบนี้ยังไม่ครบวงจรและต้องรอเวลานาน ซึ่งการพิสูจน์ DNA เป็นกระบวนการหนึ่งในการพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคลที่ชัดเจนที่สุด แต่เนื่องจากสถานที่พิสูจน์ DNA ของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์อยู่ที่ กทม. ผู้ที่อาศัยในต่างจังหวัดจึงต้องส่งคนไปตรวจและมีขั้นตอนยุ่งยาก แต่พอมีการนำร่องในลักษณะนี้ คนในชุมชน เครือข่ายประชาชน ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพภาคประชาชน เมื่อค้นหาผู้ที่ยังไม่มีบัตรประชาชนได้แล้วก็จะสามารถผลักดันให้เข้าสู่กระบวนการได้เร็วขึ้น
สปสช.
ข่าว5หลักธรรมฉบับภูมิภาคออนไลน์
หนังสือพิมพ์กองทัพข้าวภูมิภาคออนไลน์ทั่วไทย
วราพร โพธิ์เย็น