“ประยุทธ์”ย้ำชัดธรรมนูญปกครองชั่วคราว มีไม่เกิน50 มาตรา ขณะรัฐบาลใหม่ ตั้งเดือน ก.ย.นี้
ควบคู่อำนาจคสช.ซึ่ง ดูความมั่นคงเป็นหลัก จ่อ ตั้งสภาปฏิรูปฯ 250 คน คัดชื่อจาก11กลุ่ม
วันที่ 11 ก.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในรายการ
คืนความสุขให้ประชาชน ตอนหนึ่งว่า เรื่องรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ซึ่งคสช. จะทำไว้โดยฝ่ายกฎหมาย
มีไม่เกิน 50 มาตรา ระบุ ให้รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นภายในเดือน ก.ย. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสะดวก รวดเร็ว
มีประสิทธิภาพ เพื่อที่จะแก้ปัญหาของชาติบ้านเมือง ที่มีเป็นจำนวนมาก ให้เป็นผลสัมฤทธิ์ตามความคาด
หวังของประชาชน ซึ่งอาจมีข้อจำกัดบางประการอยู่บ้างในรัฐธรรมนูญดังกล่าว ทั้งนี้ หากใช้วิธีการ
บริหารราชการปกติทุกเรื่อง อย่างที่หลายฝ่ายต้องการ ก็จะแก้ปัญหาต่างๆ ไม่ได้แน่นอน ฉะนั้น จะไม่
เกิดประโยชน์ ต้องให้เวลาคสช. ให้โอกาส และเครื่องมือในการทำงานนี้ด้วย ส่วนเรื่องอำนาจ คสช.
และรัฐบาล มีการตรวจสอบถ่วงดุลกันเท่านั้น การบริหารจะเน้นหนักให้รัฐบาลเป็นผู้บริหารราชการ
ด้านความมั่นคง จะเน้นหนักให้ คสช. ดูแลรับผิดชอบ สำหรับความร่วมมือ ระหว่าง 2 ฝ่าย คือ การหา
รือร่วม ประชุมร่วม แลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลกัน มีการประชุมเมื่อจำเป็น และเสนอแนะข้อพิจารณาต่างๆ
ให้รัฐบาลนำไปสู่การปฏิบัติ ในเรื่องอื่นๆ เป็นไปในลักษณะคำแนะนำที่ คสช. จะมีต่อรัฐบาล
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า เรื่องการปฏิรูป ขณะนี้สำนักงานปฏิรูปฯของคสช. ได้รวบรวมคน ข้อมูลจาก
หลายภาคส่วน เพื่อทำความเข้าใจกันและกัน โดยต้องการให้ทุกส่วนเตรียมจัดผู้แทน เพื่อไปสมัครเป็น
สมาชิกสภาปฏิรูป โดยมีกระบวนการคัดสรร ที่กำหนดไว้แต่เดิมประมาณ 11 กลุ่ม น่าจะประมาณ 550 คน
และต้องเพิ่มเติมส่วนคัดเลือกจากจังหวัดต่างๆ เพื่อเป็นผู้แทนจังหวัด น่าจะจังหวัดละ 5คน รวม 380 คน
จากนั้นแต่ละจังหวัดคัดเลือกให้เหลือจังหวัดละ 1 คน จาก 380 คนก็จะเหลือ 76 คน รวมกับกลุ่มปฏิรูปฯ
ที่รับสมัครทั่วไป 11 กลุ่ม จำนวน 550 คน ก็จะคัดสรรให้เหลือไม่เกิน 250 คน และแบ่งลงกลุ่มต่างๆ
ให้ได้ทั้ง 11 กลุ่ม ทั้งหมดจะเป็นผลของการปฏิรูปขึ้นมา และนำเสนอสู่ที่ประชุมสภาปฏิรูปเพื่อเป็นมติ
ก่อนเสนอให้สภานิติบัญญัติส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่ง ก็เสนอไปยังคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณา
ในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวจะรับข้อมูลจากสภาปฏิรูป และสภานิติบัญญัติ
ทั้งนี้ จะมีการรวบรวมปัญหาข้อขัดข้องที่เป็นความขัดแย้งตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมา เพื่อปรับปรุงแก้ไข
จัดทำ และประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร นำไปใช้ในการเลือกตั้งต่อไป