ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ครองอำนาจ ผู้สืบทอดอำนาจผู้นำกัมพูชาจาก “ฮุน เซน” บิดา ในฐานะนายกรัฐมนตรีกัมพูชามายาวนาน ซึ่งได้กล่าวไว้ว่า จะส่งต่ออำนาจนี้ให้กับลูกชาย ฮุน มาเนต วัย 45 ปีที่จบการศึกษาจากสหรัฐ
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า พรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) ชนะการเลือกตั้งเมื่อเดือน ก.ค. และกวาดที่นั่ง ส.ส.ไปมากที่สุด พูดได้ว่า ไม่มีพรรคการเมืองในกัมพูชาใดเทียบทานได้
“เทด โอเซียส” ประธานสภาธุรกิจสหรัฐ – อาเซียน กล่าวกับรอยเตอร์ในวันศุกร์ (4 ส.ค.)ว่า “เราหวังจะเห็นฮุน เมเนต เริ่มบทบาทผู้นำใหม่”
โอเซียสมีบทบาทสำคัญ ในการกระชับความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับประเทศต่างๆ ในอาเซียน ซึ่งเปรียบเหมือนผู้ทำหน้าที่ล็อบบี้ทางธุรกิจสหรัฐ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
“แม้ไม่ใช่บทบาทใหม่ทั้งหมด แต่เขา (ฮุน มาเนต) ไม่ใช่พ่อของเขา เพราะเขาแตกต่างออกไป จึงมีโอกาสได้เห็นบางอย่างที่นี่” โอเซียสกล่าว
ประธานสภาธุรกิจสหรัฐ-อาเซียน เคยเป็นอดีตนักการทูต ในตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐ ประจำเวียดนาม ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านกัมพูชา
โดยโอเซียสเปิดเผยว่า มีการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่พนมเปญถึงการจัดเตรียมงานเลี้ยงรับรองที่โรงแรมแห่งหนึ่ง จัดขึ้นระหว่างการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (UNGA) เดือน ก.ย. ที่นครนิวยอร์ก
“เราจะนำซีอีโอที่สนใจลงทุนในกัมพูชามาพบปะ (ฮุน มาเนต) เผื่อต้องการได้รับมุมมองของคนรุ่นใหม่ และเรามั่นใจอย่างยิ่งว่า ผู้นำกัมพูชาต้องการสิ่งนี้” โอเซียสกล่าว
ผลการเลือกตั้งกัมพูชาที่เหมือนมีแค่พรรคเดียวลงแข่งขันเลือกตั้ง ได้จี้จุดให้วอชิงตันประณามเคลื่อนไหวของกลุ่มเผด็จการและต่อต้านประชาธิปไตยของฮุน เซนที่มานานหลายปี โดยชี้ว่า “การเลือกตั้งไม่เสรีและเป็นธรรม”
ฮุน มาเนต จบการศึกษาในประเทศทางตะวันตก รวมทั้งสถาบันการทหารเวสต์พอยต์ในสหรัฐ โอเซียสบอกว่า ฮุน มาเนต ไม่ต้องการเป็นแหล่งผลประโยชน์และกันชน ในฐานะที่กัมพูชามีความสัมพันธ์กับจีน ซึ่งเป็นคู่แข่งของสหรัฐ
อย่างไรก็ตาม แนวทางสหรัฐที่มีต่อกัมพูชาเป็นลักษณะการลงโทษ ดังนั้นวอชิงตันอาจต้องมองหาโอกาสเจรจากัมพูชา คุยเรื่องความสัมพันธ์กันใหม่