ศูนย์ข่าวภาคกลางหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ
เดินทางไปที่.. เรือนพระลพ ตำบลนายาง อำเภอพระพุทธบาท จังหสระบุรี ไปพบกับ
นายภูธร ภูมะธน นักวิชาการโบราณคดีฯ ไปพูดคุย ในประเด็นได้ค้นพบโน๊ตเพลงลาลูแบร์ คุณค่าด้านประวัติศาสตร์ เพลงสุดใจ และเพลง สายสมร 2 บทเพลง อันทรงคุณค่าประวัติศาสตร์ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บันทึกโดย ชาวฝรั่งเศส
ค้นพบโดยคณะโบราณคดี นำโดย นายภูธร ภูมะธน
เมื่อเวลา 13.30 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน 2566 ณ เรือนพระลพ ตำบลนายาง อำเภอพระพุทธบาท จังหสระบุรี นายภูธร ภูมะธน นักวิชาโบราณคดี เปิดเผยว่า ได้ค้นพบบทเพลงอันทรงคุณค่าประวัติศาสตร์ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กว่า 300 กว่าปี บทเพลงที่บันทึกไว้ในจดหมายเหตุของ ลา ลูแบร์ เพลงสายสมร และเพลงสุดใจ
การบรรเลงเพลงสุดใจ และเพลงสายสมร จากโน๊ตเพลงของลาลูแบร์ โดยวงดุริยางค์สากล สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
เพลงสุดใจ กับเพลงสายสมร เป็นชื่อเพลงในตระกูลมโหรีกรุงเก่า แบบ“ร้องเนื้อเต็ม” ในยุคของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งเป็น ๒ เพลง ที่ทูตจากฝรั่งเศสบันทึกเป็นโน้ตสากล กำกับด้วยคำร้องภาษาไทย แต่เขียนด้วยอักษรโรมัน
เพลงสุดใจ เป็นเพลงที่อ้างอิงมาจาก นิโคลาส์ แซร์แวส ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาประเทศไทยในแผ่นดินของสมเด็จพระนารายณ์ ระหว่าง พ.ศ. ๒๒๒๔ – ๒๒๒๙ ซึ่งนายนิโคลาส์ได้ทำการบันทึกเพลงไว้สองเพลง แต่ในการพิมพ์จดหมายเหตุนี้ครั้งแรกที่ฝรั่งเศสกลับมีโน้ตเพลงประกอบเพียงเพลงเดียว คือเพลง สุดใจ (Sout Chai) เพลง สุดใจ เขียนขึ้นด้วยการร้อยทำนองสองทำนองเข้าด้วยกัน มีทำนองหลักอยู่ด้านบน และให้ทางเบสอยู่ไลน์ต่ำ ซึ่งเป็นขนบนิยมของของดนตรีตะวันตก ซึ่งเมื่อได้ทดลองบรรเลงดูแล้ว เสียงที่ออกมาก็ไม่คล้ายดนตรีตะวันออกแต่อย่างใด ในส่วนของเนื้อร้องก็ยังไม่ไปกับท่วงทำนองดนตรีมากนัก
เพลงสายสมร เป็นอีกเพลงหนึ่งที่สันนิษฐานว่าเป็นอีกเพลงที่ นิโคลาส์ แซร์แวส บันทึกไว้ แต่ถูกนำไปบรรจุไว้ในหนังสือจดหมายเหตุอีกเล่มหนึ่งของ ซีมง เดอ ลาลูแบร์ ที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยในช่วง พ.ศ. ๒๒๓๐ โดยเพลงที่ถูกพิมพ์ไว้ในจดหมายเหตุของลา ลู แบร์ นั้นมีชื่อว่า A Siamese Song และมีเนื้อร้องที่ขึ้นต้นว่า Say Samon ซึ่งตรงกับชื่อเพลง “สายสมร” ที่สูญหายไป
เมื่อเทียบกับเพลง สุดใจ นั้น เพลง สายสมร เป็นการบันทึกทำนองที่มีความพิถีพิถันในการจะทำให้เนื้อร้องเข้ากับทำนองมากกว่า แต่จากการทดลองบรรเลงกลับพบว่า ไม่สะดวกกับการขับร้อง และท่วงทำนองก็ไม่ได้ชี้ชัดว่าเป็นเพลงตะวันออกแต่อย่างใด
นายภูธร ภูมะธน นักวิชาการโบราณคดี เปิดเผยต่อว่า 2 บทเพลงนี้ จะคืนชีพกลับมาอีกครั้งหนึ่ง บนหน้าประวัติศาสตร์ บนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในยุคปัจจุบัน จะมีไทยซินโฟนีออร์เคสตร้า อันดับมือหนึ่งของเมืองไทย บรรเลงให้ฟัง งานนี้ฟรีตลอดงาน เพราะยุคปัจจุบัน หาได้ฟังยากแล้ว มีบุญได้เข้าไปนั่งฟัง บรรเลงให้ฟังอย่างใกล้ชิด บรรเลงดพลงไทยโดย วงไทยซินโฟนีออร์เคสตร้า ศิลปินสีน้ำเงิน ดร.สุชาติ วงษ์ทอง นักวาดบ้านราชฑูตฯ จังหวัดลพบุรีจะมีงานใหญ่ งานดนตรีทางประวัติศาสตร์ ณ บนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กลับคืนชีพมาอีกครั้ง สำหรับคนลพบุรี และคนต่างจังหวัด สนใจจะมานั่ง ฟังไทยซินโฟนีออร์เคสตร้า บทเพลงอันทรงคุณค่า ประวัติศาสตร์ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นายภูธร ภูมะธน เปิดเผยเพิ่มเติมอีกว่า ขอเชิญชวน มานั่งฟังไทยซินโฟนีออร์เคสตร้า วงใหญ่ จะบรรเลง ณ บ้านวิชาเยนทร์ ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เปิดการแสดงการบรรเลงเพลงไทยสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กว่า 300 ปี บันทึกโดยชาวฝรั่งเศส เชิญชวนประชาชนที่สน ทางคนลพบุรี ละคนต่างจังหวัด สนใจชมการแสดงบรรเลงเพลงไทยฯ ณ บ้านวิชาเยนทร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 น ถึง เวลา ภายในงานท่านจะได้พบ ศิลปินสีน้ำเงิน ที่่วาดภาพบ้านราชฑูตฯที่มีทรงคุณค่าประวัติศาสตร์ หาดูได้ยากในยุคปัจจุบัน เนื้อเพลงและโน๊ตดนตรีที่มีอายุมากกว่า 300 ปี ได้ผมค้นพบจากนักประวัติศาสตร์จากคนไทยนั่นเองที่ค้นพบ
นายภูธร ภูมะธน นักวิชาการโบราณคดี กล่าวทิ้งท้ายนานที่สุด
นันท์นภัส วงศ์ใหญ่
ผู้อำนวยการศูนย์ข่าวภาคกลางหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ