ภาพโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย
ในมุมมองของศิริชัย อัมพร หนึ่งในคณะกรรมการ สมาคม นักเรียนเก่าพิบูลวิทยาลัย ได้จับเข่าคุยเล่าอดีตให้ กับ ศูนย์ข่าวภาคกลางหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ
เล่าประวัติความเป็นมาเล่าให้ฟังตอนหนึ่งว่า
โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย กำเนิดครั้งแรกที่วัดเสาธงทอง ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี มีท่านพระครูลวลพบุรีคณาจารย์ (เนียม ภุมมสโร) เจ้าอาวาสวัดเสาธงทอง ซึ่งต่อมาเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ที่พระสังฆภารวาหมุนี ดำรงตำแหน่งผู้กำกับคณะสงฆ์จังหวัดลพบุรี เป็นองค์ริเริ่มก่อตั้งมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๒ ใช้ตึกคชสาร หรือโคโรซาน เป็นที่เรียนโดยมีนักเรียนครั้งแรก ๑๘ คน จ้างครูมาสอนโดยทุนของท่านเจ้าคุณ ต่อมามีนักเรียนมากขึ้นได้สร้างสถานที่ เรียนด้านทิศเหนือตึกปิจู ในวัดเสาธงทองเป็นที่เรียน โดยมีนักเรียนประมาณ ๑๕๐ คน โรงเรียนที่ตั้งขึ้นนี้ชื่อว่า โรงเรียนประจำเมืองลพบุรี วัดเสาธงทอง
เมื่อนักเรียนมากขึ้น ได้ย้ายมาสร้างที่เรียนใหม่ บริเวณบ้านหลวงรับราชทูต (บ้านวิชาเยนทร์) สร้างโดยทุนของเท่านเจ้าคุณพระสังฆภารวามุนี ร่วมกับเงินบริจาคของประชาชน และส่วนราชการธรรมการจังหวัดลพบุรี ย้ายนักเรียนมาเรียนที่ใหม่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๘ และใช้ชื่อว่า โรงเรียนประจำจังหวัดลพบุรี “วิชาเยนทร์” ชั้นมัธยมปีที่ ๑ ถึง ชั้นมัธยมปีที่ ๓ ได้ปรับปรุงกิจการลูกเสือขึ้น ลูกเสือราบ ลูกเสือม้า ลูกเสือพยาบาล พร้อมที่จะปฏิบัติงานช่วยเหลือทางราชการได้ทุกเวลา โดยทางกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๓ ส่งครูมาช่วยฝึก ในช่วงนี้มีนักเรียนหญิงมาร่วมเรียนด้วย แต่ไม่ถึง ๑๐ คน เมื่อทางจังหวัดเปิดโรงเรียนสำหรับสตรีขึ้น ชื่อว่า โรงเรียนสตรีลพบุรี “ลวะศรี” นักเรียนหญิงก็ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนแห่งใหม่
วิทยาลัย มีนักเรียนมากประมาณ ๕,๔๐๐ คน ครูประมาณ ๓๒๐ คน โรงเรียนจึงได้ไปสร้างโรงเรียนแห่งใหม่ โดยแยกชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ไปในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ โดย ใช้ชื่อว่า โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย ๒ ต่อมากรมสามัญศึกษาได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนพระนารายณ์ ตามชื่อเดิมของโรงเรียนประจำจังหวัดลพบุรี พระนารายณ์ โรงเรียนตั้งอยู่ที่ ตำบลท่าศาลา อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เปิดสอนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๑, ๒ และ ๓
ศิริชัย อัมพร
เล่าความเป็นมาของโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย อีกว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวพิบูลที่เคารพและศรัทธาก็คือ
หลวงพ่อขาว พระพุทธรูปโบราณศักดิ์สิทธิ์แห่งวัดพระยาออก ประดิษฐาน ณ วิหารโถงจัตุรมุข ภายในอาณาบริเวณโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย
วัดพระยาออก หนึ่งในโบราณสถานสำคัญของจังหวัดลพบุรี ตั้งอยู่ภายในโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย ต.ทะเลชุบศร อ.เมือง จ.ลพบุรี ไม่ไกลนักจากแนวคูเมืองและกำแพงเมืองชั้นที่ 1 ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา
มีพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ศิลปะอยุธยา อยู่บนวิหารร้างของวัด (ด้านหลังหอประชุมภุมมสโร ในปัจจุบัน) ที่ชาวบ้านมักเรียกกันว่า “หลวงพ่อขาว” ด้านหลังขององค์พระจะมีผนังก่ออิฐถือปูนติดอยู่ ทั้งหมดตั้งประดิษฐานบนฐานศิลาแลง และยังพบชิ้นส่วนพระพุทธรูปหินทรายสมัยลพบุรีสภาพชำรุดอีกจำนวนหนึ่งเว็บไซต์นี้ใช้คุ้กกี้เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
หลวงพ่อขาว พระพุทธรูปโบราณศักดิ์สิทธิ์แห่งวัดพระยาออก ประดิษฐาน ณ วิหารโถงจัตุรมุข ภายในอาณาบริเวณโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย
วัดพระยาออก หนึ่งในโบราณสถานสำคัญของจังหวัดลพบุรี ตั้งอยู่ภายในโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย ต.ทะเลชุบศร อ.เมือง จ.ลพบุรี ไม่ไกลนักจากแนวคูเมืองและกำแพงเมืองชั้นที่ 1 ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา
มีพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ศิลปะอยุธยา อยู่บนวิหารร้างของวัด (ด้านหลังหอประชุมภุมมสโร ในปัจจุบัน) ที่ชาวบ้านมักเรียกกันว่า “หลวงพ่อขาว” ด้านหลังขององค์พระจะมีผนังก่ออิฐถือปูนติดอยู่ ทั้งหมดตั้งประดิษฐานบนฐานศิลาแลง และยังพบชิ้นส่วนพระพุทธรูปหินทรายสมัยลพบุรีสภาพชำรุดอีกจำนวนหนึ่ง
องค์หลวงพ่อขาว พระพุทธรูปปูนปั้น หน้าตักกว้าง 420 เซนติเมตร ประทับนั่งปางสมาธิขัดราบ เหนือฐานบัว (ณ ปัจจุบันได้ถูกพอกทับเป็นฐานหน้ากระดาน) ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิตัดตรงยาวจรดพระนาภี ชายจีวรยาวพาดข้อพระกรซ้าย พระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยม อันแสดงถึงอิทธิพลของศิลปะเขมร พระรัศมีเป็นเปลวซึ่งได้รับอิทธิพลของศิลปะสมัยสุโขทัย จัดเป็นพุทธลักษณะแบบ “อู่ทองรุ่นที่ 2” องค์พระหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก ซึ่งจะพบได้ไม่บ่อยนัก อาจเทียบได้กับพระประธานภายในอุโบสถวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี และวัดอื่นๆ ที่มีอายุการสร้างสมัยอยุธยาตอนต้น อาทิ วัดราษฎร์บูรณะ, วัดพุทไธศวรรย์, วัดพระราม และวัดมหาธาตุ จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น จึงสันนิษฐานว่าอาจสร้างในยุคเดียวกัน
ต่อมาทางโรงเรียนได้จัดสร้าง “วิหารโถงจัตุรมุข” คลุมทับเหนือพระประธาน ผนังปูนและฐานศิลาแลงเมื่อปีพ.ศ.2516 โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปุ่น ปุณณสิริ) สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เสด็จวางศิลาฤกษ์ ส่วน “องค์หลวงพ่อขาว” ก็ได้รับการบูรณะซ่อมแซมและปรับปรุงตลอดมา
วิหารหลวงพ่อขาวถือเป็นศาสนสถานสำคัญประจำโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย และองค์หลวงพ่อขาวก็เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ประดิษฐานอยู่คู่โรงเรียนมาช้านาน เป็นที่เคารพสักการะและยึดเหนี่ยวจิตใจของคณะครู นักเรียน และประชาชนชาวจังหวัดลพบุรี ที่มักใช้จัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และประกอบศาสนกิจในโรงเรียน เช่น คณะครูและนักเรียนร่วมกันทำบุญตักบาตร เป็นต้น
นันท์นภัส วงศ์ใหญ่
ผู้อำนวยการศูนย์ข่าวภาคกลางหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ