คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสหกิจ เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสหกิจ ให้การรถไฟเข้าดูแลพัฒนาพื้นที่มักกะสัน โดยให้เอกชนเข้าร่วมได้
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสหกิจ ในฐานะคณะกรรมการ และเลขานุการคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือ คนร. แถลงผลการประชุม คนร. ครั้งที่ 1/2560 ว่าที่ประชุมเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสหกิจ ทั้ง 5 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย
1.กำหนดบทบาทรัฐวิสหกิจให้ชัดเจน เพื่อเป็นเครื่องมือสนับสนุน ยุทธศาสตร์ชาติ โดยกำหนดบทบาท และทิศทางการทำงานการดำเนินงานให้ชัดเจน แยกระหว่างผู้กำกับดูแล ผู้กำหนดนโยบาย และผู้ให้บริการออกจากกัน
2. เร่งการลงทุนที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศ โดยจัดมีแผนการลงทุน ของรัฐวิสหกิจราย 5 ปี ที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ส่งเสริมให้ใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิ์ภาพในการลงทุน พร้อมทั้งสนับสนุนให้รัฐวิสหกิจ จัดหาเงินทุน จากแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมเป็นตน
3.เสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการเงิน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ การเงิน ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างยั่งยืน พร้อมจัด ให้มีกลไกลการชดเชย แก่รัฐวิสหกิจ ที่ดำเนินการตามนโยบายของรัฐ ภายในกรอบระยะเวลาที่เหมาะสม
4. สนับสนุนการใช้นวัฒกรรม เทคโนโลยี โดยมุ่งสร้างนวัตกรรม และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ ให้สอดคล้องกับไทยแลนด์ 4.0และแผนดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ถือเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริหารประชาชนและลดต้นทุนการดำเนินงาน
5.ส่งเสริมระบบธรรมาภิบาล ให้มีความโปร่งใส และมีคุณธรรม โดยมีกลไกล กำกับติดตาม ตรวจสอบริหารความเสี่ยงและประเมินที่เพียงพอแล้วเหมาะสม พัฒนาศักยภาพบุคลากร ควบคู่กับการมีคุณธรรม
ขณะเดียกันนายกรัฐมนตรี ยังมอบหมายให้เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ร่วมกับสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จัดทำแผนนี้ขึ้น โดยน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ร่วมกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯฉบับที่ 12 และแผนดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ทั้งนี้ที่ประชุม ยังรับทราบความคืบหน้า การแก้ปัญหาของรัฐวิสหกิจ 7 แห่ง อย่างองค์กรขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก. ที่มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมกำกับดูแล การดำเนินงาน ของกรมการขนส่งทางบก และขสมก. ให้เป็นไปตามมติ คนร. พร้อมเน้นย้ำเรื่องการตรวจสอบเรื่องความปลอดภัยรถโดยสารสาธารณะ รวมถึงการปกิรูปเส้นทางเดินรถให้มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรม
ส่วนการรถไฟแห่งประเทศไทยหรือ รฟท. ที่ประชุมได้มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พิจารณารายละเอียดข้อเสนอของ รฟท.ที่จะรับผิดชอบ เรื่องการพัฒนาที่ดิน ที่ดินย่านมักกะสัน และโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ซึ่งจะต้องกำหนดเงื่อนไขความสำเร็จ โดยยังคงให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน แบบ TPP และลดภาระหนี้สินของ รฟท.
นอกจากนี้ บริษัท ปตท.ยังได้รายงานในที่ประชุม โดยรายงานแผนให้คณะกรรมการรับทราบ ถึงภาพรวมถึงการปรับโครงสร้างบริษัทลูก ของ ปตท.โดยที่ประชุมได้มอบหมายให้กระทรวงพลังงานดำเนินการดูผลกระทบ ของการปรับโครงสร้างของ ปตท.