ทั้งนี้ สำหรับฝีมือการเล่น
ซึง ซึ่งอยู่ในวงดนตรีไทย
โดย
นายประทวน สุทธิอํานวยเดช อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. ลพบุรี (เขต 1 ) “พรรคภูมิใจไทย”
ได้โชว์ลีลาการเล่นซึง ซึ่งฝีมือขั้นเทพจริงๆ
จะไพเราะเพราะพริ้งเหมือนมืออาชีพมาเล่นให้ดู
เก่งทั้งการบ้านการเมือง เก่งเรื่องการเมืองการบริหารการบริหาร
วันนี้มาโชว์เล่นดนตรีไทย ดนตรีไทยประเภท ซึง เหมือนขั้นเทพมาเล่นให้ดู
ต้องยอมรับเลยว่า ประทวน สุทธิอำนวยเดช
เป็นนักดนตรีไทยที่มีฝีไม้ลายมือไม่ธรรมดาจริงๆ และขั้นเทพสุดๆโดยล่าสุดเจ้าตัวได้โชว์ฝีมือ ในวงดนตรีไทยของผู้สูงอายุ ให้ชมกันชัดๆด้วยการเล่น ซึง
ศูนย์ข่าวภาคกลางหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ เคยไปนั่งดูท่านเล่น ซึง บอกได้เลยว่าฝีมือขั้นเทพ จริงๆ
นายประทวน สุทธิอํานวยเดช อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. ลพบุรี (เขต 1 ) “พรรคภูมิใจไทย”
ไม่น้อยหน้าใครจริงๆ เก่งหลายๆด้าน เก่งทั้งการบริหาร เก่งทั้งด้านกีฬา เก่งด้านดนตรีไทย นี่แหละเป็นจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กลับมาอีกหนึ่งสมัยอย่างแน่นอนเพราะ ท่านมีความสามารถหลายๆด้านจะมาพัฒนาจังหวัดลพบุรีให้เจริญก้าวหน้าได้
ย้อนกลับมาดนตรีไทย
ที่ นายประทวน สุทธิอํานวยเดช
เล่นนั้นก็คือ
ซึง
ดนตรีไทบสร้างคุณค่าวัฒนธรรม
คุณค่าชีวิต
ศูนย์ข่าวภาคกลางหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ มารู้จักดนตรีไทย ประเภท “ซึง”
ให้มากกว่านี้ตามมา
“ซึง” เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด มี 4 สาย แต่แบ่งออกเป็น 2 เส้น เส้นละ 2 สาย มีลักษณะคล้าย กระจับปี่ แต่มีขนาดเล็กกว่า ความยาวทั้งคันทวนและกะโหลกรวมกันประมาณ 81 ซม. กะโหลกมีรูปร่างกลมวัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ 21 ซม. ทั้งกะโหลกและคันทวนใช้ไม้เนื้อแข็งชิ้นเดียวคว้านตอนที่เป็นกะโหลกให้เป็นโพรง ตัดแผ่นไม้ให้กลม แล้วเจาะรูตรงกลางทำเป็นฝาปิดด้านหน้า เพื่ออุ้มเสียงให้กังวาน คันทวนเป็นเหลี่ยมแบนตอนหน้า เพื่อติดตะพานหรือนมรับนิ้ว จำนวน 9 อัน ตอนปลายคันทวนทำเป็นรูปโค้ง และขุดให้เป็นร่อง เจาะรูสอดลูกบิดข้างละ 2 อัน รวมเป็น 4 อันสอดเข้าไปในร่อง สำหรับขึ้นสาย 4 สาย สายของซึงใช้สายลวดขนาดเล็ก 2 สาย และ สายใหญ่ 2 สาย ซึงเป็นเครื่องดีดที่ชาวไทยทางภาคเหนือนิยมนำมาเล่นร่วมกับ ปี่ซอ หรือ ปี่จุม และ สะล้อ
“ซึง”
แบ่งตามลักษณะได้ 3 ประเภท คือ ซึงเล็ก ซึ่งกลาง และซึงหลวง (ซึงที่มีขนาดใหญ่)
แบ่งตามประเภทได้ 2 ชนิด คือ ซึงลูก 3 และซึงลูก 4 (แตกต่างกันที่เสียง ลูก 3 เสียงซอลจะอยู่ด้านล่าง ส่วนซึงลูก 4 เสียงซอลจะอยู่ด้านบน)
อธิบายคำว่า สะล้อ ซอ ซึง ที่มักจะพูดกันติดปาก ว่าเป็นเครื่องดนตรีของชาวล้านนา แต่ที่จริงแล้ว มีแค่ ซึง และสะล้อ เท่านั้นที่เป็นเครื่องดนตรีของชาวล้านนา ส่วนคำว่า ซอในที่นี้ หมายถึง การขับซอ ซึ่งเป็นการร้อง การบรรยาย พรรณณาเป็นเรื่องราว ประกอบกับวงปี่จุ่ม
นายประทวน สุทธิอํานวยเดช
เปิดเผยตอนหนึ่งว่า
ผมจะอนุรักษ์ดนตรีไทยพื้นบ้าน
กลองสะบัดชัย
ขลุ่ย
ซึง และเครื่องดนตรีไทยทุกชนิด ผลการอนุรักษ์เป็นวัฒนธรรมให้คนรุ่งหลังได้ศึกษาต่อไป
ดนตรีไทยพื้นบ้าน >
ซึง
เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีดอีกชนิดหนึ่งที่มี 4 สาย นิยมบรรเลงเล่นกันอย่างแพร่หลายในภาคเหนือซึ่งเดิมใช้เป็นเครื่องดนตรีประจำตัวของผู้ชาย สำหรับไปแอ่วสาว เช่นเดียวกับพิณเพี๊ยะ ต่อมาได้นำมาผสมวงร่วมบรรเลงกับสะล้อซอและปี่จุมเรียกวงนี้ว่า “ดนตรีพื้นเมืองเหนือหรือวงล้านนา” สามารถบรรเลงเพลงของชาวล้านนาได้อย่างไพเราะ ซึง มีรูปร่างบางอย่างคล้ายคลึงกับกระจับปี่ แต่เล็กกว่า
มีส่วนประกอบดังนี้
- กะโหลก ทำด้วยไม้แก่นเนื้อแข็งชิ้นเดียว ติดต่อกับคันทวนมีลักษณะแบนเป็นทรงรี ขุดคว้านตอนที่เป็นกะโหลกให้เป็นโพรงมีไม้แผ่นบาง ตรงกลางเจาะรูกว้างพอประมาณเพื่อระบายเสียงที่ดีดให้ก้องกังวาน ( บางทีเจาะเป็นรูปหัวใจ ) ปิดด้านหน้าส่วนด้านหลังตัน
- คันทวนทำด้วยไม้แก่นเนื้อแข็งชิ้นเดียวกับตัวกะโหลกโดยทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านหลังเกลาลบเหลี่ยมด้านหน้าเรียบเพื่อติดนม ตอนปลายผายด้านข้างออกก่อนถึงปลายคันทวนด้านหน้าเจาะเป็นร่องยาว 2 ร่องสำหรับสายผ่านไปพันผูกที่ปลายลูกบิด และด้านข้างเจาะรูกลมด้านละ 2 รูเพื่อสอดใส่ลูกบิด
- ลูกบิด ทำด้วยไม้เนื้อแข็งลักษณะกลม เรียวด้านหัวใหญ่ขนาดมือจับพอดีตรงกลางกลึงเป็นลูกแก้ว ตอนปลายเรียวเล็กเพื่อสอดใส่ในรูลูกบิดที่บริเวณปลายคันทวน
- หย่องบน ทำด้วยไม้เล็กๆสูงกว่านมเล็กน้อยโดยติดต่อลงมาจากช่องสายผ่านเพื่อหนุนสายให้ลอยเหนือนม
- ตะพานหรือนมทำด้วยไม้เล็กๆเหลาเป็นทรงสามเหลี่ยมติดที่ด้านหน้าคันทวนต่อจากหย่องบนเรียงลำดับ ๙ นมเพื่อกดให้ได้เสียง
- สายทำด้วยลวดทองเหลือง 4 เส้น โดยพันผูกจากลูกบิด แยกเป็นคู่ๆขึงขนานผ่านมายังหน้ากะโหลก ผ่านรูระบายผาดบน ? หย่องล่าง ? ซึ่งทำด้วยไม้เล็กเช่นเดียวกับหย่องบนติดที่หน้ากะโหลกเพื่อหนุนสายให้ผ่านนมและไปพันผูกที่หลักผูกสาย
- หลักผูกสายทำด้วยโลหะหรือแผ่นไม้บาง เจาะรูผูกสายติดอยู่บริเวณด้านล่างของกะโหลก
หลักการดีด
ผู้ดีดนั่งท่าขัดสมาธิ ให้กะโหลกตั้งอยู่บนหน้าขาขวาและให้ปลายคันทวนชี้ไปทางซ้ายของผู้ดีด ใช้มือขวาจับไม้ดีดซึ่งทำด้วยเขาควายเหลาให้บางเรียวแหลม โดยผาดตามแนวของนิ้วชี้โผล่ปลายเล็กน้อย มีนิ้วหัวแม่มือคีบประกบกับนิ้วชี้ดีดบริเวณใกล้กับนมตัวสุดท้าย เสียงจะทุ้มไพเราะดี แต่ถ้าดีดใกล้รูระบายระบาย เสียงจะแหลม ในขณะเดียวกันใช้นิ้วชี้นางกลางและนิ้วก้อยของมือซ้าย กดสายลงตามช่องของนม เพื่อให้เกิดเสียงสูง-ต่ำตามที่ต้องการ
วิธีการดีดซึง
วิธีการดีดของซึงมี2อย่างคือ
1.การดีดที่ใช้ไม้ดีดดีดปัดลงข่างล่างอย่างเดียวซึ่งเป็นการดีดแบบดั่งเดิม
2.การดีดที่ใช้ไม้ดีดดีดปัดขึ้นลงสลับกัน ซึ่งจะได้ท่วงทำนองที่ไพเราะไปอีกแบบหนึ่ง
นันท์นภัส วงศ์ใหญ่
ผู้อำนวยการศูนย์ข่าวภาคกลางหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ