ศิริชัย อัมพร ประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์
กิจกรรมเดินวิ่ง
เดินวิ่งรักษ์ถิ่นทะเลชุบศร ครั้งที่ 1 ประจำปี 2566
กล่าวว่า ด้วย จัดกิจกรรมการเดินวิ่งรักษาถิ่นทะเลชุบศร เพื่อหารายได้จัดหาอุปกรณ์ดนตรีไทย กลองยาวให้กับโรงเรียนและในชุมชน
ได้ร่วมกับชมรมเรารักทะเลชุบศร จัดกิจกรรมนี้ขึ้นมาเพื่อการกุศล
งานนี้อันนี้อย่าพลาดเพราะนักวิ่งจะแต่งชุดไทยวิ่งกันทั่วเมืองแต่แต่จริงนะมาสมัครกันเยอะๆ
เมื่อเวลา 10.00 น ในวันอังคารที่ 10 มกราคม 2566
นายศิริชัย อัมพร ประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์
กิจกรรมเดินวิ่ง
รักษ์ถิ่นทะเลชุบศร ลพบุรี
เปิดเผยกับศูนย์ข่าวภาคกลางหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ ทางโทรศัพท์ตอนหนึ่งว่า ฝากถึงนักวิ่งทั่วประเทศว่าที่จังหวัดลพบุรีมีงานเดินวิ่งมาหากุศล แต่งชุดไทยแต่งชุดไทยวิ่งงานกุศลหารายได้สมทบทุนตัดซื้ออุปกรณ์ดนตรีไทยกลองยาวและสนับสนุนกองทุนนายชุมชนทะเลชุบศร ยิ่งวิ่งก็ยิ่งได้กุศลแรง
และ
งานเดิน-วิ่งรักษ์ถิ่นทะเลชุบศร ลพบุรีบ้านเรา เดินวิ่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ไม่มีแข่งขัน เดิน 3 กิโลเมตร , วิ่ง 8 กิโลเมตร ณ พระที่นั่งไกรสรสีหราช (พระที่นั่งเย็น) ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ตลอดเส้นทางร่วมกิจกรรมกับชุมชนมีจุดเช็คอินและตลาดโบราณ ขนมไทย การแสดงในพระที่นั่งเย็น
คาดว่าจะมีนักวิ่งแต่งชุดไทยออกมาวิ่งในงานกุศลในครั้งนี้มากมายอย่างแน่นอนเพราะแปลกแต่จริงหนึ่งเดียวในประเทศไทยที่ให้นักวิ่งแต่งชุดไทยวิ่งมินิมาราธอน แปลกแต่จริงแต่ได้กุศลแรง
มาวิ่งท่องเที่ยวกัน ในงานเดินวิ่งรักษ์ถิ่นทะเลชุบศร ที่พระที่นั่งเย็น ในเช้าวันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ และได้เที่ยวงานในช่วงเทศกาล งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ครั้งที่ 35 วันที่10 ถึง 19 กุมภาพันธ์ 2566 ชาวลพบุรี แต่งไทยกันทั้งเมือง แล้วพบกันนะครับ
นายศิริชัย อัมพร เปิดเผยเพิ่มเติมอีกว่า
พบกันนะครับ งานเดินวิ่งรักษ์ถิ่นทะเลชุบศร ครั้งที่ 1ประจำปี 2566 วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566(เวลา: 05.0
♦️สถานที่จัดงาน เดินวิ่ง ณ.พระที่นั่งไกรสรสีหราช (พระที่นั่งเย็น) ต.ทะเลชุบศร อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุรี
https://www.google.com/search?q=พระที่นั่งไกรสรสีหราช
✅️วัตถุประสงค์ของการจัดงานเดินวิ่ง
- เพื่อจัดหาอุปกรณ์ดนตรีไทย (กลองยาว)
ให้กับโรงเรียนและชุมชน - เพื่อนำมาจัดสวัสดิการให้แก่ผู้พิการ และผู้ยากไร้
- เพื่อส่งเสริมด้านกีฬาพื้นบ้านให้กับประชาชนในชุมชน
สมัครได้ด้วยตนเอง
✅️ที่ร้านสกายเวย์ ข้างสถานีรถไฟลพบุรี โทร.081 -8338044
✅️ที่ทำการกำนันตำบลทะเลชุบศร โทร. 081-9485524,089-8016739
📢ตลอดเส้นทาง ร่วมกิจกรรมกับชุมชน มีจุด เช็ค-อิน และตลาดโบราณ ขนมไทย การแสดงในพระที่นั่งเย็น
🏃♀️ทุกรุ่นทุกระยะ ผู้สมัครจะได้รับถุงผ้าลายผ้าไทย,อาหารและเครื่องดื่มทุกท่าน
สมัครออนไลน์ที่
https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSeK154gdr1xDN2CNl4BtbCcO9KfE1rjgJXr2rOXd_FdQiIb0g/viewform
โอนเงินค่าสมัคร บช.กสิกรไทย
เลขบัญชี 143-8-71353-7 นส.จุรี มีแพง
โอนแล้วกรุณาส่งสลิปที่ “ส่งข้อความ” หรือ inbox message
ขอบคุณครับ
ยิ่งวิ่งก่อนก็ได้กุศลแรง เชิญมาสมัครกันเยอะๆนะครับบุญกุศลแรงช่วยเหลือจัดซื้ออุปกรณ์ดนตรีไทยกลองยาวเพื่อไปใช้ประโยชน์ในโรงเรียนในพื้นที่ตำบลทะเลชุบศรและสนับสนุนกองทุนชุมชนตำบลกระชุบสอนอำเภอเมืองจังหวัดลพบุรีอีกด้วย
โทรศัพท์มาสมัครกันได้ตามหมายเลขที่แจ้งไปข้างต้น
ศิริชัย อัมพร ได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ขอเล่าประวัติความเป็นมาของพระที่นั่งเย็น ความเป็นมายาวนานสมควรน่าศึกษาเดี๋ยวเล่าให้ฟัง
นายศิริชัย กล่าวว่า
พระที่นั่งไกรสรสีหราช (พระที่นั่งเย็นหรือตำหนักทะเลชุบศร)
พระที่นั่งไกรสรสีหราช หรือ พระที่นั่งเย็น ตั้งอยู่ที่ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดฯ ให้สร้างพระที่นั่งไกรสรศรีหราชขึ้น เพื่อทรงใช้เป็นสถานที่ประทับพักร้อน และมีความสำคัญใน ฐานะที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชฯ ใช้เป็นสถานที่สำรวจจันทรุปราคา เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2228 ร่วมกับบาทหลวงเจซูอิต และบุคคล ในคณะทูตชุดแรกที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งประเทศฝรั่งเศสส่งมาเจริญสัมพันธไมตรี เหตุที่ได้ใช้พระที่นั่งเย็นเป้นที่สำรวจจันทรุปราคามีบันทึกของชาวฝรั่งเศลกล่าวว่า
” เป็นที่เหมาะสมมองท้องฟ้าได้ทุกด้าน และมีพื้นที่กว้างมากพอสำหรับที่จะติดตั้งเครื่องมือ ” ยังมีภาพการสำรวจจันทรุปราคาที่พระที่นั่งเย็นซึ่งชาวฝรั่งเศสวาดไว้เป็นรูปสมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงสวมลอม พอก ทรงกล้องส่องยาววางบนขาตั้งทอดพระเนตรพระจันทร์จากสีหบัญชรของพระที่นั่งเย็น และตรงเฉลียงสองข้างสีหบัญชรด้านหนึ่งมีขุนนางหมอบกราบ อีกด้านหนึ่งนักดาราศาสตร์กำลังสังเกตการณ์โดยใช้กล่องส่อง จึงกล่าวได้ว่า การศึกษาวิชาดาราศาสตร์สมัยใหม่เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย ณ พระที่นั่งเย็นเมืองลพบุรี
ลักษณะพระที่นั่งไกรสรสีหราช หรือพระที่นั่งเย็น เป็นพระที่นั่งชั้นเดียว มีผังเป็นทรงจตุรมุข ตรงมุขหน้ามีมุขเด็จยื่นออกมา และมีสีหบัญชรกลางมุขเด็จ ก่อด้วยอิฐ สอปูน เป็นอาคารทรงไทย ประตูหน้าต่างเป็นแบบสีเหลี่ยมสอบเข้าหากัน มีซุ้มหน้าต่างและซุ้มประตูทำเป็นซุ้มเรือนแก้วทำด้วยปูนปั้น ตัวอาคารแบ่งเป็น 3 ส่วน
- ส่วนหน้าเป็นห้องโถงมีมุขเด็จ เข้าใจว่าเป็นที่สมเสด็จผ่านหรือเป็นที่ออกขุนนาง
- ส่วนกลางเป็นที่ประทับส่วนพระองค์
- ส่วนหลังเป็นที่พักฝ่ายใน
บริเวณพระตำหนักจะกั้นด้วย ฉนวนหรือเขื่อนเพชร ทั้งด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก นอกเขื่อนเพชรทาง ด้านทิศเหนือและทิศใต้ของพระที่นั่งส่วนแรก ในบริเวณพระที่นั่งมีอาคารเล็กๆ ก่อด้วยอิฐอาจจะอาคารที่พัก 4 หลัง
ปัจจุบันพระที่นั่งเย็น คงเหลือเพียงผนังพระที่นั่ง ฉนวนหรือเขื่อนเพชร ลวดลายบนพื้นกรอบซุ้มเรือนแก้ว ของกรอบประตูและหน้าต่างเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย
มาสัมผัสท่านจะหลงรักลพบุรีหลงรักวัตถุโบราณ เชิญมาวิ่งกันนะครับอย่าลืมผมจะรอท่านอยู่
นันท์นภัส วงศ์ใหญ่
ผู้อำนวยการส่งข่าวภาคกลางหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ