4 มกราคม 2566
ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พร้อมด้วย เรืออากาศโท สมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ให้การต้อนรับและร่วมหารือ คณะผู้บริหาร มูลนิธิ Kenan foundation Asia ณ ห้องรับรอง สอศ.
โดยมี นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ประธานอำนวยการ มูลนิธิคีนันฯ MR. Richard Bernhard กรรมการอำนวยการ มูลนิธิคีนันฯ คุณจารุศรี จิรวิสิฐกุล ผู้จัดการ อาวุโสฝ่ายการศึกษา มูลนิธิคีนันฯ คุณฐิติรัต สุรทิณฑ์ ที่ปรึกษาฝ่ายการศึกษา มูลนิธิคีนันฯ ดร.ศิริพรรณ ชุมนุม นายก สภาสถาบันการอาชีวศึกษา กรุงเทพมหานคร ดร.นิติ นาชิต ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาธุรกิจและบริการ ดร. สุรพงษ์ เอิมอุทัย ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา ดร.นิรุตต์ บุตรแสนลี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์และเสริมสร้างภาพลักษณ์อาชีวศึกษานายราตรีสวัสดิ์ ธนานันต์ ผู้อำนวยการสำนักความร่วมมือ ร่วมหารือ
ทั้งนี้ ทางสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้รับแนวทางหารือข้อมูลทั้ง 3 โครงการ ได้แก่
📍โครงการเพิ่มศักยภาพนักศึกษาสายช่างสู่เส้นทางอาชีพ Woman in STEM เป็นโครงการรับนักศึกษาหญิง ระดับปวส.1 ที่มีแผนปฎิบัติงานทันที เมื่อจบการศึกษาจำนวน 300 คน ในสาขา เช่น สาขาก่อสร้าง ไฟฟ้ากำลัง อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องกลโยธา เครื่องมือวัดและควบคุมเทคนิคโลหะ เป็นต้น ซึ่งสำหรับโครงการนี้มุ่งเน้นเตรียมความพร้อมนักศึกษาหญิงในการหางานและการปรับตัวกับสถานที่ เพื่อส่งเสริมศักยภาพของนักศึกษาหญิง ที่เป็นหนึ่งในกำลังสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ
📍 CITI Youth Employabillity skills and Pathway (YES to Youth) เป็นโครงการ เพื่อสร้างสมรรถนะสำหรับผู้ที่กำลังจะจบการศึกษาโดยฝึกให้นักศึกษาเตรียมพร้อมสำหรับการหางานและการสัมภาษณ์งานนักเรียนจะมีโอกาสติดต่อกับนายจ้างที่มีศักยภาพนักเรียนที่ผ่านการรับรองจะได้ร่วมการแข่งขัน นำเสนอโครงการจะมุ่งเน้นไปที่ผู้หญิงเช่นเดียวกับการเข้าถึงชุมชน LGBTQ และผู้พิการ
📍 Closing the Technician Skills Gap Program
เป็นโครงการเพิ่มการจ้างงานผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยเทคนิคในระยองโดยส่งเสริมทักษะทางเทคนิคที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมการผลิตสมัยใหม่ ส่งเสริมการเรียนรู้โลกแห่งการทำงานผ่านโปรแกรมการฝึกงานที่มีประสิทธิภาพและสนับสนุนผู้สำเร็จการศึกษาให้มีความพร้อมในการหางานในสายที่เกี่ยวข้อง โดยจะเริ่มนำร่องใน วิทยาลัยเทคนิคระยอง วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย และเทคนิคสัตหีบ ระยะเวลาโครงการ มกราคม 2566 ถึง ธันวาคม 2567