มีเรื่องรวมความปาฏิหมริย์ เล่าขานกันมายาวนาน เกี่ยวกับประการณ์ของ”. แม่ชีสัพยังค์”. ประวัติของท่านไม่ธรรมดา. ความศักดิ์สิทธิ์ ถูกเล่าขานมารุ่นต่อรุ่น. ใครได้รูปถ่ายของท่าน ไปบูชา มีพุทธคุณ สุดยอดแห่งความเมตคามกานิยม. พระครูบุญสิริวัฒน์ สิกขกาโม(หลวงพ่อบุญมี). เจ้าอาวาดวัดชีแวะ. เล่าประวัติความเป็นมาของวัดชีก่อนจะเล่าประสบการณ์ปาฏิหาริย์ของแม่ชีสัพยังค์ วัดชีแวะ. ตั้งอยู่หมู่ที่ 5. ตำบลงิ้วราย. อำเภอเมือง. จังหวัดลพบุรี ห่างคลองประมาณ. 300. เมตร. มีเนื้อที่ 26. ไร่ 1. งาน ทิศตะวันออกและทิศเหนือ ติดกับบ้านชาวบ้าน ทิศใต้ติดกับทางสาธารณะริมคลองชลประทาน ทิศตะวันตกติดกับแม่น้ำลพบุรี แม่น้ำสายนี้มี ประวัติศาสตร์ เดิมวัดชีแวะ มีชื่อว่า วัดโคก โดยตั้งชื่อ ตามลักษณะและบริเวณของสถานที่ตั้งวัด เนื่อในอดีตบริเวณวัดมีลักษณะเหมือนโคก. มีต้นไม้ ขึ้นหนาทึบเป็นที่พึ่งพาของสัตว์ทั้งหลาย. เสือ. ช้าง ชะนี ที่มีอยู่มากมายเพราะมีแมกต่างพันธุ์ขึ้นอยู่บริเวณสองข้างฝั่งคลอง. ชาวบ้านในสมัยก่อนจึงได้ตั้งชื่อว่า”วัดโคก”. วัดชีแวะ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยต้นกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย. ในสมัย ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. พระองค์ทรงยกทัพ มาตั้งทัพอยู่ที่นี่ สังเกตได้จากอุโบสถ. วิหารซึ่งสร้างขึ้นด้วยศิลาแลงสมัยลพบุรี และพระพุทธรูป ซึ่งวัดชีแวะถูกทิ้งร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย จนถึงประมาณต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยชาวบ้านเล่าต่อๆกันว่า. เมื่อในอดีตวัดชีแวะ(วัดโคก). ก็ชาวบ้านเข้ามาทำบุญให้ทานลมากมาย บ้าง. ก็มาปฏิบัติวิปัสสนา. ต่อมาได้เกิดโรคระบาด ชาวบ้านล้มตาย ชาวบ้านจึงเหินห่างวัด. และพระก็หนีหายวัดชีแวะ(วัดโคก). จึงมาเป็นวัดร้างขาดคนดูแล ต่อมาเมื่อประมาณ สมัยรัตนโกสินทร์มีเจ้าจองนางในของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. (รัชกาลที่.5). เป็นผู้มีจิตศรัทธาและเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา. เมื่ออายุย่างเข้าวัยกลางคน ก็คิดที่จะออกบวชเป็นแม่ชีเพื่อที่จะได้ ปฏิบัติธรรม. หนีโลก. โกรธ หลงบ่วงแห่งโลกีย์ เจ้าจอม. จึงได้ทูลลาพระพุทธเจ้าหลวง พระพุทธเจ้าหลวงทรงท้วงทันทีว่า อยู่ในวังนี้ก็สุดสบาย. เจ้าจองมาขอลาออกไปบวชเป็นแม่ชี ฉันคิดแล้วใจหาย. ด้วยเคยอยู่ร่วมกันก็สุขสบายจะหนีหายฉันไม่ยินดี ส่วนว่าเจ้าจอมมีจิตใจตั้งหมั่นที่จะออกบวช. พระพุทธเจ้าหลวงทรงคิดอีกด้วย เห็นเจ้าจอมนี้นั้นมีจิตศรัทธา พระองค์จึงได้ทรงอนุญาตให้ออกจากเป็นเจ้าจอม. หากเจ้าจอมสำเร็จธรรมอันใดจงได้กลับมาแสดงธรมมะให้ฉันเข้าใจ. หลังจากนั้น เจ้าจอมจึงได้มุ่งหน้าเดิมทางไปบวชชียัง. วัดเขาวงษ์พระจันทร์ ตามที่ได้ตั้งใจ. ไว้โดยใช้ฉายาในขณะบวชเป็นแม่ชีว่า. “แม่ชีสัพยังค์”. หลังจากแมาชีบวชชี และปฏิบัติธรรมขนได้ บรรลุอริยธรรมชั้นสูงดังที่ได้ตั้งใจไว้ แม่ชีก็ได้เดินทางมา ขอเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าหลวง ณ พระบรมมหาราชวัง และกราบทูลให้ทรงทราบถึงการปฏิบัติธรรมของแม่ชี พระองค์ ก็ทรงยินดีและอนุโมทนาในผลบุญที่แม่ชีได้รับใยครั้งนี้ เป็นอย่างยิ่ง. หลังจากที่แม่ชีได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าหลวง แม่ชีก็เดิมทางกลับจังหวัดลพบุรี โดยมีทหาร 4. นาย. ตามมากับแม่ชีก็ล่อมเรือตามลำน้ำผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. เข้าแม่น้ำลพบุรี พอมาถึงบริเวณ. ตำบลงิ้วราย จังหวัดลพบุรี ก็มืดค่ำพอดี เห็นมีวัดตั้งอยู่ในป่ามีต้นไม้ เป็นที่ร่มรื่นเหมาะที่จะพักค้างึืนก่อนที่จะเดิมทางต่อไป ปักกรดพักค้างคืนพอตะวันขึ้นสายๆขะได้เดิมทางต่อในวันนั้นเป็ยคืนเดือนหงายประมาณเที่ยนคืนมีเทวดาลงมา. คุยกับแม่ชีบอกงกับแม่ชีว่า. อย่างอพิ่งรีบไปขอให้แม่ชี ช่วยสร้างวัดโคกให้มีพระสงฆ์ วัดจะได้มั่นคงเจริญ. ต่อไป ได้ด้วยเหตุนี้ แม่ชี จึงได้ชักชวนชาวบ้านช่วยกันบูรณะวัด. ขึ้นใหม่ด้วยใจศรัทธา ข้าวของทุกอย่างชาวบ้านช่วยกันจัดหาพอสร้างวัดเสร็จอาราธาพระสงฆ์เข้ามารักษา ดูแล หลังจากนั้น. แม่ชี ก็ลากกลับวัดเขาวงษ์พระจันทร์ ชาวบ้านบางรายก็ขออออกบวชเป็นแม่ชีตามไปก็มี จากนั้นมา ชาวบ้านจึงเห็ยควรให้ตั้งชื่อวัดใหม่ “วัดชีแวะญาณ ณ รังสี”. ต่อมาชาวบ้านเห็นชื่อยาวไปจึงตัดคำว่า ญาณ ณ รังสี ออก. คงใช้แต่ชื่อว่า. วัดชีแวะ. จนถึงปีจจุบัน. วัดชีแวะมี เจ้าอาวาดปกครองวัดสืบเนื่องกันมามีรายนามดังนี้ อาจารย์อยู่ อาจารย์พ่วง. อาจารย์เทียน. อาจารย์เกลื่อย. อาจารย์ชม. อาจารย์หล่ำ. อาจารย์ประยูร. และ. พระ ครูสิริวัฒน์ สิกขกาโม(หลวงพ่อบุญมี). เจ้าอาวาดองค์ปัจจุบัน. ขอนำประวัติของ แม่ชีสัพยังค์ ก่องจะเล่าความปาฏิหาริย์ เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ในรัชกาลที่ 5
ระวังสับสนกับ หม่อมราชวงศ์สลับ ลดาวัลย์
เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ (6 มีนาคม พ.ศ. 2433 – 3 มิถุนายน พ.ศ. 2526) เป็นเจ้าจอมพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนั้นท่านยังเป็นคนสุดท้ายที่ได้ร้องเพลง นางร้องไห้ และเจ้าจอมคนสุดท้ายของราชวงศ์จักรีที่ยังดำรงชีพและถึงแก่อนิจกรรมในรัชกาลที่9
เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ
เกิด
หม่อมราชวงศ์สั้น ลดาวัลย์
6 มีนาคม พ.ศ. 2433
เสียชีวิต
3 มิถุนายน พ.ศ. 2526 (93 ปี)
คู่สมรส
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
บิดามารดา
หม่อมเจ้าเพิ่ม ลดาวัลย์
หม่อมช้อย ลดาวัลย์ ณ อยุธยา
ประวัติ
วัยเยาว์
เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ในรัชกาลที่ 5 เกิดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2433 เป็นธิดาในหม่อมเจ้าเพิ่ม ลดาวัลย์ กับหม่อมช้อย ลดาวัลย์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม นครานนท์)
เมื่อท่านมีอายุได้ 11 ปี หม่อมยายได้พาท่านไปถวายตัวเป็นข้าหลวงในตำหนักพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ซึ่งพระองค์ได้ทรงอบรมเลี้ยงดูหม่อมราชวงศ์สดับในฐานะพระญาติ และยังโปรดให้เรียนหนังสือทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ รวมทั้งหัดงานฝีมือ ตลอดจนการอาหารคาวหวานจนเชี่ยวชาญ นอกจากความอัจฉริยภาพและความงามแล้ว ความมีเสียงอันไพเราะของท่าน ยังเป็นคุณสมบัติที่โดดเด่นด้วย ดังใน บทพระราชนิพนธ์เงาะป่า ว่า
“แม่เสียงเพราะเอย น้ำเสียงเจ้าเสนาะ เหมือนดังใจพี่จะขาด เจ้าร้องลำนำ ยิ่งซ้ำพิสวาท พี่ไม่วายหมายมาด รักเจ้าเสียงเพราะเอย”
ถวายตัว
เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2449 หม่อมราชวงศ์สดับได้เข้าปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วันนี้ท่านได้รับพระราชทาน “กำไลมาศ” จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นกำไลทองคำแท้จากบางสะพาน หนักสี่บาท ทำเป็นรูปตาปูโบราณสองดอกไขว้กัน ปลายตาปูเป็นดอกเดียวกัน มีตัวอักษรซึ่งเป็นบทกลอนพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสลักไว้บริเวณด้านบนของกำไลว่า
กำไลมาศชาตินพคุณแท้ ไม่ปรวนแปรเป็นอื่นยั่งยืนสี
เหมือนใจตรงคงคำร่ำพาที จะร้ายดีขอให้เห็นเช่นเสี่ยงทาย
ตาปูทองสองดอกตอกสลัก ตรึงความรักรัดไว้อย่าให้หาย
แม้รักร่วมสวมใส่ไว้ติดกาย เมื่อใดวายสวาสดิ์วอดจึงถอดเอย
คราวที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่นี้ เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับได้บันทึกไว้ว่า “ในวันเฉลิมพระที่นั่งนี้ทรงพระมหากรุณาสวมกำไลทองรูปตาปูพระราชทานข้าพเจ้า ทรงสวมโดยไม่มีเครื่องมือ บีบด้วยพระหัตถ์ รุ่งขึ้นจึงต้องรับสั่งให้กรมหลวงสรรพศาสตร์พาช่างทองแกรเลิตฝรั่งชาติเยอรมันนำเครื่องมือมาบีบให้เรียบร้อย”
วันนี้ถือว่าเป็นวันที่ท่านมีความสุขมากที่สุด และทั้งตลอดชีวิตของท่าน เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับมิได้ถอดออกจากข้อมือเลย จวบจนชีวิตท่านหาไม่แล้ว หม่อมหลวงพูนแสง สูตะบุตร ผู้เป็นหลานสาวจึงเป็นผู้ที่ถอดออกให้ และได้ถวาย “กำไลมาศ” แด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในงานพระราชทานเพลิงศพของเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับนั้นเอง
เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ได้รับพระราชทานเครื่องยศ ประกอบด้วย หีบหมากทองคำลงยาราชาวดี พานทอง เป็นพานหมากมีเครื่องในทองคำกับกระโถนทองคำ และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายใน ชั้น ทุติยจุลจอมเกล้าฝ่ายใน ซึ่งเป็นเครื่องยศและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นพระสนมเอก ท่านจึงเป็น พระสนมเอก ท่านสุดท้ายในรัชกาล
เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ในรัชกาลที่ 5
ร. 5 เสด็จประพาสยุโรป แก้ไข
วันที่หม่อมราชวงศ์ได้เล่าว่าเป็นวันที่ทุกข์ที่สุดก็คือ วันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประพาสยุโรป เมื่อปี พ.ศ. 2450 เนื่องจากก่อนรัชกาลที่ 5 จะเสด็จพระราชดำเนินนั้น มีพระราชดำริที่จะให้เจ้าจอมสดับตามเสด็จไปยุโรปด้วย ในฐานะข้าหลวงในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตตินารี ถึงกับสอนภาษาอังกฤษพระราชทานเองก่อนเสวยพระกระยาหารทุกคืน แต่มีเหตุขัดข้อง จึงมิอาจเป็นไปตามพระราชดำรินั้นได้
แม้กระนั้น พระองค์ก็ได้มีพระราชหัตเลขามาถึงทุกสัปดาห์ เมื่อได้รับลายพระราชหัตถเลขาแล้ว ท่านก็แสดงอาการดีใจออกมาทุกครั้ง แต่อาการนั้นทำให้เกิดความรู้สึกริษยาจากคนรอบข้างโดยที่ท่านไม่รู้ตัว ทำให้พระวิมาดาเธอฯ ในฐานะผู้ปกครองจึงทรงต้องเข้มงวดกวดขันกิริยาอาการ ตลอดไปถึงข้อความในจดหมาย ด้วยเกรงว่าจะเขียนกราบทูลในเรื่องไม่สมควรไป
ครั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับถึงพระนคร ก็ทรงซื้อเครื่องเพชรมาพระราชทาน โปรดให้แต่งเครื่องเพชรแล้วให้ช่างถ่ายรูปชาวต่างชาติมาถ่ายรูป โดยทรงพระกรุณาจัดท่าพระราชทาน และโปรดพระราชทานตู้ที่ระลึก ยังทรงจัดของตั้งแต่งในตู้นั้นอีกด้วย อีกทั้งยังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาท่านขึ้นเป็นพระสนมเอก อันเป็นตำแหน่งที่แม้เจ้าจอมมารดาบางท่านรับราชการมาช้านานยังไม่ได้รับพระราชทาน แต่ท่านซึ่งเป็นเพียงเด็กสาวรุ่น และเพิ่งเข้ามารับราชการไม่นานนักกลับได้รับพระเมตตาไว้ในตำแหน่งที่สูงถึงเพียงนี้ ยิ่งก่อให้เกิดความริษยาจากคนรอบข้าง ด้วยวัยเพียง 17 ปี ท่านจึงได้เล่าถึงความรู้สึกครั้งนั้นว่า
“…เหลียวไปพบแต่ศตรู คุณจอมนั้นส่อเสียดว่าอย่างนั้น คุณจอมนี้ว่าอย่างนี้ ตรองดูทีหรือข้าพเจ้าจะย่อยยับแค่ไหน”
ด้วยความที่เจ้าจอม ม.ร.ว. สดับยังอายุน้อย บวกกับความคับแค้นใจ ทำให้ขาดความยั้งคิด ดื่มน้ำยาล้างรูปหมายจะทำลายชีวิตตนเอง แต่แพทย์ประจำพระองค์ช่วยชีวิตไว้ได้ทัน. นี่คือประวัติของ. แม่ชีสีพยังค์ ความศรัทธาและความเคารพของชาวบ้านตำบลงิ้วราย. จงถึงปัจจุบัน. ทางวัดชีแวะมีศาลาของแม่สัพยังค์ มี หุ่นขี้ผึ้ง. ของแม่ชีสัพยังค์ ประดิษฐานอยู่ณ วัดชีแวะ นานแสนนาน. หลักฐาน. ไม่มีผู้ใดเป็นผู้สร้างหรือสร้างขึ้นมา. ได้มีชาวบ้านสมัย ก่อนบอกกับลูกหลานต่อๆกันมาว่า หุ่นขี้ผึ้ง ประดิษฐ์ ประฐานมานานแล้ว บางกระแสบอกว่า. พระพุทธเจ้าหลวง. ให้ช่างหลวงปั้นขึ้นมาและมาประดิษฐานไว้ ณ. วัดชีแวะ. ให้ผู้คนชาวบ้านประชาชนทั่วไปกราบไหว้ สาระบูชา. ได้สร้างกุฏิหลังเก่า ให้ไว้หุ่นขี้ผึ้งของแม่ชี เวลาต่อมาเจ้าอาวาสวัดชีแวะองค์ปัจจุบัน. ได้ย้ายหุ่นขี้ผึ้งของแม่ชีเอาไว้ตรงทางเข้าวัด. เพื่อความสะดวกให้ประชาชนกราบไหว้บูชากันนะสะดวก. ว่านศักดิ์สิทธิ์ ปาฏิหาริย์ประสบการณ์ร่างล่ำลือกันมานาน. ว่าว่าศักดิ์สิทธิ์ของแม่ชีนั้นขออะไรสมปรารถนาที่ตั้งใจเอาไว้ ได้มีผู้คนทุกสาธิตไหลมา กราบไหว้บูชาแม่ชีสัพยังค์ กันดั้มบัคเมื่อสมัยก่อน. แต่ยุคปัจจุบันน้อยลงเพราะภาวะเศรษฐกิจ ตกต่ำทำให้วัดชีแวะเงียบเหงา. แต่ความศรัทธาของแม่ชียังไม่สืบข่ายได้มีลูกศิษย์ลูกหามาไหว้แม่ชีเป็นประจำ. ใครสนใจกับมากราบไหว้ขอพรขอบารมีด้านค้าขายหรือสุรภาพติดต่อทางวัดชีแวะโดยตรงหรือมาไหว้ที่วัดยินดีต้อนรับทุกท่าน. พระเดชพระคุณเจ้าอาวาสวัดชีแวะบอกเคล็ดลับการบูชา. ท่านแม่ชีชอบพวงพวงมาลัยดอกมะลิ หมากพลู และชุดแม่ชีใครบนบางก็เอาเถอะสิ่งเหล่านี้มาแก้บนได้สมปรารถนา. ฝากประชาชนผู้มีศรัทธาแวะมาบูชาแม่ชี ณ. วัดชีแวะ ตำบลงิ้วราย อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
ยินดีต้อนรับทุกท่าน ผู้มีศรัทธาต่อแม่ชีสัพยังค์
นันท์นภัส วงศ์ใหญ่
ผู้อำนวยการศูนย์ข่าวภาคกลางหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ