26 ธันวาคม 2565
ดร.สุเทพ ชิตยวงษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานการส่งเสริมการศึกษากับการมีงานทำให้แก่นักเรียน นักศึกษา และแรงงานทุกระดับ ครั้งที่ 6 /2565 โดยมี นายมณฑล ภาคสุวรรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ดร.นิติ นาชิต ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาธุรกิจและบริการ พร้อมด้วยผู้แทนจากกรมการจัดหางาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และสำนักงานประกันสังคม ซึ่งมีสำนักมาตรฐานอาชีวศึกษาและวิชาชีพ เป็นกรรมการและเลขานุการ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
🔹สำหรับการประชุมในครั้งนี้เป็นการสรุปและวางแผนเตรียมความพร้อมแถลงผลงานครบรอบ 1 ปี ของคณะทำงาน 4 ด้าน โดยมี 4 กิจกรรมในการขับเคลื่อน การดำเนินงาน ได้แก่
📍1. คณะทำงานด้านระบบฐานข้อมูล Big Data ด้านการส่งเสริมการมีงานทำ
◽️กิจกรรม เปิดตัว!! แพลตฟอร์มกลางในการบริหารจัดการส่งเสริมการศึกษา เพื่อการมีงานทำให้แก่นักเรียน นักศึกษาและแรงงานทุกระดับ
📍2. คณะทำงานด้านการพัฒนาหลักสูตร และด้านการพัฒนาบุคลากรและครูผู้สอน
▫️กิจกรรม ด้านหลักสูตร Up-skill Re-skil และ E-learning ที่เชื่อมโยงกับมาตรฐานฝีมือแรงงานและกฎหมายแรงงานที่ควรรู้
◽️ระบบธนาคารหน่วยกิต credit Bank
📍3. คณะทำงานด้านการทดสอบและการจัดตั้งศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานและด้านการประเมินและการจัดตั้งศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถ
▫️กิจกรรม การยกระดับสมรรถนะนักเรียน นักศึกษาและแรงงานทุกระดับด้วยการรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงาน โดย▪️ ศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน และ ศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถ
📍4. คณะทำงานด้านส่งเสริมและพัฒนางานในการจัดการอาชีวศึกษาด้านทวิภาคีและด้านการแข่งขันฝีมือแรงงาน
◽️กิจกรรม ระบบทวิภาคีคุณภาพสูงเพื่อยกระดับกำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูงเพื่อการพัฒนาประเทศ
◽️world skills และการแข่งขันทักษะวิชาชีพ (อวท.)
◽️นอกจากนี้ ที่ประชุมยังรับทราบผลการดำเนินงานร่วมระหว่างกระทรวงศึกษาธิการกับกระทรวงแรงงาน
ภายใต้กรอบบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในปี 2565 ของคณะทำงาน 4 ด้าน และสรุปผลการสำรวจศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน และศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถ ที่จัดตั้งในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ภาครัฐและเอกชน เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์และสอดคล้องตามนโยบายของรัฐบาลในการเร่งส่งเสริมพัฒนาทักษะทางอาชีพและส่งเสริมการมีงานทำและให้ความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกช่วงวัยโดยเฉพาะในวัยกำลังแรงงานที่จะต้องได้รับการพัฒนาทักษะฝีมือให้สูงขึ้นสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีความรู้ ความสามารถ และทักษะฝีมือที่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ
.