สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (สร.อ.ส.ค.) ออกแถลงการณ์โต้ ไม่ได้เห็นด้วยกับการที่ อ.ส.ค. จะมีการอนุญาตให้เอกชนต่างชาตินำเครื่องหมายการค้า “ไทย–เดนมาร์ค” ไปใช้ในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมผงสำหรับทารก ขอผู้บริหารอย่าสร้างความเข้าใจผิดและแอบลักไก่
ตามที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (สร.อ.ส.ค.) และผู้แทนสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ได้เข้าร่วมประชุมหารือกับ รมช. มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีนายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ ประธานคณะที่ปรึกษา รมช. พร้อมด้วยนายสมพร ศรีเมือง ผู้อำนวยการ อ.ส.ค. และผู้บริหารกระทรวง
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน 2565 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุม 134 ชั้น 3 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
จากการประชุม สร.อ.ส.ค. และผู้แทน สรส. ยังคงยืนยันไม่เห็นด้วยกับการที่ อ.ส.ค. จะมีการอนุญาตให้เอกชนต่างชาตินำเครื่องหมายการค้า “ไทย–เดนมาร์ค” ไปใช้ในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมผงสำหรับทารกและเห็นว่าโครงการดังกล่าวมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์นมผลจากต่างประเทศ ไม่ได้เป็นการสนับสนุนกิจการการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรภายในประเทศแต่อย่างใด ซึ่งรมช. มนัญญาฯ ก็เห็นด้วยในหลักการที่จะให้ อ.ส.ค. พัฒนาศักยภาพในการผลิต เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคในอนาคต เพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ ประชาชน เกษตรกร และ อ.ส.ค. เอง เพื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรม ของประเทศ
ในการประชุมฝ่ายบริหารได้พยายามเสนอข้อมูลต่างๆ ในเชิงชี้นำโน้มน้าว แต่ สร.อ.ส.ค. และ ผู้แทน สรส. ก็ยังมีความเห็นแย้งว่าเป็นข้อมูลที่เสนอฝ่ายเดียวและไม่มีหลักประกันได้ว่าถ้าไม่เป็นไปตามที่ชี้แจงแล้วจะมีใครรับผิดชอบ เสนอให้ชะลอเรื่องนี้ออกไปก่อนจนกว่าจะมีความชัดเจน ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน และเหนืออื่นใด สร.อ.ส.ค. และผู้แทน สรส. ได้ยืนยันหนักแน่นว่าสัญลักษณ์วัวแดง เป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ของสองแผ่นดินระหว่างประเทศไทยกับประเทศเดนมาร์ค ระหว่างพระบาทสมเด็จพระภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9 ซึ่งมีคุณค่าต่อประเทศชาติ และสำนึกสูงสุดของประชาชนคนไทยทุกคนที่มีต่อพระองค์ท่าน
ซึ่งในการแถลงข่าว รมช.มนัญญาฯ ก็ระบุว่าให้ทั้งผู้บริหาร อส.ค. และสหภาพไปคุยกันให้ได้ข้อสรุปก่อนแล้วค่อยมาประชุมหารือกันอีกครั้งว่าจะเดินหน้าต่อหรือไม่อย่างไร เมื่อนักข่าวถามว่ากำหนดกรอบเวลาหรือไม่ รมช.ตอบว่าไม่ได้กำหนดกรอบอยู่ที่ทั้งสองฝ่ายจะคุยกัน แต่ได้มีสื่อมวลชนบางฉบับได้ลงข่าวที่ไม่เป็นไปตามที่ประชุมหารือกัน โดยนำเสนอข้อมูลของฝ่ายบริหารเพียงฝ่ายเดียว และสรุปว่า สร.อ.ส.ค.ได้เห็นด้วยในการ ให้ใช้เครื่องหมายการค้า “ไทย–เดนมาร์ค” นั้น สร.อ.ส.ค. ขอยืนยันว่าข่าวดังกล่าว ไม่เป็นความจริง อีกทั้ง
ทั้งนี้ ที่ประชุมของ สรส. เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 ยังได้มีมติให้ร่วมคัดค้านการอนุญาตให้เอกชนนำเครื่องหมายการค้า “ไทย–เดนมาร์ค” ไปใช้ในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมผงที่จะนำเข้าจากต่างประเทศโดยจะร่วมคัดค้านกับ สร.อ.ส.ค. ซึ่งเป็นองค์กรสมาชิก โดยที่ประชุมมีการตั้งคณะทำงานขับเคลื่อน เรื่องดังกล่าวมี นายสาวิทย์ แก้วหวาน อดีตเลขาธิการ สรส. ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ปรึกษา สรส. เป็นประธาน คณะทำงานจึงขอเรียนให้สมาชิก สร.อ.ส.ค. ทุกท่านทราบในเจตนารมณ์ของการดำเนินการคัดค้านการอนุญาตให้เอกชนนำเครื่องหมายการค้า “ไทย–เดนมาร์ค” ไปใช้ในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมผงอย่างถึงที่สุด
จากการประชุม สร.อ.ส.ค. และผู้แทน สรส. ยังคงยืนยันไม่เห็นด้วยกับการที่ อ.ส.ค. จะมีการอนุญาตให้เอกชนต่างชาตินำเครื่องหมายการค้า “ไทย–เดนมาร์ค” ไปใช้ในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมผงสำหรับทารกและเห็นว่าโครงการดังกล่าวมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์นมผลจากต่างประเทศ ไม่ได้เป็นการสนับสนุนกิจการการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรภายในประเทศแต่อย่างใด ซึ่งรมช. มนัญญา ฯก็เห็นด้วยในหลักการที่จะให้ อ.ส.ค. พัฒนาศักยภาพในการผลิต เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคในอนาคต เพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ ประชาชน เกษตรกร และ อ.ส.ค. เอง เพื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรม ของประเทศ
ในการประชุมฝ่ายบริหารได้พยายามเสนอข้อมูลต่างๆ ในเชิงชี้นำโน้มน้าว แต่ สร.อ.ส.ค. และ ผู้แทน สรส. ก็ยังมีความเห็นแย้งว่าเป็นข้อมูลที่เสนอฝ่ายเดียวและไม่มีหลักประกันได้ว่าถ้าไม่เป็นไปตามที่ชี้แจงแล้วจะมีใครรับผิดชอบ เสนอให้ชะลอเรื่องนี้ออกไปก่อนจนกว่าจะมีความชัดเจน ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน และเหนืออื่นใด สร.อ.ส.ค. และผู้แทน สรส. ได้ยืนยันหนักแน่นว่าสัญลักษณ์วัวแดง เป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ของสองแผ่นดินระหว่างประเทศไทยกับประเทศเดนมาร์ค ระหว่างพระบาทสมเด็จพระภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9 ซึ่งมีคุณค่าต่อประเทศชาติ และสำนึกสูงสุดของประชาชนคนไทยทุกคนที่มีต่อพระองค์ท่าน
ซึ่งในการแถลงข่าว รมช.มนัญญาฯ ก็ระบุว่าให้ทั้งผู้บริหาร อส.ค. และสหภาพไปคุยกันให้ได้ข้อสรุปก่อนแล้วค่อยมาประชุมหารือกันอีกครั้งว่าจะเดินหน้าต่อหรือไม่อย่างไร เมื่อนักข่าวถามว่ากำหนดกรอบเวลาหรือไม่ รมช. ตอบว่าไม่ได้กำหนดกรอบอยู่ที่ทั้งสองฝ่ายจะคุยกัน แต่ได้มีสื่อมวลชนบางฉบับได้ลงข่าวที่ไม่เป็นไปตามที่ประชุมหารือกัน โดยนำเสนอข้อมูลของฝ่ายบริหารเพียงฝ่ายเดียว และสรุปว่า สร.อ.ส.ค. ได้เห็นด้วยในการ ให้ใช้เครื่องหมายการค้า “ไทย–เดนมาร์ค” นั้น สร.อ.ส.ค. ขอยืนยันว่าข่าวดังกล่าว ไม่เป็นความจริง อีกทั้ง
ที่ประชุมของ สรส. เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 ยังได้มีมติให้ร่วมคัดค้านการอนุญาตให้เอกชนนำเครื่องหมายการค้า “ไทย–เดนมาร์ค” ไปใช้ในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมผงที่จะนำเข้าจากต่างประเทศ โดยจะร่วมคัดค้านกับ สร.อ.ส.ค. ซึ่งเป็นองค์กรสมาชิก โดยที่ประชุมมีการตั้งคณะทำงานขับเคลื่อน เรื่องดังกล่าวมี นายสาวิทย์ แก้วหวาน อดีตเลขาธิการ สรส. ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ปรึกษา สรส. เป็นประธาน คณะทำงานจึงขอเรียนให้สมาชิก สร.อ.ส.ค. ทุกท่านทราบในเจตนารมณ์ของการดำเนินการคัดค้านการอนุญาตให้เอกชนนำเครื่องหมายการค้า “ไทย–เดนมาร์ค” ไปใช้ในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมผงอย่างถึงที่สุด
สุรเชษฐ ศิลานนท์ รายงาน