(24 พ.ย.65)ที่อาคารรัฐสภา นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ อดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ยื่นหนังสือถึงนางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ให้ตรวจสอบหนังสือกำกับไม้แปรรูปจากไม้ในที่ดินกรรมสิทธิ์ เนื่องจากโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ มีพื้นที่ปูด้วยไม้ประมาณ 13,758 ตร.ม. ทั้งพื้นและตง ต้องใช้ไม้ตะเคียนทอง แต่ตามหนังสือของกลุ่มบริษัทควบคุมงาน ATTA ลงวันที่ 6 ก.ค.65 ส่งข้อมูลเอกสารเกี่ยวกับไม้ตะเคียนทองซึ่งใช้ในโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาดังกล่าวให้คณะกรรมการตรวจการจ้าง ในเอกสารดังกล่าวพบว่ามีการแจ้งหนังสือกำกับไม้แปรรูป จากไม้ในที่ดินกรรมสิทธิ์ ขนย้ายไปยังสถานที่ก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ให้แก่ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง คอนสตรัคชั่น จำกัด ซึ่งมีข้อผิดสังเกตอยู่ 4 ประการคือ
1.เลขที่ 06/63 ฉบับที่ 13 ลงวันที่ 6 มิถุนายน 63 ไม้จำนวน 202 แผ่น
2.เลขที่ 03/63 ฉบับที่ 13 ลงวันที่ 11 พฤษภาคม 63 ไม้จำนวน 309 แผ่น
3.เลขที่ 03/63 ฉบับที่ 13 ลงวันที่ 31 มีนาคม 63 ไม้จำนวน 203 แผ่น
4.เลขที่ 03/63 ฉบับที่ 12 ลงวันที่ 5 มีนาคม 63 ไม้จำนวน 373 แผ่น
จากรายละเอียดในหนังสือกำกับไม้แปรรูปทั้ง 4 ใบ ไม้แปรรูปในแต่ละใบ ได้มาจากที่ดิน 2 แปลงคือ
ก.โฉนดที่ดินเล่มที่ ดคข เลขที่ 1054 หน้า 5 ต.ยุลกง อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี
ข.โฉนดที่ดินเล่มที่ 123 เลขที่ 12268 หน้า 28 ต.งิม อ.ปง จ.พะเยา (ยกเว้นหมายเลข 2 ที่นำไม้จากโฉนดแปลง ข. เท่านั้น)
จึงขอให้ตรวจสอบว่าเป็นการแจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จหรือไม่ ดังนี้
1.1การเคลื่อนย้ายไม้แต่ละเที่ยวทำไมเป็นไม้จากทางเหนือสุดและใต้สุด
1.2ไม้มาจากที่ดินแปลงเดียวกันจำนวน 2 โฉนด (ยกเว้นหมายเลข 2 ไม้มาจากโฉนดข้อ ข.เท่านั้น)
1.3ใบกำกับหมายเลข 2 และ 3 มีเลขที่ 03/63 ฉบับที่ 13 เหมือนกันเป็นเอกสารเท็จใช่หรือไม่
1.4ไม้ในที่ดินแต่ละแปลงมีจำนวนมากเช่นนี้จริงหรือไม่
หากผลการตรวจสอบเป็นเท็จ ขอให้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดกับบุคคลที่เกี่ยวข้องต่อไป ขณะดียวกันนายวิลาศยังได้ยื่นหนีงสือถึงนางพรพิศอีก 1 ฉบับ ขอให้ตรวจสอบการปูพื้นด้วยหินแกรนิตดำไทยบริเวณทางเดินเท้าด้านถนนทหารตัดกับถนนสามเสน มีการปูพื้นทางเท้าด้วยหินแกรนิตดำไทย ขนาด 60×60 ซม. ซึ่งเป็นความประหลาดของทางเดินเท้า เพราะจากทางแยกไปตามถนนสามเสน (รอยต่ออยู่ทางแยก)ปูด้วยหินวิทิตาส้มขนาดและสีหลากหลาย โดยมีการอ้างว่า เนื่องจากสัมปทานเหมืองหินวิทิตาส้มสิ้นสุด (สัมปทานของบ.นิวยอร์คหินอ่อนและแกรนิต) แต่จากการค้นหาข้อมูลเบื้องต้นจากนักธรณีวิทยาและวิศวกรเหมืองแร่ให้ข้อมูลตรงกันว่า
1.ถึงแม้ว่าเหมืองหินวิทิตาของบ.นิวยอร์คจะสิ้นสุดสัมปทานยังสามารถสั่งนำเข้าจากต่างประเทศจีนได้ ไม่จำเป็นต้องใช้หินวิทิตาขนาดและสีหลากหลายเช่นนี้ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเรียกว่าเศษหิน
2.การเปลี่ยนจากหินวิทิตาส้มเป็นหินแกรนิตดำไทย ซึ่งสีไม่สม่ำเสมอ อีกทั้งหินแกรนิตดังกล่าวเป็นสีที่มีราคาต่ำ
3.ขณะทำทางเดินเท้าบริเวณดังกล่าวมีการถมดินซึ่งมีขยะจำนวนมาก ซึ่งจะนำภาพส่งหน่วยงานกลางต่อไป
4.ทราบว่ามีการเปลี่ยนแปลงขนาดของหินหลายครั้ง บางครั้งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการตรวจการจ้าง (คตจ.)แล้ว แต่บางครั้งยังไม่ได้รับการอนุมัติ แต่เมื่อมีการปูพื้นหินเสร็จสิ้นและมีการเบิกจ่ายเงินงวดให้ผู้รับจ้างแล้ว ทั้งๆที่ยังไม่มีการตกลงเรื่องเงินลดและแก้ไขสัญญา เห็นว่าน่าจะเป็นการกระทำที่ผิดข้อสัญญาและข้อกฎหมาย จึงขอให้ตรวจสอบเพื่อหาผู้รับผิดชอบและลงโทษต่อไป