สถานการณ์การระบาดศัตรูข้าว ตามแผนเฝ้าระวังการระบาดศัตรูข้าวในฤดูนาปรัง ปี 2564/2565
ในเขตท้องที่อำเภอเมืองลพบุรี
เฝ้าระวังและป้องกันหอยเชอรี่ เกษตรกรชาวลพบุรีตระหนักว่าเป็นภัยร้ายแรงและเป็นศัตรูข้าว
จังหวัดลพบุรีมีเกษตรกรปลูกข้าวเป็นจำนวนมาก
เมื่อเวลา 11:00 น ในวันจันทร์ที่ 26 กันยายน 2565
นายปิติ เลิศวิริยะประภา
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์” ได้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับศูนย์ข่าวภาคกลางหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ ว่า
ช่วงฤดูฝน ปริมาณน้ำในท้องนาเหมาะสำหรับการปลูกข้าว และพบว่าบางแห่งมีน้ำท่วมขัง ทำให้มีศัตรูข้าวบางชนิดเมื่อได้รับน้ำฝนจะออกมาผสมพันธุ์แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะหอยเชอรี่ ศัตรูข้าวที่สำคัญซึ่งสามารถแพร่ระบาดไปกับน้ำที่ไหลหลากเข้าแปลงนาข้าว จึงขอเตือนชาวนาให้เฝ้าระวังการแพร่ระบาดของหอยเชอรี่ในขณะนี้ด้วย
ทั้งนี้กรมการข้าวจึงขอแนะนำให้เกษตรกรป้องกันกำจัดหอยเชอรี่โดยวิธีผสมผสานดังนี้ 1. ใช้วัสดุกั้นทางที่ไขน้ำเข้านา เช่นตะแกรง เฝือก ภาชนะดักปลา ดักจับหอยเชอรี่ ลูกหอยที่ฟักใหม่ๆ สามารถลอยน้ำได้ควรใช้ตาข่ายถี่ๆ กั้นขณะสูบน้ำเข้านาข้าว หรือกั้นทางน้ำไหล เก็บหอยและสวะออกจากตาข่ายเพื่อไม่ให้กีดขวางทางน้ำเข้า อย่างสม่ำเสมอ 2.ทำลายไข่หอยและตัวหอย โดยใช้กระชอนที่มีด้ามยาวเก็บ แซะไข่แล้วนำไปทำลายทุกสัปดาห์ ตลอด 4-6 อาทิตย์แรกนับตั้งแต่ไขน้ำเข้านา 3. ใช้ไม้หลักปักในนาข้าว ล่อหอยมาวางไข่แล้วเก็บทำลาย การใช้เหยื่อล่อเพื่อให้หอยมากินและหลบซ่อนตัว พืชเหยื่อล่อที่หอยชอบกิน เช่น ใบผัก ใบมันเทศ ใบมันสำปะหลัง ใบมะละกอ หรือพืชอื่นๆ ที่มียางขาวคล้ายน้ำนม 4. ใช้สารกำจัดหอย ทันทีหลังปักดำเสร็จ หรือหลังไขน้ำเข้านาแล้ว 1-2 ชั่วโมง และต้องมีน้ำสูง 5 เซ็นติเมตร ตามคำแนะนำและ5. ห้ามใช้สารเอ็นโดซัลแฟน และอัลบาแม็กติน เพราะจะทำลายสภาพแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต
อย่างไรก็ตาม หอยเชอรี่ยังพอมีประโยชน์ในการนำมาใช้ประกอบอาหารได้หลายชนิดเพราะมีโปรตีนสูงถึง 34-35 เปอร์เซ็นต์ เปลือกหอยสามารถนำมาใช้ปรับสภาพความเป็นกรดของดินได้ ตัวหอยทั้งเปลือกและไข่หอยสามารถนำไปฝังบริเวณโคนต้นไม้เพื่อทำเป็นปุ๋ย หรือทำเป็นปุ๋ยหมักชนิดน้ำได้ ชาวนาท่านใดสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ศูนย์บริการชาวนาใกล้บ้าน
เตือนภัย ‘หอยเชอรี่’ ที่ไหนฝนชุก น้ำมากจะมาทันที แพร่พันธุ์เร็ว อายุ 2-3 เดือน ผสมพันธุ์วางไข่ กัดกินต้นข้าวจากโคนถึงปลายหมดในเวลาเพียง 1-2 นาที พบระบาดที่แม่สอด แนะตัดใบ-ลูกมะละกอมาสับ โยนในนาให้กินแทนข้าว…
ขณะนี้ ฝนที่ตกชุก ปริมาณน้ำมาก ตามทุ่งนาต่างๆ มีต้นข้าวที่กำลังเจริญงอกงาม และบางแห่งมีน้ำท่วมขัง ทำให้มีศัตรูข้าวบางชนิด โดยเฉพาะ ‘หอยเชอรี่’ เมื่อได้น้ำฝนก็จะออกมาผสมขยายพันธุ์แพร่ระบาดไปได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งหอยชนิดนี้ถือเป็นศัตรูข้าวที่สำคัญ ในพื้นที่อำเภอเมืองลพบุรี และอำเภอใกล้เคียง เริ่มพบการระบาดแล้วทั้งตำบลโพธิ์เก้าต้น ตำบบท้ายตลาด ตำบลท่าแค ตำบลถนนใหญ่ ตำบลเขาพระงาม
และใกล้เคียง
สำหรับ ลักษณะหอยเชอรี่ ตัวเหมือนหอยโข่ง มีเปลือกสีเหลืองปนน้ำตาล เนื้อและหนวดสีน้ำตาลอ่อน หอยเชอรี่เจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ลูกหอยอายุเพียง 2-3 เดือน จะจับคู่ผสมพันธุ์ได้ตลอดเวลา หลังผสมพันธุ์ได้ 1-2 วัน ตัวเมียจะวางไข่ในเวลากลางคืน โดยวางไข่ตามกิ่งไม้ ต้นหญ้าริมน้ำ ต้นข้าว ไข่สีชมพูเกาะติดกันเป็นกลุ่มยาว 2-3 นิ้ว ไข่จะฟักออกเป็นตัวหอยภายในเวลา 7-12 วัน
ทั้งนี้ เกษตรกรชาวลพบุรี
จะต้องคอยสังเกตการเข้าทำลายต้นข้าว ในระยะกล้า และที่ปักดำใหม่ๆ ไปจนถึงระยะแตกกอ โดยเริ่มจากส่วนโคนต้นข้าวที่อยู่ใต้น้ำ จากพื้นดินประมาณ 1-1.5 นิ้ว จากนั้นจะกินส่วนใบที่ลอยน้ำจนหมด ทั้งต้น ทั้งใบ ใช้เวลาเพียง 1-2 นาที
ปิติ เลิศวิริยะประภา
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์”
แนะนำให้เกษตรกรชาวลพบุรี
หันมาใช้วิธีแบบธรรมชาติ หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น การใช้ใบมะละกอหรือลูกมะละกออ่อน มาสับทิ้งไว้บริเวณทางน้ำในพื้นที่นา เนื่องจากหอยเชอรี่จะชอบกินใบมะละกอมาก ก็สามารถจับหอยเชอรี่เพื่อนำไปกำจัดได้ หรือวิธีการใช้ตาข่ายดักจับในช่องทางน้ำ รวมทั้งการอนุรักษ์สัตว์ธรรมชาติ เช่น นกปากห่างหรือเป็ด ซึ่งถือเป็นสัตว์ที่กำจัดหอยเชอรี่ได้อย่างดี
นายปิติ เลิศวิริยะประภา ไม่กล่าวตอนท้ายว่า ผมและ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พี่ต่อ) เป็นห่วงเกษตรกรชาวลพบุรีเป็นอย่างมากผมจะดูแลและแก้ปัญหา เอาความเดือดร้อนของเกษตรกรในกรณีหอยเชอรี่ ระบาดในพื้นที่จังหวัดลพบุรีผมลงพื้นที่ตรวจสอบจะนำปัญหาเหล่านี้ไปแจ้งไปแจ้งรัฐบาลและ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ลงมาช่วยเหลือปตทอีกทางหนึ่ง
ปิติ ได้กล่าวทิ้งท้ายนานที่สุด
นันท์นภัส วงศ์ใหญ่
ผู้อำนวยการศูนย์ข่าวภาคกลางหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ