วันที่ 24 กันยายน 2465
กิจกรรม Thailand Talks 2022 อาคารสยามสเคป กรุงเทพฯ
นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พรรคพลังประชารัฐ ได้พูดคุยผ่านเวที กิจกรรม “ Thailand Talks 2022 “ สร้างวัฒนธรรมการพูดคุยครั้งใหม่ ของสังคมไทยสะท้อนมุมมอง ความต่างผ่านการรับฟัง และการแลกเปลี่ยนโดย จับคู่ กับ “ช่อ” พรรณิการ์ วานิชนักการเมืองสาวฝีปากกล้า จากคณะก้าวหน้า ดำเนินการโดย ธีร์วัฒน์ ชูรัตน์
ผู้ดำเนินรายการ ได้เตรียมคำถามพูดคุยในหัวข้อ “เสรีภาพในการแสดงออก ควรมาพร้อมกับกาลเทศะ ใช่หรือไม่”
คุณช่อ พรรณิการ์ วานิช แกนนำ “คณะก้าวหน้า”ได้ยกตัวอย่าง “กลุ่มฟีเมน” กลุ่มนักเคลื่อนไหวสิทธิสตรี ที่ประท้วงรัฐบาลรัสเซีย ด้วยการเปลือยหน้าอก ที่ต้องการ ต่อต้าน และปลดแอกจากระบบการปกครอง ที่มีการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ อย่างประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ซึ่งทาง คุณช่อ ถามว่านักเคลื่อนไหวเหล่านี้คือคนที่ไม่รู้จักกาลเทศะ หรือไม่ เสริมด้วยประสบการณ์ ที่เคยถูกต่อว่า ว่าตัวเองไม่รู้จักกาลเทศะ เนื่องจากใส่ชุดสูท ขาวดำแบรนด์ดัง เข้าประชุมสภาฯ รวมทั้งประเด็นการ ที่ นักเรียน ผู้ชาย ตัดทรงผมเกรียนและผู้หญิงตัดผมเสมอติ่งหู โดยบอกว่าเป็นกฎที่ครูใช้อำนาจสถาปนากฎขึ้นมาเองและ ย้อนถามใครมีผู้มีอำนาจในเมื่อคนส่วนส่วนใหญ่ย่อมมีสิทธิ์กำหนด
นายสามารถ เจนชัยจิตวนิช กล่าวว่า ผมมองว่าสังคมภายนอก จะเป็นคนกำหนดกาลเทศะ เพราะอย่างยิ่งประเทศไทย ที่เป็นประเทศ ที่มีรากเหง้าทางวัฒนธรรมที่ยั่งยืนยาวนาน เคารพกฎระเบียบ และกติกาของสังคม สืบทอด ต่อกันมาโดยยกตัวอย่าง ในเรื่องของสมัยโบราณ ที่ผู้หญิงไทย ไม่ได้สวมใส่อาภรณ์ด้านบน ก็ถือเป็นเรื่องปกติ แต่เมื่อกาลเวลา วัฒนธรรมได้เปลี่ยนแปลงไป สังคมกำหนดให้ สิ่งที่กระทำนั้น ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง เมือได้กำหนดไว้แล้ว ก็ต้องเคารพในกติกาของคนในสังคม เคารพกฎหมาย เพื่อให้สังคมได้อยู่อย่างสงบสุข
แต่ทั้งนี้การที่ออกมาบอกว่า คุณแสดงออกโดยการเปลือยอกนั้น มันเป็นสิทธิ์ของคุณ แต่จะต้องไม่ละเมิดคนอื่นโดยไม่ได้คำนึงถึงสถานที่ ใช้สิทธิ์เสรีภาพในขอบเขต ของคุณ ถ้าอยู่ในบ้านอยู่ในห้องนอนคุณ คุณจะทำอย่างไรในบ้าน ก็ไม่มีใครว่า แต่ถ้าออกมาข้างนอกในสถานที่ ที่ทุกคนได้ใช้ร่วมกัน และมีกติกาในสังคม ที่ตกลงกันแล้วอันนั้น ก็เป็นสิ่งที่ผิด แล้วเรื่องทรงผมของนักเรียนแต่ละโรงเรียน มีกฎมีระเบียบที่ตั้งกติกากันไว้ตั้งแต่ต้น ไม่ได้เกี่ยวกับผู้มีอำนาจและทั้งสองฝ่ายก็ยอมรับในกฎกติกา ของสังคมที่ตั้งขึ้นมา
นายสามารถ ยังกล่าวต่อไปว่า ปัญหาสังคมปัจจุบันเรื่อง ของความขัดแย้ง จะจัดการอย่างไรต้องมองว่า การที่สังคมได้อยู่ร่วมกันนั้น จะต้องให้ความสำคัญ คือ “การรับฟัง” ความคิดเห็นของอีกฝ่าย เพื่อนำมาหาจุดที่ ทั้งสองฝ่าย ไปด้วยกันได้ไม่ได้ต้องการ ให้สังคมแตกแยก แต่ให้สังคมได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ภายใต้กฎกติกาและกฎหมายอันเดียวกัน