วันที่ 12 กันยายน 2565 เวลา 09:30 น ที่ห้องประชุมทานตะวันชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดลพบุรีนายนิวัฒน์ รุ่งสาคร ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรีเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัด (ศจพ.จ.)ทั้งนี้เพื่อรับทราบการดำเนินการช่วยเหลือครัวเรือนเป้าหมายที่ตกเกณฑ์TPMAP logook ปี 2565 และผลการให้ความช่วยเหลือจำนวนครัวเรือนทั้ง 9,322 ครัวเรือนที่แยกเป็น 5 มิติ
สำหรับจังหวัดลพบุรีมีครัวเรือนเป้าหมาย 9,322 ครัวเรือนจากการดำเนินงานช่วยเหลือครัวเรือนเป้าหมายที่ตกเกณฑ์ TPMAPปี 2565 โดยทีมปฏิบัติการและทีมพี่เลี้ยงของแต่ละอำเภอสามารถดำเนินการแล้วเสร็จทั้ง 9,322 ครัวเรือนโดยมีครัวเรือนที่พัฒนาได้ด้วยตนเองจำนวน 8,309 ครัวเรือน ครัวเรือนที่พัฒนาโดยหน่วยงานจำนวน 160 ครัวเรือนและครัวเรือนที่ต้องสงเคราะห์จำนวน 853 ครัวเรือนซึ่งผลการให้ความช่วยเหลือจำนวนครัวเรือนที่สามารถพัฒนาโดยหน่วยงานและต้องสงเคราะห์จำนวน 1,013 ครัวเรือนได้ดำเนินการแล้วเสร็จโดยสามารถแยกเป็น 1,091 สภาพปัญหาคือมิติสุขภาพมี 36 ครัวเรือนที่พบสภาพปัญหา ใน7 อำเภอ มิติความเป็นอยู่มี181 ครัวเรือนพบสภาพปัญหาใน 9 อำเภอ มิติด้านการศึกษามี 35 ครัวเรือนที่พบสภาพปัญหาใน 6 อำเภอ มิติได้รายได้มีจำนวน 833 ครัวเรือนพบสภาพปัญหาใน11 อำเภอ มิติด้านการเข้าถึงบริการภาครัฐมี 6 ครัวเรือนที่พบสภาพปัญหาใน 3 อำเภอ
ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี กล่าวว่า ข้อมูลจากสภาพัฒน์กับจปฐ .ลพบุรีมีครัวเรือนตกเกณฑ์ 9,322 ครัวเรือนเป็นข้อมูลที่ต้องเข้าไปดูแล ซึ่ง8,000 กว่าครัวเรือนตกเกณฑ์ที่สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเองเช่นปัญหาไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่ออกกำลังกาย ก็มีการแก้ไขแล้วด้วยตนเองโดยมีทีมปฏิบัติการและทีมพี่เลี้ยงให้คำแนะนำ ส่วน 1,013 ครัวเรือนที่ต้องดูแลเฉพาะซึ่งก็ดำเนินการมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564 เป็นต้นมาและจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดต่อไป ระหว่างที่เข้าไปสำรวจ 1,013 ครัวเรือนยังมีครัวเรือนไหนตกเกณฑ์ต้องเข้าไปแก้ไขปัญหาทั้งรายเก่าและรายใหม่ ขณะนี้กำลังเชื่อมโยงข้อมูลจากจปฐ พม. ปหสาธารณสุขและการลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพื่อนำมาเป็นฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาโดยจะแยกเป็นมิติต่างๆให้ส่วนราชการและหน่วยงานต่างๆที่ทำงานตามฟังก์ชั่นได้เข้าไปช่วยเหลือต่อไป
นันท์นภัส วงศ์ใหญ่
ผู้อำนวยการศูนย์ข่าวภาคกลางหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ