ผ่านเวทีสาธารณะ หนุนเคารพในความต่างของบุคคล เปิดใจเรียนรู้การมีเพื่อนใหม่ เป็นรากฐานสร้างสังคมสันติสุข
เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2565 ที่ห้อง เดอะออดิโทเรียม โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทารา ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ : นายศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า กล่าวเปิดงานประชุมวิชาการเวทีสาธารณะ “สันติภาพเชิงสร้างสรรค สัมพันธภาพใหมที่ยั่งยืน” Sustainability in Inventive Peace and Brand-New Relationships จัดโดย นักศึกษาหลักสูตรการเสริมสร้างสังคมสันติสุข (สสสส.) รุ่นที่ 12
ด้าน ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ปาฐกฤาพิเศษหัวข้อ “สัมพันธภาพใหม่ของการพัฒนาคน เพื่อสันติภาพที่ยั่งยืน” กล่าวในประเด็นสำคัญว่า เราต้องให้คุณค่ากับเด็กเยาวชนรุ่นใหม่ เพราะเด็กรุ่นใหม่จะสร้างการเปลี่ยนแปลง รวมถึงการอยู่กับเพื่อนบ้าน เพราะมีการสอนให้เกลียดเพื่อนบ้าน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่เราควรสอนให้ให้พึ่งพิงอาศัยซึ่งกันและกัน
ในอดีตที่ผ่านมาการเปลี่ยนแปลงมาจากเด็กเยาวชนคนรุ่นใหม่ ปัจจุบันเราพยายามใช้กฎหมายจัดการฝ่ายตรงกันข้าม โดยผู้นำในอดีตมีความลึกซึ้ง แต่ผู้นำปัจจุบันต้องตัดสินใจรวดเร็ว อดีตจะมีการพูดความจริงในที่สาธารณะ แต่ปัจจุบันมีการใช้วาจาเท็จและการสื่อสารสร้างความเกลียดชัง จึงควรปฏิเสธความรุนแรงทุกรูปแบบ จึงไม่มีทางฆ่าคนที่ไม่เห็นด้วยเพราะฆ่าหนึ่งคน จะรวมพลังขึ้นมาเป็นสิบในอดีตเรียกร้องความเป็นธรรม ในสังคม แต่ปัจจุบันพบว่าอุดมการณ์ได้หายไป
อย่างมหาตมะคานธีย้ำว่า เราจะแก้ปัญหาความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรงไม่ได้เลย รวมถึงกระเเสชู 3 นิ้ว ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายมิติ
โดยคนรุ่นใหม่ จึงต้องเรียนรู้การอยู่ร่วมกันในโลกพหุวัฒนธรรม ไม่ปฏิเสธประวัติศาสตร์ จะต้องไปอ่านประวัติศาสตร์เพื่อนบ้าน เช่น เด็กเวียดนามหนีตายจากระเบิดที่มีฐานทัพในไทย ซึ่งอาเซียนมีความแตกต่างทางชาติพันธุ์ ภาษา ศาสนา การเมืองการปกครอง
คำถามผู้ใหญ่ต้องเข้าใจเด็กเยาวชนว่าคิดอะไร อย่างไร เด็กรุ่นใหม่สนใจการเมืองอย่างมาก Gen Z อยากเห็นพัฒนาคุณภาพการศึกษา ปฏิบัติมากกว่าทฤษฏี ลดความเหลื่อมล้ำ มีระบบความเป็นธรรม เท่าเทียมกัน ไม่ควรมีการบลูลี่ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง จึงย้ำว่าจงลดความเหลื่อมล้ำให้ได้ เด็กรุ่นใหม่คุยเรื่องการวางแผนการเงิน เด็กอยากคุยกับพ่อแม่เรื่องการเมือง สังคมมีความหลากหลาย จึงมีคำว่า “หนึ่งจุดหมายหลายหนทาง”
ด้านรศ.ดร.ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ นักศึกษา สสสส.12 กล่าวว่า สัมพันธภาพใหม่ก่อเกิดได้ในทุกวัน (Everyday Peace) โดยตัวเราไม่จำเป็นต้องรัก เราอาจไม่เข้าใจในวิถีปฏิบัติในแต่ละวัฒนธรรม แต่สิ่งสำคัญ เราควรเคารพในความแตกต่างของแต่ละบุคคล เปิดใจเรียนรู้จากการมีเพื่อนใหม่ จะเป็นรากฐานที่สำคัญของสังคมสันติสุข
ผู้สื่อข่าวรายงาน ภายในงานยังมีการบรรยายสรุปการ “สรรสร้าง ความหลากหลายด้วยสันติ” ซึ่งเป็นการสังเคราะห์งาน ที่ได้จาก
การจัดทำผลงานทางวิชาการของนักศึกษาหลักสูตร สสสส.12 โดย ผศ.น.ท.หญิง ดร.งามลมัย ผิวเหลือง ประธานคณะทำงานจัดประชุมวิชาการ พร้อมทั้งการเสวนาผลงานทางวิชาการของนักศึกษา ถึง “เสียงสะท้อนจากผู้คน งาน และ
การเดินทาง สู่ข้อเสนอเพื่อสันติภาพอย่างยั่งยืน” ผ่านผู้แทนจากกลุ่มการเมือง กลุ่มภาคใต้ กลุ่มสิ่งแวดล้อม และกลุ่มพหุวัฒนธรรม โดยมี นางสาวชนิตร์นันทน์ ปุณณะนิธิ เป็นผู้ดำเนินรายการ
นอกจากนี้ภายในงาน มีการจัดแสดงผลงานของกลุ่มนักศึกษาที่ได้ถอดบทเรียนจากงานวิชาการทั้ง 5 เรื่อง ซึ่งการเผยแพร่ผลงานวิชาการในรูปแบบเวทีสาธารณะ แล้วยังนำผลิตภัณฑ์กาแฟของชาวบ้านในชุมชนสบขุ่น จ.น่าน มาให้เลือกซื้อ และชิมรสชาติกาแฟสดจากต้นน้ำอีกด้วย
สุรเชษฐ ศิลานนท์ รายงาน