ในหลวง ร.๙ กับคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของ
ตามข้อมูลที่ปรากฏ ม.ล.อัศนี ปราโมช คือผู้ซื้อคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ซึ่งหากนับอายุโดยคร่าวของ Macintosh Plus ก็จะพบว่ามีอายุนับจากการเปิดตัวครั้งแรกในปี 1986 ถึง 30 ปีแล้ว ส่วนสาเหตุที่เลือก Macintosh Plus นั่นเป็นเพราะสามารถเก็บและพิมพ์โน้ตเพลงได้ง่ายดาย การเรียนรู้และใช้งานไม่ยาก แถมยังสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์พิเศษสำหรับเล่นดนตรีตามโน้ตเพลงที่เก็บไว้ได้ด้วย
Macintosh Plus ในยุคนั้นถูกมองว่าเป็นผู้พลิกวงการพิมพ์ และออกแบบ โดยราคาจำหน่ายที่สูงมากในขณะนั้น อยู่ที่ราวๆ 2,495 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 74,850 บาท ทำให้เครื่องไม่แพร่หลายในกลุ่มผู้ใช้ทั่วไป และจากการรวบรวมข้อมูลเราพบว่าพระองค์ทรงสร้างสรรค์งานต่างๆ มากมายผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนี้
1.ทรงคิดค้นสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลข้อมูลต่างๆ ด้วยพระองค์เอง
เช่น ทรงแก้โปรแกรมภาษาไทย CU WRITER ให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ ทรงประดิษฐ์รูปแบบตัวอักษรไทยที่มีลักษณะงดงามเพื่อแสดงผลบนจอภาพคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ เช่น แบบจิตรลดา แบบภูพิงค์ ฯลฯ ทรงศึกษาการใช้คอมพิวเตอร์แสดงตัว เทวนาครี หรือภาษา แขกบนจอภาพ โดยทรงเริ่มศึกษาเมื่อเดือนพฤษภาคม 2530
2.ทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อบันทึกพระราชกรณียกิจและบทพระราชนิพนธ์ต่างๆ
บทพระราชนิพนธ์ “พระมหาชนก” ก็ทรงใช้ในการคำนวณสภาพภูมิประเภทและภูมิอากาศอินเดียผ่านคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการประพันธ์คำร้องเพลงต่างๆ ก็ทรงพิมพ์ด้วยพระองค์เอง
3.ทรงติดตั้งเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนพระราชกรณียกิจต่างๆ ท ทรงประดิษฐ์ ส.ค.ส. ด้วยคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ ผ่านสื่อมวลชนเพื่ออวยพรปวงชนชาวไทย
ทรงประดิษฐ์ ส.ค.ส. ด้วยคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนเพื่ออวยพรพสกนิกรชาวไทยส.ค.ส. พระราชทานฉบับแรกส่งถึงคนไทยในปีพ.ศ. 2530 โดยในหลวง รัชกาลที่ ๙ ทรงปรุแถบเทเล็กซ์หรือโทรพิมพ์ ทำให้เห็นข้อความตามท้าย ส.ค.ส. ว่า “กส. 9 ปรุ” ซึ่งเป็นรหัสเรียกขานวิทยุแทนพระองค์เป็นผู้ปรุขึ้น ส่วนตัวเลขที่ตามหลังคือวันที่และเวลาที่ทรงสร้างในรูปแบบ วว ชช นน ดด ปปปป. ใน ส.ค.ส. พระราชทานฉบับแรกจึงหมายถึงเวลา 14.30 น. วันที่ 31 ธันวาคม 2529
4.ทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในงานส่วนพระองค์ทางด้านดนตรี โดยทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการป้อนโน้ตเพลงและเนื้อร้อง
5.ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ บริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 1,472,900 บาท ให้มหาวิทยาลัยมหิดล
จัดทำโครงการ พัฒนาระบบ คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาพระไตรปิฎกและอรรถกถา โดยได้ทรงศึกษา พระไตรปิฎก และอรรถกถา ฉบับคอมพิวเตอร์นี้ ด้วยพระองค์เอง และมีพระบรมราชวินิจฉัย และพระราชวิจารณ์ ในการออกแบบโปรแกรม สำหรับใช้ ในการสืบค้นข้อมูล ขณะนี้ได้พัฒนาแล้วเสร็จแล้วในชื่อ BUDSIR IV ซึ่งมีข้อมูลประมาณ 450 ล้านตัวอักษร ปัจจุบัน สำนักคอมพิวเตอร์ ได้เริ่มโครงการพัฒนาโปรแกรมพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์ ฉบับภาษาไทย เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ทั่วโลกได้ศึกษา อันจะเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้งานโปรแกรมนี้ให้แพร่หลายยิ่งขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเกิดจากฝีพระหัตถ์ที่ถ่ายทอดผ่านคอมพิวเตอร์