บทความในเว็บไซต์ EurAsian Times ได้วิเคราะห์ถึงเจตนารมณ์เชิงยุทธศาสตร์ทางการเมืองและทางการทหารที่อยู่เบื้องหลังการซ้อมรบทางทหารของจีน รวมทั้งยุทธวิธีที่กองทัพปลดปล่อยประชานจีน (PLA) จะใช้ในการเข้ายึดครองเกาะไต้หวัน กล่าวคือ
ในเชิงยุทธศาสตร์ทางการเมืองได้ตอบโต้การเยือนเกาะไต้หวันของนาง Nancy Pelosi ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ด้วยการยืนหยัดหลักการจีนเดียวและนโยบายจีนเดียว
ในเชิงยุทธศาสตร์ทางการทหาร การปฏิบัติการทางทหารร่วมของ PLA ได้บรรลุภารกิจในการปิดล้อมเกาะไต้หวันทั้งทางอากาศและน่านน้ำโดยรอบจากการซ้อมรบด้วยกระสุนจริงในพื้นที่ 6 แห่ง เพื่อตัดขาดการส่งกำลังบำรุงของกองกำลังบนเกาะจากภายนอกและจำกัดการปฏิบัติการของกองกำลังบนเกาะ รวมทั้งป้องกันการแทรกแซงจากกองกำลังภายนอก
ส่วนในทางยุทธวิธีนั้น เครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด H-6K ของ PLA จะเป็นกุญแจสำคัญในการโจมตีเกาะไต้หวัน ร่วมกับเครื่องบินขับไล่ประเภทต่างๆของ PLA โดยการยิงขีปนาวุธร่อนพิสัยไกลต่อเป้าหมายหลายจุด โดยได้รับการสนับสนุนจากเครื่องบินเตือนภัยล่วงหน้า เช่น KJ-500 และ KJ-2000 รวมทั้งการปฏิบัติการของเครื่องบินจู่โจมภาคพื้นดินโดยเฉพาะจาก JH-7a ที่มีความสำคัญในการทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มโจมตีที่แม่นยำ ตลอดจนการประสานงานในการปฏิบัติการทางเรือและการปฏิบัติการทางอากาศ ร่วมกับการระดมยิงด้วยขีปนาวุธโจมตีทางบก (LACM) ที่มีพิสัยต่ำสุดประมาณ 2,400 กม. ทำให้สามารถเข้าถึงเป้าหมายทั้งหมดในแนวห่วงโซ่เกาะแรก (First Island Chain) ซึ่งมีฐานทัพสหรัฐฯ ตั้งอยู่ รวมทั้งเป้าหมายทางยุทธวิธี เช่น ฐานทัพอากาศและศูนย์บัญชาการและควบคุม
ทั้งนี้ ความสำเร็จจากการปฏิบัติการทางทหารดังกล่าว ได้เป็นแรงผลักดันหลักของกองทัพเรือ PLA ในการปฏิบัติการยกพลขึ้นบกในขณะที่ทำการโจมตีทางอากาศ และการต่อต้านเรือ รวมทั้งลดการต่อต้านจากชายฝั่ง ด้วยการปฏิบัติการร่วมจากกำลังทางเรือและกำลังทางอากาศ
สรุปโดย พลโท ดร.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://eurasiantimes.com/h-6k-bombers-j-16-fighters-plan-to-cripple-taiwan-with-double-blow/?amp )
นำเสนอ/รายงาน
ว่าที่ พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์
ตำแหน่ง เลขาธิการ
สถาบันศึกษาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงการเส้นทางสายไหม
16/8/2022