นายซั่น จี้เสียง อดีตสมาชิกกลุ่มผู้นำของกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ให้แนวคิดอนุรักษ์โบราณสถานควบคู่กับการใช้ชีวิตประจำวัน
ข้อพิจารณาเพื่อนำไปประยุกต์ใช้จากแนวคิดของจีนในการอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุ มรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ ให้เป็นสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไป และกลายเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในชีวิตประจำวัน กล่าวคือ
นายซั่น จี้เสียง (单霁翔) อดีตสมาชิกกลุ่มผู้นำพรรคของกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว อดีตคณบดีพิพิธภัณฑ์วัง และปัจจุบันดำรงตำแหน่งอธิการบดีสถาบันกู้กง ได้เน้นย้ำถึงข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าต่อการอ้างอิงเชิงปฏิบัติสำหรับการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและการฟื้นฟูเมือง ซึ่งการอนุรักษ์ของจีนได้พัฒนาไปเป็นการอนุรักษ์พื้นที่อยู่อาศัยในชีวิตประจำวันของประชาชน ดังนั้น พระราชวัง วัด และสถานที่ทางประวัติศาสตร์ รวมไปถึงบ้านพักและโรงงานที่ทำงานของประชาชน เขตชุมนุมทางประวัติศาสตร์ หมู่บ้านที่มีประวัติสืบทอดกันมายาวนาน ตลอดจนหมู่บ้านชนเผ่าของประชาชน ก็กลายเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการอนุรักษ์ อาทิ โรงงานการผลิตรถยนต์ฉางชุนแห่งแรก และฐานฝึกวอลเลย์บอลหญิงจีน เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของประชาชน และเป็นความทรงจำทางวัฒนธรรมของประชาชน
นอกจากนี้ พิพิธภัณฑ์เป็นสถานที่สาธารณะที่สำคัญที่สุดสำหรับแนวคิดทางวัฒนธรรม ดังนั้น นิทรรศการวัตถุทางวัฒนธรรมจะต้องทำให้มีชีวิตชีวา และวิธีการแสดงนั้นต้องสะดวกสำหรับผู้ที่จะชื่นชม โดยควรแสดงถึงความเชื่อมั่นทางวัฒนธรรม และเสน่ห์ทางวัฒนธรรมของตนเอง ซึ่งนายซั่น จี้เสียง ที่ปัจจุบันยังดำรงตำแหน่งอธิการบดีสถาบันกู้กง และเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีภูมิหลังทางสถาปัตยกรรมจากการวางผังเมืองระยะยาว จากการทำงานในสำนักมรดกวัฒนธรรมปักกิ่งและสำนักมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติมาเป็นเวลา ๑๓ ปี ได้เห็นว่า ต้องมีการรวมวิชาเอกทางสถาปัตยกรรม การวางผังเมืองและมรดกทางวัฒนธรรม มาพิจารณาร่วมกับการรวมการอนุรักษ์และพิพิธภัณฑ์ในหกระดับ ได้แก่ (๑) ประเทศ (๒) เมือง (๓) ภูมิภาค (๔) สถาปัตยกรรม (๕) การออกแบบตกแต่งภายใน และ (๖) วัฒนธรรมและศิลปะ เป็นต้น
ปัจจุบัน การสร้างพิพิธภัณฑ์ภายในประเทศของจีนหลายแห่งกำลังดำเนินการตามวัฒนธรรมภูมิภาค โดยต้องการให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนมากขึ้นผ่านการนำเสนอทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งการแสดงเทคโนโลยีดิจิทัล และการแสดงมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ฯลฯ ซึ่งจากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่ดำเนินการโดยวัตถุโบราณทางวัฒนธรรม ทำให้ผู้คนได้เห็นร่องรอยแห่งปี ด้วยการรักษาภูเขาสีเขียวและน่านน้ำสีเขียว อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของการจัดนิทรรศการรวมถึงพิพิธภัณฑ์ทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
ประมวลโดย พลโท ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://dhh.dahe.cn/con/210947 และเว็บไซต์ https://www.sohu.com/a/409690974_123753 รวมทั้งเว็บไซต์ http://news.xmnn.cn/xmnn/2020/07/26/100757703.shtml )
นำเสนอ/รายงาน
ว่าที่ พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์
ตำแหน่ง เลขาธิการ
สถาบันศึกษาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงการเส้นทางสายไหม
8/8/2022