หนี้นอกระบบยังคงเป็นปัญหาระดับชาติ ปัจจุบันมิจฉาชีพได้พัฒนารูปแบบออกไปหลากหลาย ทั้งการปล่อยกู้ออนไลน์ ผ่าน Application รวมไปถึง แก็งค์ Call Center ที่หลอกคนโอนเงิน ซึ่งปัญหานี้ทำให้มีผู้เสียหาย หรือผู้ที่ติดหนี้นอกระบบจากขบวนการนี้นับแสนรายทั่วประเทศ”
นายนันท์นภัส วงศ์ใหญ่ ผู้อำนวยการศูนย์ข่าวภาคกลางหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ ในฐานะ ประธานชมรมผู้สื่อข่าวออนไลน์ เปิดเผยว่า
ในปัจจุบัน หนี้นอกระบบยังคงเป็นปัญหาระดับชาติ ปัจจุบันมิจฉาชีพได้พัฒนารูปแบบออกไปหลากหลาย ทั้งการปล่อยกู้ออนไลน์ ผ่าน Application รวมไปถึง แก็งค์ Call Center ที่หลอกคนโอนเงิน ซึ่งปัญหานี้ทำให้มีผู้เสียหาย หรือผู้ที่ติดหนี้นอกระบบจากขบวนการนี้นับแสนรายทั่วประเทศ”
ปัจจุบันมีแอปพลิเคชันที่ปล่อยเงินกู้ออนไลน์จำนวนมากมาย ซึ่งบ่อยครั้งมิจฉาชีพก็ใช้แอพเงินกู้เหล่านี้ มาหลอกลวงเรา โดยมักใช้คำโฆษณาที่ชักจูง เช่น อนุมัติไวใน 10-15 นาที ติดแบล็คลิสต์ ก็สามารถกู้ได้ ผ่อนจ่ายได้รายเดือน วงเงินสูง เป็นต้น
มีวิธีที่สังเกตแอพเงินกู้ออนไลน์ที่หลอกลวง แบบง่ายๆ ดังนี้
สร้างแอปพลิเคชั่นสำหรับเปิดกู้เงินที่ดูน่าเชื่อถือ
เรียกเก็บเงินเพื่อเป็นค่าค้ำประกัน หรือค่ามัดจำ
ดอกเบี้ยมีอัตราสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด ระยะเวลาชำระไม่เกิน 1 สัปดาห์
ใช้คำพูดไม่สุภาพ ด่า ข่มขู่ หากไม่ทำตามเงื่อนไข
ได้รับเงินกู้ไม่เต็มจำนวน โดยอ้างว่าหักค่าบริการ ค่าธรรมเนียม โดยหักมากกว่า 40%
ปล่อยวงเงินกู้สูงกว่าที่ขอ เพื่อเรียกเก็บคืนเงินต้นรวมดอกเบี้ยที่สูง
ส่งข้อความไปข่มขู่ กับบุคคลในรายชื่อผู้ติดต่อในโทรศัพท์ หรือโพสต์ประจานผู้กู้ผ่าน Facebook เพื่อให้รีบนำเงินมาชำระ
โดยหากท่านต้องการกู้เงินควรเลือกผู้ให้บริการด้านสินเชื่อที่ถูกกฎหมาย ภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ที่ เว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย
ปัจจุบันได้มีโฆษณาทางออนไลน์เป็นจำนวนมาก
เข้าถึงทุกมุมเมืองทั่วไทยคนที่มีมือถือมันแอบแฝงแทรกซึมเข้าไปอยู่ในมือถือท่านเกือบทุกที่เพราะท่านเปิดมือถือมาท่านก็เจอ
แอปพลิเคชัน เงินกู้แล้ว
นันท์นภัส กล่าวต่อว่า หลังจากมิจชีพได้ข้อมูลในโทรศัพท์ไปแล้ว ก็นำไปเป็นหลักประกันในการที่จะให้ลูกหนี้ชำระหนี้ หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามที่กำหนด ก็จะโทรไปประจาน หรือโทรไปทวงหนี้จากคนรอบข้าง ยิ่งพอแอปสามารถเข้าถึงรายชื่อในเบอร์โทรศัพท์ได้ ก็ยิ่งเกิดปัญหาตามมาอีก ทำให้คนร้ายได้ฐานข้อมูลหรือเบอร์โทรศัพท์เพิ่มจากเหยื่อ บางแอปฯที่ถูกจับกุมพบว่ามีลูกหนี้ถึง 5 หมื่นคน และบางคนมีรายชื่อในโทรศัพท์ 100 เบอร์ ก็เท่ากับคนร้ายจะได้ข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ไปแล้วถึง 5 ล้านเบอร์
ควรป้องกันและตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งกู้เงินอย่างไร?
เมื่อเห็นผลเสียที่ตามมา ทั้งกับตัวเองและคนรอบข้างขนาดนี้แล้ว ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มิจฉาชีพเข้าถึงตัวได้ นอกจากจะต้องตั้งสติและไม่คลิกลิงก์ของข้อมูลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเงินแบบสุ่มสี่สุ่มห้าแล้ว ศรีสวัสดิ์อยากขอให้ทุกคนได้ลองตรวจสอบข้อมูลของแหล่งเงินกู้อื่น ๆ เพิ่มเติม โดยอ้างอิงจากทางตำรวจกองปราบปราม และ เพจ Anti หมวกกันน็อค Online โดยทุกคนจะต้องสังเกตถึงรายละเอียดดังต่อไปนี้
หากได้รับ SMS จากเบอร์แปลก หรือบุคคลที่ไม่คุ้นชื่อมาก่อน อย่าคลิกลิงก์ หรือคลิกข้อมูลใด ๆ ที่มาพร้อมกับ SMS เด็ดขาด เพราะมีผู้เสียหายบางรายตกเป็นเหยื่อและโดนล้วงข้อมูลไปทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้ดำเนินการขอกู้เงินเลย แต่ถ้าหากเป็น SMS จากสถาบันการเงิน หรือบริษัทกู้ที่เป็นกิจจะลักษณะ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูล และรายละเอียดได้ทันที และหากต้องการใช้บริการก็ควรไปดำเนินการที่สาขาเท่านั้น
เข้าเว็บไซต์ junkcall หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน whoscall และตั้งให้แจ้งเตือนไว้ โดยแอปพลิเคชันนี้จะทำการแจ้งว่าเบอร์แปลกที่โทรเข้ามานั้นเป็นเบอร์ของใคร มีการรายงานไว้หรือไม่ ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้ถูกมิจฉาชีพหลอกทางโทรศัพท์ได้ เพราะในบางกรณีมิจฉาชีพอาจทำการล้วงข้อมูลจากการรับโทรศัพท์ก็เป็นได้
หากเป็นแอปพลิเคชัน ต้องตรวจสอบให้ดีว่าภายในแอปฯ นั้นมีค่าธรรมเนียมดำเนินเอกสาร หรืออากรแสตมป์เพิ่มหรือไม่ อีกทั้งยังต้องดูให้ดีว่ามีอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่
โดยส่วนใหญ่แล้ว แอปฯ กู้เงินมักจะขอเอกสารการเดินบัญชี Statement จากธนาคารที่มีชื่อ – สกุล และเลขบัญชี และสำเนาบัตรประชาชนที่ลงชื่อด้วยลายเซ็นเท่านั้น หากขอเอกสารอื่น ๆ เพิ่มเติม ต้องถามเจ้าหน้าที่ให้เคลียร์ว่าจะเอาไปทำอะไร และเช็กให้ดีว่า แต่ละขั้นตอนต้องใช้เอกสารใดบ้างเพื่อป้องกันการล้วงข้อมูล และการปลอมเอกสาร
หากเป็นการกู้เงินในไลน์ อย่าลืมเช็กเครื่องหมาย Line Official ให้ดี ซึ่งเครื่องหมายที่ถูกต้องจะเป็นโล่เขียวและโล่สีน้ำเงินบนพื้นหลังขาวเท่านั้น และอย่าหลงเชื่อจำนวนผู้ติดตามที่ขึ้นมาตอนแอดไลน์ เพราะข้อมูลเรื่องตัวเลขนี้สามารถทำขึ้นมาได้
แต่สำหรับใครที่ตกเป็นเหยื่อของแอปฯ หรือช่องทางกู้เงินเถื่อนต่าง ๆ เหล่านี้แล้ว สิ่งแรกที่ควรทำ คือ ตั้งสติ และรวบรวมหลักฐานเพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องถิ่น หรือติดต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โทร. 1599 เพื่อดำเนินการทางกฎหมายต่อไป จากนั้นเมื่อปัญหาคลี่คลายแล้วก็อย่าวนเวียนกลับเข้าไปในการกู้เงินนอกระบบอีกเด็ดขาด เพราะนั่นเท่ากับว่าเรากำลังจะสร้างหนี้ที่อาจทำให้ปวดหัวตามมาแบบไม่รู้จักจบอีกก็เป็นได้
www.1359.go.th
https://www.bot.or.th/
เมื่อรู้แบบนี้แล้ว อย่าลืมตรวจสอบข้อมูลให้ดีทุกครั้งก่อนตัดสินใจกู้เงิน เพราะ หากไม่ระวังให้ดี เผลอคลิกข้อมูลใด ๆ โดยไม่ได้ตรวจสอบให้ดี ไม่แน่ว่าอาจจะตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้โดยไม่รู้ตัว ซึ่งถ้าหากใครกำลังมีปัญหาทางการเงิน และกำลังมองหาทางออกที่ถูกต้องตามกฎหมาย อีกทั้งยังปลอดภัยต่อทรัพย์สิน ชีวิตตนเอง
ปัจจุบันตำรวจได้นิยามความหมายหนี้นอกระบบออกเป็น 7 ประเภทด้วยกัน คือ
แก๊งหมวกกันน็อค คือกลุ่มบุคคลที่ปล่อยเงินกู้โดยใช้วิธีแจกใบปลิวนามบัตร หรือติดอยู่ตามเสาไฟฟ้า จะเก็บเงินลูกหนี้ประจำทุกวันโดยอาจใช้รถยนต์หรือ รถ.จยย เป็นยานพาหนะ ลูกหนี้ส่วนใหญ่จะเป็นพ่อค้า แม่ค้าตามแผงในตลาด หรือร้านอาหารตามสั่ง แหล่งชุมชนหรือย่านเศรษฐกิจที่เข้าถึงได้ง่าย
ดอกเบี้ยเกินอัตรา จะพบว่า เจ้าหนี้กับลูกหนี้โดยส่วนใหญ่รู้จักกัน ตกลงกู้ยืมแต่ดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด โดยกำหนดห้วงเวลาชำระหนี้ เช่น ผ่อนจ่ายเป็นรายเดือน จะไม่มีลักษณะเก็บเป็นรายวัน
กู้ออนไลน์ ผ่านสื่อโซเชียลมีเดียทุกประเทภ เช่น เฟซบุ๊ค,ไลน์,แอปพลิเคชั่นปล่อยเงินกู้,เว็ปไซต์
จำนำรถ คือ การกู้ยืมที่ลูกหนี้ต้องนำรถยนต์ รถจยย. ไปจอดไว้กับเจ้าหนี้ เพื่อไว้เป็นหลักประกัน
ขายฝากที่ดิน ส่วนใหญ่การขายฝากตามกฎหมายแต่สัญญาไม่เป็นธรรม
จำนองที่ดิน คือ เป็นการจำนองตามกฏหมายแต่สัญญาไม่เป็นธรรม
วางหลักประกัน โดยลูกหนี้นำเล่มทะเบียนรถยนต์ รถจยย. หรือ โฉนดที่ดินไปวางค้ำประกันไว้กับเจ้าหน้าที่ แต่ไม่ได้ทำธุรกรรมทางทะเบียนตามที่กฎหมายกำหนด
นันท์นภัส เป็นห่วงประชาชนทุกท่าน เวลาโหลดควรคิดก่อนโหลดนะครับอย่าตกเป็นเหยื่อของแก๊งมิจฉาชีพฉะนั้นท่านจะทุกข์หนักเตือนภัยเอาไว้ก่อนความเป็นห่วงใยนะครับ
ท่านสงสัยอะไรติดต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทุกพื้นที่ทั่วไทยนะครับเพื่อป้องกันทรัพย์สินของท่านท่านทางปลอดภัยครับ
ศูนย์ข่าวภาคกลางหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ
สำนักข่าว ข่าวสืบสวน