วันที่ 15 มิถุนายน 2565 : สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย นางอัจฉรา เจริญสุข ผู้อำนวยการสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) โดย พลตำรวจเอก ปิยะ อุทาโย รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รับมอบอำนาจจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการพัฒนาระบบมาตรวิทยาเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ณ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ เทคโนธานี คลองห้า จังหวัดปทุมธานี เพื่อเสริมศักยภาพการปฏิบัติงานของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ โดยการนำระบบมาตรวิทยา ที่อาศัยศาสตร์ของการวัดที่ถูกต้อง แม่นยํา และเที่ยงตรง ไปช่วยสนับสนุนให้เครื่องมือวัด รวมถึงระบบการวัดต่างๆ ของหน่วยงานในสังกัดสํานักงานตํารวจแห่งชาติ มีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล อันจะส่งผลให้บุคลากรของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เกิดความเชื่อมั่นในการบังคับใช้กฎหมาย และการอำนวยความยุติธรรม
ซึ่งภายในงานดังกล่าว (มว.) ได้จัดให้มีนิทรรศการแสดงและสาธิตการใช้เครื่องมือวัดควันดำระบบความทึบแสง การใช้เครื่องวัดระดับเสียงจากยานพาหนะ การใช้เครื่องเป่าแอลกอฮอล์ รวมถึงได้จัดให้มีกิจกรรมเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการสอบเทียบเครื่องตรวจจับความเร็วชนิดแสงเลเซอร์ (Lidar Speed Meter) ห้องปฏิบัติการตรวจวัด DNA และตรวจหาปริมาณธาตุในเขม่าดินปืน
โดยมุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนความรู้ และให้คำปรึกษาแนะนำการด้านวัดในปริมาณที่เกี่ยวข้องต่างๆ อันจะส่งผลให้กระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ
สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) ซึ่งมีหน้าที่และบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบมาตรวิทยาของชาติให้สอดคล้องกับระบบมาตรวิทยาสากล ถ่ายทอดความถูกต้องของการวัดไปสู่ผู้ใช้งาน และส่งเสริมผู้ประกอบอาชีพด้านมาตรวิทยา และความสามารถของห้องปฏิบัติการ รวมถึงการสร้างความตระหนักให้สังคมมีความเข้าใจในด้านมาตรวิทยา
จึงมีความตระหนักในส่งเสริมและสนับสนุนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการใช้เครื่องมือวัดให้มีความถูกต้องตามมาตรฐานสากลและสามารถสอบย้อนกลับได้ทางการวัดมายังมาตราฐานการวัดแห่งชาติและสู่หน่วยวัดสากลเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ อันจะส่งผลดีต่อผู้ที่ใช้งานกิจกรรมการวัดในสาขาต่างๆ ของความร่วมมือในครั้งนี้ ก่อให้เกิดประโยนช์ต่อการสนับสนุนการปฏิบัติงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อสร้าความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของไทยมีมาตรฐานสากลที่ประชาชนได้ความเป็นธรมอย่างเท่าเทียมกัน โดยใช้องค์ความรู้ด้านมาตรวิทยามาบูรณาการทำงานร่วมกัน เป็นการสร้างหลักประกันถึงความถูกต้อง เชื่อถือได้ของเครื่องมือวัดตลอดจนที่นำมาใช้งาน ตลอดระยะเวลากว่า 6 ปีที่ผ่านมา (มว.) และ (ตร.) ได้ร่วมกันดำเนินกิจกรรมสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการบังคับใช้กฎหมายและการอำนวยความยุติธรรมในหลายโครงการและหลากหลายรูปแบบ อาทิ
“โครงการตรวจสอบ ตรวจจับและห้ามใช้รถยนต์ควันดำ-เสียงดัง” ที่ (มว.) และ (ตร.) ได้บูรณาการงานร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ ในการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้งานเครื่องมือวัดควันดำ (Opacimeter) และเครื่องมือวัดระดับเสียง (Sound Level Meter) แก่ตำรวจจราจรและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โดย (มว.) ได้สอบเทียบแผ่นกรองแสงมาตรฐานสำหรับเครื่องวัดควันดำระบบความทึบแสง และสอบเครื่องวัดระดับเสียงให้กับ (ตร.) อีกด้วย
โครงการเพิ่มศักยภาพการบังคับใช้กฎหมาย “เมาแล้วขับ” ด้วยระบบมาตรวิทยา โดย (มว.) ได้ส่งมอบวัสดุอ้างอิงก๊าซมาตรฐาน (Certified Gas Reference Materials: Ethanol in Air) สำหรับใช้ทวนสอบเครื่องเป่าแอลกอฮอล์ และจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “วิธีการทวนสอบและการใช้งานเครื่องเป่าแอลกอฮอล์” ให้แก่บุคลากรของ (ตร.) อีกด้วย
ในส่วนของด้านงานพิสูจน์หลักฐาน เมื่อปี พ.ศ.2560 (มว.) และสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ ได้ร่วมกันลงนามในบันทึกความเข้าใจความร่วมมือด้านมาตรวิทยา วิธีการวัดที่ถูกต้อง เที่ยงตรงในงานพิสูจน์หลักฐานของประเทศไทย เพื่อสร้างความมั่นใจในผลการวัดด้านงานพิสูจน์หลักฐาน
ในส่วนของการสนับสนุนด้านตรวจวัดอัตราความเร็วของยานพาหนะในทางเดินรถประเภทต่างๆ นั้น (มว.) ได้ดำเนินการสร้างอาคารห้องปฏิบัติการสำหรับรองรับระบบสอบเทียบเครื่องตรวจจับความเร็วเป็นการเฉพาะ ซึ่งได้เปิดให้บริการเป็นที่เรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปลายปี 2564 ที่ผ่านมา
สุรเชษฐ ศิลานนท์ รายงาน