ไทย-จีน การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมอาหาร ที่คล้ายกัน
การผลักดันกิจกรรมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างไทย-จีน ผ่านการจัดกิจกรรมอาหาร ซึ่งคนจีนในมณฑลซื่อชวน (เสฉวน) คุ้นเคยกับอาหารไทยอย่างมาก เนื่องจากนิยมรับประทานอาหารที่มีรสชาติเผ็ดเช่นเดียวกับคนไทย โดยปัจจุบันมีร้านอาหารไทยในนครเฉิงตูซึ่งเป็นเมืองเอกของเสฉวนมากกว่า ๑๒๐ ร้าน
ดังนั้น การนำต้มยำกุ้งซึ่งเป็นอาหารรสชาติเผ็ดร้อนของไทยมาประชันความอร่อยกับหม่าล่าซึ่งเป็นหม้อไฟของเสฉวน จึงเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจยิ่ง ดังที่เคยจัดขึ้นมาแล้วเมื่อวันที่ ๑๕ พ.ค.๖๒ ในเทศกาล Chengdu Panda Asian Food Festival ที่นครเฉิงตู อันจะเป็นการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างไทย-จีนทั้งทางด้านการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจระหว่างกันได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมอาหารดังกล่าวสอดคล้องกับข้อเสนอของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ในการเสวนาอารยธรรมเอเชีย เรื่อง “การแลกเปลี่ยนและการเป็นแบบอย่างซึ่งกันและกันของอารยธรรมเอเชีย และประชาคมที่มีอนาคตร่วมกัน” เมื่อวันที่ ๑๕ พ.ค.๖๒ ที่กรุงปักกิ่ง โดยเน้นว่า การพัฒนาที่ยั่งยืนของอารยธรรมต้องสอดคล้องกับสถานการณ์และยุคสมัย ควรบุกเบิกตั้งแต่ต้นน้ำแห่งการพัฒนาทางอารยธรรม สร้างผลสำเร็จทางอารยธรรมที่ข้ามสถานที่ กาลเวลา และมีเสน่ห์ที่ยั่งยืน นอกจากนี้ วิธีการส่งเสริมความมีชีวิตชีวาด้านนวัตกรรมก็คือ เข้าถึงอารยธรรมที่ต่างกัน มองเห็นความดีของผู้อื่น บุกเบิกแนวคิดของตน โดยจีนยินดีที่จะร่วมมือกับประเทศต่างๆ ในเอเชียเพื่อดำเนินโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจเอเชีย เพิ่มมิตรภาพระหว่างประชาชนให้มากยิ่งขึ้น
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.xinhuanet.com/politics/leaders/2019-05/15/c_1124499008.htm และเว็บไซต์ http://m.news.cctv.com/2019/05/10/ARTIITzbEwJV9dInzCnpO4dp190510.shtml )
นำเสนอ/รายงาน
ว่าที่ พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์
ตำแหน่ง เลขาธิการ
สถาบันศึกษาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงการเส้นทางสายไหม
29/5/2022