ไทย-จีน เป็นหุ้นส่วน”เส้นทางสายไหม”วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม
การขยายผลเกี่ยวกับความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมระหว่างไทย-จีน ซึ่งเป็นก้าวสำคัญอีกก้าวหนึ่งในการยืนยันความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้านระหว่างไทยกับจีน ดังความในข้อที่ ๑๗ – ๑๘ ของแถลงการณ์ร่วมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (中华人民共和国政府和泰王国政府联合新闻声明) ในระหว่างการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของนายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน เมื่อวันที่ ๕ พ.ย.๖๒ กล่าวคือ
ความในข้อ ๑๗ ของแถลงการณ์ร่วมฯ ดังกล่าว ระบุว่า ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องว่า ความร่วมมือด้านนวัตกรรมเป็นสาขาที่โดดเด่นภายใต้กรอบข้อริเริ่ม “สายแถบและเส้นทาง” (Belt and Road Initiative : BRI) ทั้งสองฝ่ายจะพิจารณาโครงการ เช่น ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร การเปิดศูนย์นวัตกรรม นิคมอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง และศูนย์การถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในด้านต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจดิจิทัล เมืองอัจฉริยะ การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศแบบหลอมรวม ซอฟต์แวร์และบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ความเชื่อมโยงของโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของอุตสาหกรรม ความมั่นคงทางไซเบอร์ การประมวลผลบนระบบคลาวด์ (cloud computing) และปัญญาประดิษฐ์ นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายมุ่งหวังที่จะสร้างเส้นทางสายไหมดิจิทัลร่วมกัน
ความในข้อ ๑๘ ของแถลงการณ์ร่วมฯ ดังกล่าว ระบุว่า ทั้งสองฝ่ายจะยังคงร่วมกันส่งเสริมความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่อไป เพื่อสังคม และเศรษฐกิจที่รุ่งเรืองและการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านการวิจัยและพัฒนาร่วมกัน การแลกเปลี่ยนนักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัย และการถ่ายทอดเทคโนโลยีในสาขาที่มีความสนใจร่วมกัน ทั้งสองฝ่ายยังได้เห็นพ้องที่จะพิจารณาความเป็นไปได้ในการร่วมมือกันในด้านเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว และเทคโนโลยีแนวหน้า
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.gov.cn/xinwen/2019-11/07/content_5449617.htm )
นำเสนอ/รายงาน
ว่าที่ พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์
ตำแหน่ง เลขาธิการ
สถาบันศึกษาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงการเส้นทางสายไหม
23/5/2022