วันที่ 20 พฤษภาคม 2565 : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เยี่ยมชมสวนเกษตรผู้ร่วมในโครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาเกษตรกรไทยสู่ smart farmer (กรณีศึกษาการพัฒนาเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนเพื่อการส่งออก)” โดย รศ.ดร.วรภัทร วชิรยากรณ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้บริหารจัดการโครงการวิจัย และ นายวัชชิระ สิทธิสาร ตัวอย่าง เกษตรกร Young Smart Farmer ณ สวนพุทธรักษา จังหวัดจันทบุรี
ทุเรียนเกรดพรีเมี่ยมตำนานแห่งลุ่มน้ำจันทบูร
อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ดินแดนอันชุ่มฉ่ำ
ไปด้วยพืชพรรณที่อุดมสมบูรณ์
นายวัชชิระ สิทธิสาร ตัวอย่าง เกษตรกร Young Smart Farmer เจ้าของสวนพุทธรักษา เปิดเผยว่า จากการนำเทคโนโลยีในโครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาเกษตรกรไทยสู่ smart farmer” ที่ วช.ให้การสนับสนุนได้นำหลักทางวิชาการจากทีมนักวิจัยจาก มธ.มาผสมผสานประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มคุณภาพของผลผลิตทุเรียนให้ทุเรียนมีคุณภาพสูง ด้วยระบบ GIS-smart farming-iOT นวัตกรรมการจัดการโรครากเน่าโคนเน่า ทดสอบโรคหลังการเก็บเกี่ยว ทำให้ทุเรียนที่สวนมีเนื้อกรอบนอกนุ่มใน ไม่เละ เนื้อละเอียดและแห้ง ไม่แฉะ มีสีเหลืองอ่อน เมล็ดเล็กและลีบ มีรสชาติอร่อย หวานมันกำลังดี ไม่หวานแหลมจนเกินไป และไม่มีกลิ่นฉุนได้รับมาตรฐาน GAP เป็นที่ต้องการของตลาดเกิดความภาคภูมิใจในอาชีพเกษตรกร ด้วยความรัก ความศรัทธา ในอาชีพจึงเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการต่อยอดการพัฒนาโดยเฉพาะสวนทุเรียนในจังหวัดจันทบุรี เพื่อให้คนไทยได้บริโภคทุเรียนที่มีคุณภาพจากฝีมือของคนไทยส่งตรงจากสวน
สุรเชษฐ ศิลานนท์ รายงาน