วันนี้ 18 พ.ค.2565 บรรยากาศหน้าโรงเรียนบ้านเกาะอาดังบนเกาะหลีเป๊ะตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมือง จังหวัดสตูล บรรยากาศยามหัวรุ่งต่างมีนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติและกลุ่มชาวเลอูรักลาโว้ยมาร่วมกันรำรอบเรือที่ได้สร้างจากไม้และเป็นการรำลึกขอขมาและบูชาซึ่งในวันนี้จะมีการนำเรือล่องลอยสู่การท้องทะเลชาวเลรักลาโว้ยเชื่อกันว่าเป็นการปัดเป่าไล่สิ่งไม่ดีสะเดาะเคราะห์ออกจากตัวตนและบนเกาะแห่งนี้ออกไป
ซึ่งจากเมื่อวานนี้ ซาวเลอูรักลาโว้ย ออกไปล่องเรือไปหาไม้ระกำ ตามเกาะแก่ง และได้มีการแห่ไม้ระกำที่หาได้ล่องเรือกลับมายังเกาะหลีเป๊ะ และ มาวางหน้าโรงเรียนโดยมีโต๊ะหมอทำพิธีเริ่มสร้างเรือไม้ระกำหรือปราฮูปาจั๊กส่วนทาง ผู้ชายโดยเฉพาะผู้ที่ชำนาญการทำเรือของหมู่บ้านจะรวมกลุ่มเล็กๆสร้างเรือกระดูกงูและกงเรือทำด้วยไม้ตีนเป็ดส่วนประกอบอื่นๆเช่นพื้นเรือกาบเรือและลวดลายตกแต่งด้วยการทำไม้ระกำทั้งลำ การต่อเรือเป็นจะใช้ตะปูตอกลง แต่การต่อลวดลายจะใช้ไม้ไผ่เหลาเป็นแท่งเล็กๆเสียบชิ้นประดับกับลำเรือให้สวยงาม เมื่อโครงสร้างเรือเสร็จเป็นรูปร่าง ทางผู้หญิงและผู้ชายพาลูกหลานมาช่วยกันตกแต่งชิ้นเรือให้เป็นลวดลายต่างๆคือลายบางู และลายฟันปลา ลายฟันเลื่อน ส่วนเรือจะมีห้อง จำลำลอง 3 ห้อง มีห้องคนขับห้องโดยสารและห้องเสบียงอาหาร เมื่อพิธีเสร็จสิ้นในตอนเช้าชาวบ้านจะร่วมกันแห่และการละเล่นเพลงรองเง็งนำเรือไปไว้บนชายหาดหันหน้าออกไปทางทะเลตอนหัวค่ำโต๊ะหมอ จะเริ่มพิธีเชิญเจ้าเกาะเพื่อนำสิ่งชั่วร้ายมาลงเรือด้วยการสวดมนต์เป็นภาษาอาหรับหรือภาษามาลายู มีการโรยกำยานเผาเป็นระยะระยะ ในตอนกลางคืนมีการแสดงรํามะนาใกล้ๆกับตั้งเรือจะมีการร้องเพลงไปจนกระทั่งเช้าของอีกวันที่จะทำพิธีลอยเรือ ซึ่งคืนก่อนลอยเรือ ชาวบ้านจะนำขนมหวานอาหารแห้งและนำน้ำซึ่งเป็นของจำเป็นในยามเดินทางมาไว้บนเรือลำนี้ เพื่อนำมาบูชาบรรพบุรุษและญาติที่ล่วงลับไปแล้ว ส่วนพี่น้องชาวเลอูรักลาโว้ย ตามความเชื่อจะตัดเล็บตัดผมใส่ลงไปด้วย เพื่อจะได้นำสิ่งโชคร้ายออกไปกับตัวเอง ไปไว้บนเรือชาวเลจะจุดเทียนแล้วปักลงบนเรือและใช้ข้าวตอกรูปไปตามร่างกายและศีรษะก่อนที่จะโยนลงไปในเรือด้วยเพื่อนำพาโชคร้ายออกไปจากตัวในตอนเช้ามืดของวันนี้เพราะหมอจะทำพิธีลอยเรือและสวดมนต์ จนกระทั้งผู้ชายกลุ่มหนึ่งจะแบกเรือพิธีไปใส่เรือหางยาวและขับออกจากฝั่งไปราว 1 กิโลเมตรเพื่อจะนำเรือไปปล่อยในจุดที่ลอยออกไปให้พ้นเกาะชาวบ้านจะมองดูเรือที่ทำขึ้นมาจากไม้ระกำ ดูเป็นครั้งสุดท้าย และจะไม่หันหลังกลับไปมองอีก เจอเรือที่ปล่อยลอยไกลออกไปและมีเรียกว่าพิธีลอยเรือ
นิตยา แสงมณี // ผู้สื่อข่าวภูมิภาคประจำจังหวัดสตูล