ไทย-จีน เชื่อมการค้าทางบก-ทะเล
ข้อพิจารณาเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือระหว่างไทยกับจีนในกรอบระเบียงการค้าเชื่อมทางบกและทางทะเลระหว่างประเทศสายใหม่ (New International Land-Sea Trade Corridor: ILSTC) โดยเฉพาะในสาขาที่มีความสนใจร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมโยงและการพัฒนาของภูมิภาค อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเดินทางเยือนประเทศไทยของ นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน เมื่อวันที่ ๕ พ.ย.๖๒ โดยเน้นถึงความร่วมมือเชิงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ระหว่างไทย-จีน อย่างรอบด้าน กล่าวคือ
ทั้งไทยและจีนได้เห็นพ้องกันที่จะเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกรอบความร่วมมือเขตอ่าวกวางตุ้ง – ฮ่องกง – มาเก๊า (Guangdong-Hong Kong-Macao Greater Bay Area: GBA) กับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ของไทย โดยการพิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกลไกความร่วมมือที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมความเชื่อมต่อระหว่าง EEC กับ GBA ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนความเชื่อมโยงระหว่าง GBA กับ EEC และภูมิภาคในภาพรวมสู่ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม
โดยทั้งสองฝ่ายจะขยายความร่วมมือทางอุตสาหกรรมด้านกำลังการผลิตต่อไป และสร้างเสริมการทำงานร่วมกันเพื่อผลสัมฤทธิ์ด้านการวางแผนและนโยบายทางอุตสาหกรรม โดยใช้รูปแบบที่ดำเนินการมาแล้วเป็นพื้นฐาน เช่น นิคมอุตสาหกรรมไทย – จีน ที่จังหวัดระยอง โดยใช้ประโยชน์จากที่ตั้งเชิงยุทธศาสตร์ของไทยในการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์กับประเทศลุ่มน้ำโขงเพื่อพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความได้เปรียบ เช่น ยานยนต์สมัยใหม่ อุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ยานยนต์พลังงานใหม่ ยานยนต์ประหยัดพลังงาน และยาง ฝ่ายไทยยินดีสนับสนุนให้บริษัทเอกชนจีนขยายการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะพัฒนาความร่วมมือสามฝ่ายใน EEC และเห็นว่าแนวคิดความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นต้นแบบสำหรับความร่วมมือในพื้นที่อื่นๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคและนอกภูมิภาค
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://www.fmprc.gov.cn/zyxw/201911/t20191105_347430.shtml และเว็บไซต์ http://www.scio.gov.cn/31773/35507/htws35512/Document/1667788/1667788.htm )
นำเสนอ/รายงาน
ว่าที่ พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์
ตำแหน่ง เลขาธิการ
สถาบันศึกษาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงการเส้นทางสายไหม
11/5/2022