ไทยได้ประโยชน์”แผนแม่บทเส้นทางการขนส่งเชื่อมทางบกกับทางทะเลสายใหม่แห่งภาคตะวันตก” (“西部陆海新通道总体规划”)
ข้อพิจารณาที่จะทำให้ไทยได้ประโยชน์จากการดำเนิน “แผนแม่บทเส้นทางการขนส่งเชื่อมทางบกกับทางทะเลสายใหม่แห่งภาคตะวันตก” (“西部陆海新通道总体规划”) ของจีน โดยแผนดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า ช่องทางบก – ทางทะเลใหม่ในภาคตะวันตกเป็นช่องทางยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมการก่อตัวของรูปแบบใหม่ในการพัฒนาภาคตะวันตกของจีน และเชื่อมต่อตามข้อริเริ่ม “สายแถบและเส้นทาง” (Belt and Road Initiative : BRI) อันจะเป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศและส่งเสริมเศรษฐกิจโลจิสติกส์ โดยใช้ช่องทางการขนส่งแบบบูรณาการ กล่าวคือ
ช่องทางการขนส่งดังกล่าวได้ขยายไปยังท่าเรือ (ทั้งท่าเรือบกและทางทะเล) จำนวน ๒๖๔ แห่งใน ๙๖ ประเทศ (ภูมิภาค) โดยมีสินค้ามากกว่า ๕๐๐ ประเภท มีรถให้บริการรับส่งสินค้าผ่านทางหลวงข้ามพรมแดน ๘ เส้นทางตามปกติ โดยให้บริการครอบคลุมคาบสมุทรอินโดจีนอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งใน ““แผนแม่บทเส้นทางการขนส่งเชื่อมทางบกกับทางทะเลสายใหม่แห่งภาคตะวันตก” มีการเสนอเส้นทางหลักทั้งหมด ๓ ทาง ได้แก่
เส้นทางจากเขตเศรษฐกิจฉงชิ่ง ผ่านกุ้ยหยาง และหนานหนิง ไปออกปากอ่าวเป่ยปู้
เส้นทางจากฉงชิ่ง ผ่านหวยฮั้ว หลิ่วโจว ไปออกปากอ่าวเป่ยปู้
เส้นทางจากเฉิงตู ผ่านหลูโจว (อี๋ปิน) และไป่เซ่อ ไปยังปากอ่าวเป่ยปู้
ทั้งนี้ ช่องทางบก – ทางทะเลสายใหม่แห่งภาคตะวันตกดังกล่าวจะใช้มหานครฉงชิ่งเป็นศูนย์กลาง โดยเฉพาะการเป็นท่าเรือบก (无水港) ในการขนส่งระหว่างประเทศที่ครอบคลุมด้าน “โลจิสติกส์ + การค้า + อุตสาหกรรม + การเงิน” (“物流+贸易+产业+金融” ) และเป็นท่าเรือแห่งแรกในโครงการสาธิตท่าเรือบกในเขตวงกลมเศรษฐกิจเฉิงตู-ฉงชิ่ง ที่จะช่วยยกระดับประสิทธิภาพการขนส่งของระเบียงการค้าระหว่างประเทศเชื่อมทางบกกับทางทะเลสายใหม่ รวมทั้งใช้เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง มณฑลกุ้ยโจว มณฑลกานซู มณฑลชิงไห่ เขตปกครองตนเองซินเจียง และมณฑลทางตะวันตกอื่น ๆ เป็นจุดสำคัญในการขนส่งสินค้าโดยใช้ทางรถไฟ การขนส่งทางถนน และอื่น ๆ เพื่อเข้าถึงทุกส่วนของโลกผ่านเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง อ่าวเป่ยปู้ โดยออกทะเลผ่านทางตอนใต้ของจีนซึ่งใช้เวลาสั้นกว่าที่จะต้องออกทะเลผ่านภาคตะวันออกเป็นอย่างมาก ในขณะเดียวกันก็จะเชื่อมเส้นทางการค้ากับอาเซียนให้สะดวกมากขึ้น
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://www.xindemarinenews.com/m/view.php?aid=29013 และเว็บไซต์ http://www.gov.cn/xinwen/2021-04/25/content_5601965.htm รวมทั้งเว็บไซต์ https://finance.sina.com.cn/roll/2021-04-26/doc-ikmxzfmk8991253.shtml?cref=cj และเว็บไซต์ https://www.ciyew.com/news/3429-4479.html )
นำเสนอ/รายงาน
ว่าที่ พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์
ตำแหน่ง เลขาธิการ
สถาบันศึกษาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงการเส้นทางสายไหม
12/5/2022