เมื่อวันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2565 เมื่อเวลา 10.00 น ณ ห้างบิ๊กซี ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
ทางสำนักงานแรงงานจังหวัดลพบุรี
ร่วมกับ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดลพบุรี
กับผู้ประกอบกิจการ ร่วมกันจัดงาน “วันแรงงานแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2565” เพื่อให้พนักงาน นายจ้าง ลูกจ้าง รวมถึงผู้ใช้แรงงานได้ประกอบกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน สร้างความรัก ความสามัคคีในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน และเพื่อให้ทุกฝ่ายเห็นความสำคัญของแรงงานที่ช่วยสร้างเศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้าในปัจจุบันนายสุภกิณห์ แวงชิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เป็นประธานเปิดงาน
ซึ่งในปีนี้ได้มอบรางวัลดีเด่นผู้ประกอบการดีเด่นประจำปี 2565 จำนวน 3 ราย
ซึ่งในปี นางภิรมย์รัช เปาริก ประธานบริษัท ภิรมย์รัช อยุธยาอิเล็กทรอนิกส์จำกัด เข้ารับรางวัลดีเด่นผู้ประกอบการดีเด่นประจำปี 2565 ในครั้งนี้ด้วย โดยมี
นางสาวสุกัญญา องค์วิเศษไพบูลย์
แรงงานจังหวัดลพบุรี เป็นผู้กล่าวรายงานต้อนรับประธานพิธีเปิดในครั้งนี้
ประวัติความเป็นมาวันแรงงานแห่งชาติ
วันแรงงานแห่งชาติ (National Labour Day) ตรงกับวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันที่ระลึกถึงผู้ใช้แรงงาน มาเรียนรู้ถึงประวัติที่มาของวันแรงงานแห่งชาติกัน
วันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันแรงงานแห่งชาติ ซึ่งในต่างประเทศนั้นมีวันแรงงานมานานแล้ว โดยเรียกว่า วันเมย์เดย์ (May Day) วันแรงงานมีจุดประสงค์เพื่อให้ความสำคัญกับเหล่าผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเป็นฝ่ายผลิตที่สำคัญในการผลักดันและช่วยส่งเสริมพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ
วันเมย์เดย์ (May Day)
ในอดีตประเทศในแถบยุโรปจะถือเอา วันเมย์เดย์ หรือ 1 พฤษภาคม เป็นวันเริ่มต้นฤดูใหม่ทางเกษตรกรรม ในวันนี้จะพิธีเฉลิมฉลอง ขอให้ปลูกพืชได้ผลดี รวมถึงขอให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข การเฉลิมฉลองนี้จะมีการให้ดอกไม้ร้องเพลงและเต้นรำไปรอบ ๆ เสาเมย์โพล (Maypole) เป็นการเต้นรำรอบเสาที่ประดับไปด้วยช่อดอกไม้ และริบบิ้น”
จากวันเมย์เดย์สู่วันแรงงาน
เมื่อวันเวลาผ่านไป ระบบอุตสาหกรรมเริ่มเข้าสู่หลายประเทศจึงเปลี่ยนเป็นวันหยุดตามประเพณีทั่วไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตือนใจให้ประชาชนเห็นความสำคัญของผู้ใช้แรงงานที่เป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ จากนั้นในปี พ.ศ. 2433 หลายประเทศทางตะวันตกได้มีการเรียกร้องให้ถือเอาวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันแรงงานสากล ทำให้หลายประเทศได้เริ่มฉลองวันแรงงานเป็นครั้งแรกในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2433 และได้สืบทอดมาจนถึงในปัจจุบัน
ที่มาวันแรงงานแห่งชาติในประเทศไทย
สำหรับประเทศไทย เมื่ออุตสาหกรรมได้ขยายตัวขึ้น ผู้ใช้แรงงานของไทยก็มีปัญหามากขึ้นเช่นกัน ทำให้พบปัญหาแรงงานที่มีความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น จนทำให้ในปี พ.ศ. 2475 เริ่มมีการจัดการบริหารแรงงานซึ่งเป็นการจัดสรรและพัฒนาแรงงานรวมถึงคุ้มครองดูแลสภาพการทำงาน และเพื่อสร้างรากฐานและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ซึ่งต่อมาในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2499 คณะกรรมการการจัดงานที่ระลึกแรงงาน ได้จัดประชุมขึ้นพร้อมทั้งมีความเห็นตรงกันว่าควรกำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันระลึกถึงแรงงานไทย นับแต่นั้นเป็นต้นมา”
นันท์นภัส วงศ์ใหญ่
ไพรัตน์ ทองแก้ว
ศูนย์ข่าวภาคกลางหนังสือพิมพ์5 เหล่าทัพ