จีนใช้ดาวเทียมวงจรต่ำเชื่อมจีนกับประเทศ”โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”
ดาวเทียมวงโคจรต่ำกับการแข่งขันทางทหาร โดยเฉพาะการเชื่อมต่อกันผ่านเครือข่ายจานดาวเทียมขนาดเล็กมากกว่า 10,000 ดวงที่เชื่อมเข้ากับระบบ Starlink ซึ่งเป็นกลุ่มดาวบริวารที่มีวงโคจรต่ำที่ SpaceX ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนด้านการบินและอวกาศของสหรัฐฯ เป็นเจ้าของและดำเนินการที่ โดยมุ่งหมายที่จะใช้ประโยชน์ทางการทหาร
ทั้งนี้ Starlink ได้กลายเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับหน่วยลาดตระเวนทางอากาศของทหารยูเครนในการควบคุมโดรนสอดแนมและชี้เป้าให้หน่วยทหารปืนใหญ่ รวมทั้งให้การรับรู้สถานการณ์และการตัดสินใจทางยุทธวิธีที่ดีขึ้น ในขณะที่จีน ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมวงโคจรต่ำ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่เพิ่งเริ่มต้นเพื่อเชื่อมโยงพื้นที่ห่างไกลของจีนกับประเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” หรือ “สายแถบและเส้นทาง”
แม้ว่า GalaxySpace ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนของจีนจะได้เปิดตัวกลุ่มดาวเทียมวงโคจรต่ำที่ประกอบด้วยดาวเทียม 6 ดวง เมื่อเดือน มี.ค.65 แต่ระบุว่าเป็นเชิงพาณิชย์และไม่ได้ใช้เพื่อการทหารก็ตาม แต่ Richard Bitzinger นักศึกษาอาวุโส ของ Nanyang Technological University ในสิงคโปร์ กล่าวว่าความแตกต่างใหญ่ระหว่างจีนกับตะวันตกคือการที่จีนพึ่งพาระบบของรัฐ โดยความสำเร็จของจีนในด้านเทคโนโลยีทางทหารนั้นอาศัยการร่วมทุนระหว่างบริษัทของรัฐและบริษัทต่างชาติ รวมทั้งการปรับปรุงเทคโนโลยีที่นำเข้า
ขณะที่ Wu Zhengyu ศาสตราจารย์ด้านการเมืองระหว่างประเทศที่มหาวิทยาลัย Renmin ในกรุงปักกิ่ง กล่าวในการประชุมวิชาการ เมื่อต้นเดือน เม.ย.65 ว่า Starlink เป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญสำหรับการป้องกันขีปนาวุธเมื่อใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ควอนตัม
สรุปโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://www.scmp.com/news/china/diplomacy/article/3175365/military-race-low-earth-orbit-satellites-and-why-china-behind )
นำเสนอ/รายงาน
ว่าที่ พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์
ตำแหน่ง เลขาธิการ
สถาบันศึกษาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงการเส้นทางสายไหม
27/4/2022