ความสำเร็จ’ ของ ‘รถไฟจีน-ลาว’ ส่วนไทยกำลังจะสูญเสียจุดยุทธศาสตร์ให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน
ความสำเร็จของเส้นทางสายไหม ช่วง จีน-ลาว มีข้อมูลน่าสนใจ ดังนี้
1/ ‘เวียงจันทน์ไทมส์’ สื่อชื่อดังของลาวรายงานล่าสุด บริษัทการรถไฟลาว-จีน จะนำ ‘รถไฟความเร็วต่ำ’ มาวิ่งเพิ่มเติมบนเส้นทางรถไฟจีน-ลาว ตั้งแต่เดือน มีนาคมเป็นต้นไป เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น
2/ นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่การรถไฟจีน-ลาว เพิ่มรถไฟขบวนใหม่ เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมามีการนำรถไฟเพิ่มเติมจำนวน 9 ขบวนวิ่งในเส้นทางส่วนของลาว รองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นได้เกือบ 150,000 คน
3/ ปัจจุบันการรถไฟจีน-ลาว กลายเป็นรูปแบบการคมนาคมขนส่งที่สำคัญสำหรับการเดินทางประจำวันของชาวลาว ไม่ว่าจะเป็นในลาวหรือในจีน การโดยสารรถไฟเฟื่องฟู เป็นที่นิยม และ ‘ยากที่จะได้ตั๋ว’ ในวันหยุดสุดสัปดาห์และวันหยุดนักขัตฤกษ์
4/ การรถไฟจีน-ลาว ไม่เพียงแต่โดดเด่นในด้านการขนส่งผู้โดยสารเท่านั้น ยังโดดเด่นในเรื่องการขนส่งสินค้าด้วย ตัวเลข ณ วันที่ 17 มกราคม ทางรถไฟจีน-ลาว ขนส่งสินค้าทั้งหมด 59,500 ตัน มูลค่ารวม 1,068 ล้านหยวน
5/ ปัจจุบัน เครือข่ายการขนส่งทางรถไฟจีน-ลาว
แผ่ขยายออกไป 9 จังหวัด 15 เมืองในจีน ร่วมกันสร้าง ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ ครอบคลุมกว่า 10 ประเทศ รวมถึงลาว ไทย และสิงคโปร์
6/ ทำไมรถไฟจีน-ลาว ถึงได้รับความนิยมสูง? เพราะรถไฟจีน-ลาวมีลักษณะเฉพาะ 3 ประการ รวมกันเป็น ‘รหัสความสำเร็จ’ นั่นคือ…
1️⃣ รถไฟจีน-ลาว เป็นเส้นทางแห่งการพัฒนาอย่างแท้จริง
2️⃣ รถไฟสายจีน-ลาว เป็นเส้นทางอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนอย่างแท้จริง และ
3️⃣ รถไฟจีน-ลาว คือเส้นทางแห่งมิตรภาพอย่างแท้จริง
อนาคตการเชื่อมต่อส่วนขยายจาก
- ประเทศจีน-ลาว-ไทย-มาเลเซีย-สิงคโปร์
- ประเทศจีน-ลาว-กัมพูชา
- ประเทศจีน-เวียดนาม
- ประเทศจีน-เวียดนาม-
กัมพูชา - ประเทศจีน-พม่า
ส่วนไทย ที่หวังจะเป็นฮับจะตามประเทศเพื่อนบ้านทันมั้ย ต้องรอดูฝีมือจากรัฐบาลหน้า เดินนโยบายทำยังไงต่อ จากที่เป็นประเทศจุดยุทธศาสตร์ที่ดี อาจไม่อยู่ในสายตาของจีน อีกต่อไป
ข้อมูล/ภาพข่าว
โจว ชิน #ว่าที่ พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์ #Xinhua
ChinaReport
นำเสนอ/รายงาน
ว่าที่ พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์
ตำแหน่งเลขาธิการ
สถาบันศึกษาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงการเส้นทางสายไหม
4/4/2022