ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ผู้คว้ารางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2565 : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดีมาก สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์
จากผลงานประดิษฐ์คิดค้น เรื่อง “หอมข้าว : อุปกรณ์ตรวจสอบความหอมในข้าวหอมมะลิ แบบพกพาด้วยเทคนิคปัญญาประดิษฐ์” กล่าวว่า นวัตกรรมหอมข้าว : อุปกรณ์ตรวจสอบความหอมในข้าวหอมมะลิ
แบบพกพาด้วยเทคนิคปัญญาประดิษฐ์พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สำหรับตรวจหาค่า 2AP ตรวจวัดและวิเคราะห์ผลได้รวดเร็วด้วย AI ลดความผิดพลาดจากการวิเคราะห์ผล และสามารถถ่ายทอดตัวอย่างการตรวจให้กับเครื่องอื่นๆ ได้เพื่อเพิ่มความสามารถของเครื่อง และสามารถพกพาสะดวก อีกด้วย
เมื่อเปรียบเทียบนวัตกรรมหอมข้าว : อุปกรณ์ตรวจสอบความหอมในข้าวหอมมะลิ แบบพกพาด้วยเทคนิคปัญญาประดิษฐ์ กับเครื่องอื่นๆ พบว่า มีราคาต้นทุนถูกกว่า การนำเข้าจากต่างประเทศถึง 20 เท่า ใช้เวลาในการฝึกและทดสอบ 15 นาที เทียบกับเครื่องมือวัดทั่วไปเร็วกว่า 1 เท่า โมเดลในการวิเคราะห์ค่า 2AP ถูกต้องมากกว่า 90 % เมื่อเทียบกับ MOS ALPHA FOX 3000 อาเรย์แก๊สเซ็นเซอร์ อายุใช้งานได้ถึง 3 ปี
การใช้งานนวัตกรรมหอมข้าว : อุปกรณ์ตรวจสอบความหอมในข้าวหอมมะลิ แบบพกพาด้วยเทคนิคปัญญาประดิษฐ์ ใช้หลักการเดียวกันกับเครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ ซึ่งมีการจำกัดการทำงานให้มีรูปแบบที่จำเพาะลงมาในการตรวจวัดข้าวหอมมะลิโดยโครงสร้างของเครื่องตรวจสอบกลิ่นแบบจำเพาะด้วยเทคโนโลยีอาเรย์แก๊สเซ็นเซอร์ประกอบไปด้วยช่อง Chamber ใส่ตัวอย่างที่จะทำการตรวจวัด ตัวให้ความร้อนตัวอย่างเพื่อควบคุมปริมาณกลิ่น และอาเรย์ของเซนเซอร์ตรวจวัดก๊าซทั้งหมด 8 ชุด อุปกรณ์ ประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ คือ 1.ส่วนรับกลิ่นประกอบด้วยตัวนำกลิ่นเข้ามา มีปั๊มลมดูดอากาศ และท่อรวบรวมกลิ่น เพื่อให้กลิ่นมีความเข้มข้นสูงขึ้น
ที่สำคัญที่สุด คือ เซ็นเซอร์อาเรย์รับกลิ่น 2.ส่วนรวบรวมสัญญาณ จะทำการแปรสัญญาณจากเซ็นเซอร์ และทำการจัดการสัญญาณ signal Conditioning เช่น ลดสัญญาณรบกวน จากนั้นก็จะแปลงสัญญาณจากอนาล็อกให้เป็นดิจิตอล และ 3.ส่วนประมวลผล จะนำสัญญาณที่ได้รับมาทำการเปรียบเทียบเชิงสถิติกับฐานข้อมูลที่มีอยู่เพื่อทำการแยกแยะกลิ่น รวมไปถึงการเรียนรู้และจดจำรูปแบบของกลิ่น เพื่อใช้ตรวจสอบองค์ประกอบของแก๊สต่างๆ และยังสามารถวัดความชื้นและอุณหภูมิของสภาพแวดล้อมภายนอกได้อีกด้วย
ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวต่อว่า การทดลองใช้เครื่องได้รับความร่วมมือจากสถาบันวิทยาศาสตร์ข้าวแห่งชาติ นำตัวอย่างจากโรงสีข้าวมาทดสอบด้วยนวัตกรรมหอมข้าว : อุปกรณ์ตรวจสอบความหอมในข้าวหอมมะลิ แบบพกพาด้วยเทคนิคปัญญาประดิษฐ์ และเปรียบเทียบกับผลที่วัดได้จากเครื่อง GC (gas chromatography) ซึ่งเป็นวิธีดั้งเดิมที่ทาง สถาบันวิทยาศาสตร์ข้าวแห่งชาติ ใช้ตรวจสอบค่า 2AP ผลปรากฏว่า นวัตกรรมหอมข้าว : อุปกรณ์ตรวจสอบความหอมในข้าวหอมมะลิ แบบพกพาด้วยเทคนิคปัญญาประดิษฐ์ สามารถวัดได้แม่นยำมากกว่า 90%
ในอนาคตนวัตกรรมหอมข้าว : อุปกรณ์ตรวจสอบความหอมในข้าวหอมมะลิ แบบพกพาด้วยเทคนิคปัญญาประดิษฐ์ จะนำไปใช้งานร่วมกับโรงสีและชุมชน เพื่อใช้สำหรับการตรวจสอบคุณภาพข้าวสำหรับการคัดกรองข้าวคุณภาพดี เพื่อให้เกิดรายได้ที่สูงขึ้นแก่เกษตรกร นอกจากนี้จะนำไปใช้งานในภาคอุตสาหกรรม เพื่อทำความเข้าใจในมาตรฐานของคุณภาพข้าวที่ผ่านการทดสอบด้วยเครื่องมือเดียวกัน รวมถึงการเพิ่มมูลค่าในการส่งออกโดยกำหนดมาตรฐานข้าวหอมมะลิด้วยการตรวจวัดทางวิทยาศาสตร์สำหรับการกำหนดมาตรฐานด้วย
สำหรับ นวัตกรรม“หอมข้าว”
อุปกรณ์ตรวจสอบความหอมในข้าวหอมมะลิ แบบพกพา ได้รับรางวัลในงานวันนักประดิษฐ์ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พร้อมทั้งจัดแสดงผลงานถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา กรุงเทพฯ
สุรเชษฐ ศิลานนท์ รายงาน