เมื่อช่วงกลางเดือน ธ.ค.64 กองทัพเรือกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน (Chinese People’s Liberation Army Navy : PLAN) ได้ทำการฝึกซ้อมการโจมตีทางอากาศจากเรือบรรทุกเครื่องบินสองลำ (เรือบรรทุกเครื่องบินเหลียวหนิง และเรือบรรทุกเครื่องบินซานตง) ในแปซิฟิกตะวันตก พร้อมกับเครื่องบินขับไล่ J-15 รวมทั้งเฮลิคอปเตอร์โจมตี Z-9 และเฮลิตอปเตอร์อเนกประสงค์ Z-18 เพื่อแสดงให้เห็นถึงขีดความสามารถของกองทัพจีนในการผนวกเกาะไต้หวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากกองกำลังสหรัฐฯ และญี่ปุ่นไม่สามารถไปถึงพื้นที่นั้นได้ทันเวลาหรือถูกขัดขวางไม่ให้เข้าช่วยเหลือไต้หวันโดยระบบขีปนาวุธตงเฟิงที่น่าเกรงขามของจีนภายใต้แนวคิดทางยุทธศาสตร์ในการต่อต้านการเข้ามา/ปฏิเสธไม่ให้เข้าพื้นที่ หรือ Anti-Access/Area Denial (A2/AD) ของจีน
ทั้งนี้ อาจมีปัจจัยที่จะเป็นอุปสรรคหลายประการที่ทำให้กองกำลังของ PLA ประสบกับปัญหาในการยึดครองเกาะไต้หวัน อาทิ ในประการแรก หากเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐฯ สามารถปล่อยเครื่องบินขับไล่ F-35C Joint Strike Fighters และเครื่องบินขับไล่ F-35B ในขณะที่เครื่องบินขับไล่ J-15 ของจีนหรือแม้แต่ J-20 ของจีน ซึ่งมีจำนวนน้อยกว่าอาจประสบปัญหาในการครองอากาศเพื่อสนับสนุนกองกำลังสะเทินน้ำสะเทินบกของจีน ก็จะทำให้เสี่ยงอย่างยิ่งที่จะถูกโจมตีจากเครื่องบินรบที่ทันสมัยในยุคที่ 5 ของสหรัฐฯ หรือของญี่ปุ่น เช่น F-35 นอกจากนี้ ยังมีตัวแปรสำคัญอีกประการหนึ่งที่มีแนวโน้มว่าจะทำให้จีนเคลื่อนตัวเช้าสู่เกาะไต้หวันได้ยากลำบากขึ้นจากการปรากฏตัวของเรือดำน้ำจู่โจมชั้นเวอร์จิเนียของสหรัฐฯ ที่มีขีดความสามารถในการเล็ดลอดเข้าไปใกล้พื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงอย่างลับๆ บริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลของจีนแผ่นดินใหญ่ โดยสามารถโจมตี รวมทั้งขัดขวางและทำลายเรือรบของจีน เป็นต้น
สรุปโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://nationalinterest.org/blog/buzz/chinese-navy-says-it-can-intervene-stop-us-defense-taiwan-198417 )
นำเสนอ/รายงาน
ว่าที่ พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์
ตำแหน่ง เลขาธิการ
สถาบันศึกษาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงการเส้นทางสายไหม
29/12/2021