เส้นทางสายไหม บก-ทะเล กับภาคตะวันตกของจีน ในช่วง “แผนพัฒนาฯ ระยะห้าปี ฉบับที่ ๑๔” (“十四五”推进西部陆海新通道高质量建设实施方案)
ข้อมูลเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการผลักการสร้างช่องทางใหม่ทางบกและทางทะเลกับภาคตะวันตกของจีน ในช่วง “แผนพัฒนาฯ ระยะห้าปี ฉบับที่ ๑๔” (“十四五”推进西部陆海新通道高质量建设实施方案) ของจีน กำลังปรากฏเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนมากขึ้น กล่าวคือ
๑. เมื่อวันที่ ๑๕ ธ.ค.๖๔ รถไฟขนตู้คอนเทนเนอร์ผลิตภัณฑ์เยื่อกระดาษจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสินค้าอื่นๆ ออกเดินทางจากสถานีชินโจวตะวันออก (钦州港东站) ของเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง (กวางสี) เป็นขบวนสินค้ายาว ๕๕ ตู้คอนเทนเนอร์ จะถึงปลายทางที่สถานีถวนเจียชุนของนครฉงชิ่งในวันที่ ๑๗ ธ.ค.๖๔ หลังจากนั้น สินค้าบางส่วนจะถูกเปลี่ยนถ่ายไปยังเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจีน-ยุโรป เพื่อขนส่งไปยังยุโรปและสถานที่ต่างๆ ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีจำนวนรถไฟที่เชื่อมทางบก-ทางทะเลกับภาคตะวันตกของจีนรวมแล้วมากกว่า ๑๔,๐๐๐ ขบวน โดยครอบคลุม ๑๓ มณฑล ๔๖ เมือง และ ๙๐ สถานีในทั่วประเทศจีน ซึ่งเพิ่มขึ้น ๓๘ สถานีเมื่อเทียบกับปี ๒๐๒๐ (พ.ศ.๒๕๖๓)
๒. การสร้างช่องทางใหม่ทางบกและทางทะเลกับภาคตะวันตกของจีน ได้มีการเชื่อมต่อกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคทั่วโลกมากกว่า ๑๐๐ แห่ง รวมทั้งท่าเรือมากกว่า ๓๐๐ แห่ง และมีบทบาทเป็นชุมทางสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางเรือ ปัจจุบัน เครือข่ายเส้นทางท่าเทียบเรือได้บรรลุความครอบคลุมกับท่าเรือหลักในอาเซียนและภายในประเทศทั้งหมด โดยเส้นทางขนส่งที่เพิ่มขึ้นใหม่ก็ได้กลายเป็นช่องทางที่สะดวกที่สุดสำหรับการขนส่งสินค้าเข้า-ออกในพื้นที่ภาคตะวันตกของจีน ซึ่งศูนย์ขนส่งทางรถไฟในเมืองชินโจวจะเป็นสัญลักษณ์ของโครงการที่ทำลายคอขวดของเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง โดยมีส่วนร่วมในการสร้างช่องทางขนส่งใหม่เชื่อมโยงทางบกและทะเลกับภาคตะวันตกของจีน ที่ปีนี้ปริมาณขนส่งตู้คอนเทนเนอร์สินค้ามีกว่า ๓๐๐,๐๐๐ ตู้
บทสรุป การสร้างช่องทางใหม่ทางบกและทางทะเลกับภาคตะวันตกของจีน สร้างขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างมณฑลทางตะวันตกของจีนและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยใช้มหานครฉงชิ่งเป็นศูนย์กลางการดำเนินงาน และมีกว่างซี กุ้ยโจว กานซู่ ชิงไห่ ซินเจียง และจังหวัดทางตะวันตกอื่น ๆ เป็นจุดเชื่อมต่อหลักที่เข้าถึงทุกส่วนของโลกได้ด้วยวิธีการคมนาคมขนส่ง เช่น ทางรถไฟ ทางทะเล และทางถนน ขณะที่ชินโจวจะเป็นสถานีศูนย์กลางที่ใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบของเครือข่ายรถไฟอย่างเต็มที่ โดยร่วมมือกับท่าเรือและบริษัทขนส่งรวมทั้งพิธีการทางศุลกากรอย่างใกล้ชิดเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และมุ่งมั่นที่จะสร้างเกณฑ์มาตรฐานใหม่สำหรับการขนส่งแบบรวมทางรถไฟและทางทะเลของการขึ้นลงรถไฟและการขึ้นลงจากเรือ โดยในเดือนตุลาคมของปีนี้ พบว่าระยะเวลาในการผ่านพิธีการทางศุลกากรโดยรวมของการนำเข้าท่าเรือชินโจวคือ ๑๔.๙๔ ชั่วโมง ลดลง ๒๙.๑๒% จาก ๒๑.๐๘ ชั่วโมงในปีที่แล้ว และระยะเวลาในการผ่านพิธีการศุลกากรโดยรวมสำหรับการส่งออกคือ ๐.๒๙ ชั่วโมง ลดลง ๒๓.๒๕% จาก ๐.๓๘ ชั่วโมงในปีที่แล้ว
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://www.sohu.com/a/508740367_115239 รวมทั้งเว็บไซต์ http://cddrc.chengdu.gov.cn/cdfgw/fzggdt/2021-09/03/content_12ffab83d4b9414bbf349b999945460a.shtml และเว็บไซต์ https://www.cqcb.com/dyh/government/dyh91/2021-03-08/3821067_pc.html )
นำเสนอ/รายงาน
ว่าที่ พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์
ตำแหน่ง เลขาธิการ
สถาบันศึกษาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงการเส้นทางสายไหม
19/12/2021