(13ธ.ค.64)ที่อาคารรัฐสภา เมื่อเวลา 10.30 น.นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ อดีตส.ส.ประชาธิปัตย์ ยื่นหนังสือผ่านเจ้าหน้าที่งานสารบรรณถึงนางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ให้ตรวจสอบกรณีผู้รับเหมาช่วงในโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ โดยเฉพาะบริษัท Power Line จากเอกสารประมาณ 3,000 ล้านบาทเพื่อพิจารณาดำเนินการทั้งอาญา แพ่ง และวินัยกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ขอให้ตรวจสอบว่ามีการจ้างผู้รับเหมาช่วงจำนวนหลายรายจริงหรือไม่
- มีการทำถูกต้องตามสัญญาข้อ 11 หรือไม่ เพราะอดีตประธานตรวจการจ้างอย่างน้อย 2 รายยืนยันว่าไม่มีการขออนุญาตใช้ผู้รับเหมาช่วงและสภาไม่เคยอนุมัติ
- บริษัท Power Line เป็นคู่สัญญารับเหมาช่วงเกือบ 3,000 ล้านบาท จริงหรือไม่ (ไม่รวมเงินเพิ่ม/เงินลด เนื่องมาจากงานเพิ่ม/งานลด)
- บริษัท Power Line เป็น 1 ใน 4 บริษัทที่ยื่นซองประกวดราคาโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ด้วยใช่หรือไม่
- มีการอ้างว่ามีการจ้างผู้รับเหมาช่วงงานระบบ มีคำถามคืองานโคมไฟประดับภายนอกอาคารถือว่าเป็นงานระบบหรือไม่และต้องแจ้งการเป็นผู้รับเหมาช่วงหรือไม่
- กลุ่มบริษัทผู้ควบคุมงาน ATTA เคยแจ้งเรื่องผู้รับเหมาช่วงหรือไม่ ต้องรับผิดชอบด้วยใช่หรือ
ไม่ เพราะการทำ Mock up หลายครั้ง บริษัทที่ทำ Mock up คือ Power Line (ดูจากชุดเครื่องแบบตาม
ภาพถ่ายบุคคลที่ทำ Mock up) - ขอให้ตรวจสอบและดำเนินการตามกฎหมายโดยเร่งด่วนทุกกรณี และทุกบริษัทที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งผู้ควบคุมงาน สำหรับผู้ร้องจะได้ดำเนินการตามกฎหมายโดยเคร่งครัดอีกทางหนึ่งด้วย
นอกจากนี้ขอให้ตรวจสอบวัสดุกระจกใสพิเศษ (Super Clear LID) ที่ใช้สำหรับผนังห้องและหนังทางเดินชั้น 4 ขึ้นไปบริเวณโซนกลาง มีการออกแบบโดยใช้กระจกใสพิเศษ (Super Clear LID) จำนวนทั้งหมด 36,700 ตร.ม. เป็นกระจกซึ่งนำเข้าจากต่างประเทศ แต่ในระหว่างการก่อสร้างอาคารฝั่งส.ว. บริเวณชั้น 4 และ 5 ทราบว่ามีกระจกใสพิเศษขนาด 4×8 ฟุต แตกจำนวน 24 แผ่น (ตัวเลขจริงน่าเชื่อว่าเกิน 24 แผ่น) จึงขอให้พิจารณาดำเนินการตรวจสอบ ดังนี้
- มีกระจกใสพิเศษแตกทั้งสิ้นจำนวนเท่าใด
- เมื่อกระจกบางส่วนแตก มีการสั่งนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อเอามาทดแทนจริงหรือไม่และเมื่อใด
- เพื่อพิสูจน์ความจริงและให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย เพราะเมื่อพบว่ากระจกใสพิเศษแตกมีการนำกระจกธรรมดาไปใส่แทน จึงขอให้ตรวจสอบว่ากระจกที่นำไปติดตั้งทดแทนล่าสุด เป็นกระจก
ใสพิเศษจริงและมีใบสำแดงการนำเข้าผ่านกรมศุลการกรถูกต้อง - เนื่องจากกระจกใสพิเศษราคาแพงมาก จึงขอให้ตรวจสอบปริมาณการนำเข้าว่าสอดคล้องกับพื้นที่ปูด้วยกระจกใสพิเศษเป็นพื้นที่ทั้งหมด 36,700 ตร.ม. โดยต้องมีข้อมูลยืนยันจากกรมศุลกากร
- เนื่องจากกระจกเป็นวัสดุซึ่งถูกกำหนดว่าต้องได้รับมอก. จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) จึงขอให้ตรวจสอบด้วย
- บริษัทผู้รับจ้างคือ บริษัท กิมหยู่เส็ง ถือเป็นผู้รับเหมาช่วงงานระบบหรือไม่ ต้องปฏิบัติตามข้อสัญญาข้อ 11 หรือไม่ขอให้ดำเนินการตามกฎหมายโดยเคร่งครัดต่อไปด้วย