Dr. Monika Chansoria นักวิชาการของญี่ปุ่นได้วิเคราะห์ถึงการเตรียมความพร้อมของกองทัพจีน (PLA) ในการทำสงครามไว้อย่างน่าสนใจ สรุปได้ดังนี้
1. ในสุนทรพจน์เมื่อเดือนตุลาคมปีนี้ (พ.ศ.2564) ของนายสี จิ้นผิง ในฐานะเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ส่งสัญญาณถึงการทวงคืนดินแดนประวัติศาสตร์ของจีนต่อที่ประชุมคณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์จีน (CCP) รวมทั้งการผลักดันในการพัฒนาด้านอาวุธยุทโธปกรณ์เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ในวาระครบรอบ 100 ปี แห่งการก่อตั้ง PLA ในการประชุมระดับกองทัพเมื่อวันที่ 25-26 ต.ค.64 โดยให้เร่งดำเนินการตามภารกิจที่กำหนดไว้ในช่วงแผนห้าปี ฉบับที่ 14 ของจีน (2021 – 2025 หรือ ปี พ.ศ.2564 – 2568)
2. เน้นย้ำการทำงานร่วมกันอย่างแข็งแกร่ง เพื่อช่วยเสริมการสร้างระบบการจัดการอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย รวมทั้งการมุ่งเน้นส่งเสริมการพึ่งพาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย เป็นเป้าหมายหลักสำหรับยุทธศาสตร์การทหารของจีนทั้งในระดับโลกและภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเอเชียตะวันออกและอินโด-แปซิฟิก
3. การกำหนดจุดยืนและนโยบายเชิงยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนดังที่ปรากฏในเอกสารสมุดปกขาวด้านการป้องกันประเทศ โดยเฉพาะการป้องปรามต่อการแทรกแซงจากนานาชาติต่อประเด็นเรื่องไต้หวันและทะเลจีนใต้ ตลอดจนทะเลตะวันออก ด้วยการเปลี่ยนจากการป้องกันน่านน้ำนอกชายฝั่งไปสู่การปฏืบัติการในทะเลเปิด รวมทั้งเน้นให้ความสำคัญกับการดำเนินการทางการทูตที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ในการกำหนดนโยบายต่างประเทศโดยรวมของจีน
สรุปโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://japan-forward.com/chinas-military-preparing-ready-for-wars-and-for-those-who-interfere-with-its-ambitions/?gsearch=click&gclid=Cj0KCQiA15yNBhDTARIsAGnwe0X23E1dNpLs9YK1JPHaMdoFwcg6T8sCvKB3qytbydWWOdqi4wEowJ0aAt8BEALw_wcB )
นำเสนอ/รายงาน
ว่าที่ พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์
ตำแหน่ง เลขาธิการ
สถาบันศึกษาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงการเส้นทางสายไหม
5/12/2021