ไต้หวันมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์ที่สำคัญต่อสหรัฐฯ ดังที่ พลเรือเอก Ernest King อดีตผู้บัญชาการกองทัพเรือสหรัฐฯ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เคยกล่าวไว้ว่า ไต้หวันเป็นหัวจุกในขวดสำหรับญี่ปุ่น โดยใครก็ตามที่ควบคุมไต้หวันได้จะควบคุมเส้นทางการเดินเรือของประเทศญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี ดังนั้น การควบคุมของจีนต่อไต้หวันจะทำให้มีอิทธิพลอย่างมากต่อทั้งญี่ปุ่นและเกาหลีใต้
แต่ที่สำคัญที่สุด ไต้หวันเป็นศูนย์กลางการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ขั้นสูง บริษัท Taiwan Semiconductor Manufacturing Company (TSMC) มีโรงหล่อที่ทันสมัยที่สุดในโลก การควบคุม TSMC ของจีนจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล
ในขณะที่มีการวิเคราะห์ว่า มีความเป็นไปได้ที่จีนจะโจมตีไต้หวันโดยใช้การโจมตีทางไซเบอร์และสงครามอิเล็กทรอนิกส์เพื่อทำให้เกาะเป็นอัมพาต ซึ่งรวมถึงการโจมตีด้วยขีปนาวุธต่อศูนย์บัญชาการทางทหารและใช้การโจมตีของกองกำลังพิเศษจากการยกพลขึ้นบกเพื่อเอาชนะกองกำลังของไต้หวันอย่างรวดเร็ว
ดังนั้น เป้าหมายหลักของนโยบายความมั่นคงของสหรัฐฯ คือ การยืดเวลาการต่อต้านของกองกำลังไต้หวันอย่างมีประสิทธิภาพจนกว่ากองกำลังสหรัฐฯ จะมาถึง ทั้งนี้ เนื่องจากปัญหาด้านพื้นที่ทางภูมิศาสตร์และปัญหาด้านการส่งกำลังบำรุงจะทำให้การตอบสนองของกองทัพสหรัฐฯ ในเวลาที่เหมาะสมมีความยากยิ่งขึ้น โดยอาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าที่สหรัฐฯ จะมีกองกำลังที่เพียงพอในภูมิภาคนี้เพื่อต่อกรกับกองทัพจีน (PLA) ในพื้นที่การต่อสู้รอบเกาะไต้หวัน ซึ่งสหรัฐฯ จำเป็นต้องเสริมกองกำลังทหารในภูมิภาคนี้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะความมั่นใจได้ว่า พันธสัญญาที่เป็นพันธมิตรกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ อาทิ ญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์ เป็นต้น จะทำให้สหรัฐฯ สามารถใช้ฐานทัพในอาณาเขตของประเทศพันธมิตรในช่วงเวลาที่เกิดความขัดแย้ง จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง
สรุปโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://thehill.com/opinion/national-security/582767-america-must-prepare-for-war-with-china-over-taiwan )
นำเสนอ/รายงาน
ว่าที่ พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์
ตำแหน่ง เลขาธิการ
สถาบันศึกษาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงการเส้นทางสายไหม
28/11/2021