รัสเซียและจีน ได้มีการลงนามในแผนงานความร่วมมือทางทหารปี 2021-2025 (พ.ศ.2564-2568) ซึ่งรวมถึงการยกระดับการซ้อมรบเชิงยุทธศาสตร์และการลาดตระเวนร่วมกันของทั้งสองประเทศอย่างเข้มข้น
ทั้งนี้ เป็นผลจากการสนทนาทางวิดีโอระหว่างรัฐมนตรีกลาโหมของรัสเซียกับรัฐมนตรีกลาโหมของจีน เมื่อวันอังคารที่ 23 พ.ย.64 โดยทั้งรัสเซียและจีนต่างก็คำนึงถึงแรงกดดันและการคุกคามทางทหารของสหรัฐฯ ซึ่งในเดือน พ.ย.64 เครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ จำนวน 10 ลำได้ฝึกภายใต้สถานการณ์การใช้อาวุธนิวเคลียร์โจมตีรัสเซียแทบจะพร้อมกันจากทิศตะวันตกและตะวันออกโดยอยู่ใกล้พรมแดนรัสเซียในระยะ 20 กิโลเมตร (12 ไมล์) รวมถึงการเพิ่มจำนวนเที่ยวบินของเครื่องบินทิ้งระเบิดของสหรัฐฯ เหนือทะเลโอค็อตสค์ (Okhotsk ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก)
จากภายใต้สภาวะความปั่นป่วนทางภูมิรัฐศาสตร์และความขัดแย้งที่เพิ่มขึ้นในส่วนต่างๆ ของโลก ทำให้การพัฒนาปฏิสัมพันธ์ระหว่างจีนกับรัสเซีย จากการเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างกันอย่างรอบด้าน ในขณะที่ทั้งคู่ได้เผชิญกับความตึงเครียดกับฝ่ายตะวันตก จึงนำไปสู่ความสัมพันธ์ทางการทหารที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น ดังกรณีที่เครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ Tu-95MS ของรัสเซีย 2 ลำและเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ H-6K ของจีน 2 ลำได้ร่วมลาดตระเวนร่วมกันเหนือทะเลญี่ปุ่นและทะเลจีนตะวันออก เมื่อวันศุกร์ที่ 19 พ.ย.64
นอกจากนี้ การที่รัสเซียได้แบ่งปันเทคโนโลยีทางการทหารที่มีความอ่อนไหวให้กับจีน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการป้องกันประเทศของจีนอย่างมีนัยสำคัญได้มากยิ่งขึ้น
สรุปโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://www.usnews.com/news/world/articles/2021-11-23/russia-china-sign-roadmap-for-closer-military-cooperation )
นำเสนอ/รายงาน
ว่าที่ พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์
ตำแหน่ง เลขาธิการ
สถาบันศึกษาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงการเส้นทางสายไหม
28/11/2021