พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล พร้อมคณาจารย์ นำคณะนักศึกษาหลักสูตรการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 12 (สสสส.12) สถาบันพระปกเกล้า ลงพื้นที่จ.ชลบุรี เพื่อรับฟังการบรรยาย EEC สานพลังการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน จากนางสาวทัศนีย์ เกียรติภัทราภรณ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการนโยบาย เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
โดยสำนักคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)หรือ อีอีซี นำเสนอ ถึงแนวคิดการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่มุ่งมั่นปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ไปสู่ Value base economy เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมภายใต้วิสัยทัศน์ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน มีการการปรับแผนการลงทุนในพื้นที่ อีอีซี ปี 2565-2569 เป็นยการต่อยอดโครงสร้างพื้นที่ เป็นเมืองการบินภาคตะวันออก การดึงดูดอุตสาหกรรมเป้าหมาย ยานยนต์ที่สมัยใหม่ ดิจิทัลและอิเลคทรอนิคส์ การแพทย์และสุขภาพ การขนส่งและโลจิสติกส์ การเกษตรสมัยใหม่และอาหาร
นอกจากนี้ได้มุ่งเน้นสร้างการมีส่วนร่วม โดยดึงพลังกลุ่มสตรีในพื้นที่ อีอีซี ให้มีความเข้มแข็ง มีการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงการจัดทำและนำเสนอโครงการที่จะสร้างความยั่งยืนให้พื้นที่และชุมชน โดยมีบทบาทสำคัญในการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายการพัฒนา อีอีซี ควบคู่กับการพัฒนาพื้นที่ และการเฝ้าระวังในการใช้ประโยชน์ที่ดินและแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และระบบสาธารณูปโภคเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือแผนผัง อีอีซี และการมีส่วนร่วมในเฝ้าระวังทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จากนั้นคณะนักศึกษาหลักสูตรการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 12 เดินทางต่อไปยังพื้นที่ จ.ระยอง โดยแบ่ง 4 กลุ่ม ลงพื้นที่รับฟังและร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยกลุ่มแรกลงพื้นที่ศูนย์จัดการขยะครบวงจร เพื่อแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ “ระยองโมเคล” ต้นแบบบริหารจัดการขยะ เพื่อการพัฒนาพื้นที่ EEC อย่างยั่งยืน ณ ศูนย์จัดการขยะครบวงจร อบจ.ระยอง กลุ่มที่ 2 เข้าดูงานยัง สำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพูด เวทีแลกเปลี่ยน “EEC หลังฟื้นฟูท่ามกลาง เวทีแลกเปลี่ยน วิกฤตโควิด-19” กลุ่มที่ 3 เปิดเวทีแลกเปลี่ยน “EEC Vs ท่องเที่ยวโดยชุมขน วิถีสู่ความยั่งยืน” ณ เทศบาลตำบลบ้านเพ อ.เมืองระยอง
จากนั้นคณะนักศึกษา สสสส.12 ร่วมรับฟัง เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแสวงหาจุดร่วมในการอยู่ร่วมกันระหว่าง ไออาร์พีซีและชุมชน ก่อนจะแบ่งกลุ่มศึกษาศูนย์เรียนรู้ท่องเที่ยวเชิงเกษตรสวนยายดา (ป้าบุญชื่น) เป็นสวนผลไม้ แบบผสมผสาน ที่มีผลไม้ให้กินตลอดทั้งปี จะผลัดเปลี่ยนออกผลไปตามฤดูกาล ทั้ง ทุเรียน เงาะ มังคุด สละ
คุณบุญชื่น โพธิแก้ว หรือ ป้าชื่น กล่าวว่า ไม่เคยคิดเลยว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จะเป็นคำที่อมตะ และเปี่ยมคุณค่า จึงลงมือปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก และใช้ประโยชน์พื้นที่ได้อย่างเหมาะสม ตามแนวคิด “สวนรกรุงรัง แต่ได้สตางค์ทุกด้าน”
ทั้งนี้ยังได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ “การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนกับ EEC เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ณ ศูนย์การเรียนรู้ตามศาสตร์พระราชา “ชุมชนเกาะกก” ซึ่งเป็นผืนสุดท้ายและชาวนาคนสุดท้ายท่ีมาบตาพุด อยู่ใกล้เขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เป็นชุมชนศูนย์เรียนรู้ และสร้างจุดขายที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน
ชุมชนเกาะกก ป็นต้นแบบชุมชนเชิงนิเวศรักษ์สิ่งแวดล้อม ที่อยู่ร่วมกันระหว่างภาคอุตสาหกรรม กับชุมชน เป็นการสร้างสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ภายใต้กรอบแนวคิดของการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่ลดปริมาณขยะอินทรีย์ ลดปัญหามลพิษทางอากาศ ลดการใช้พลังงาน การบริหาร การจัดการนา และที่สาคัญชุมชนมีการสร้างอาชีพเกิดเป็นวิสาหกิจชุมชน สินค้าชุมชนที่ขึ้นช่ือและรู้จักอย่างกว้างขวาง ในการพัฒนาต่อยอดจากข้าวกล้องสุขภาพไปเป็น “ข้าวไรช์เบอรี่ สแนคบาร์” เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการจำหน่ายข้าว
ปิดท้ายทริปดูงานภาคตะวันออก คณะนักศึกษา สสสส.12 ลงพื้นที่เรียนรู้ป่าชายเลนพระเจดีย์กลางน้ำ ซึ่งเป็นแลนด์มาร์คใจกลางเมืองระยอง แหล่งรวบรวมข้อมูลในอดีตที่สำคัญ เป็นโบราณสถานของจังหวัดระยอง รวมถึงเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้แล้วยังได้สัมผัสกับธรรมชาติและทรัพยากรป่าชายเลนอย่างใกล้ชิด ตลอดจนเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในพื้นที่โดยรอบ
สุรเชษฐ ศิลานนท์ รายงาน