การประชุม “อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ” (“湿地公约”)
ข้อมูลเกี่ยวกับ “อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ” (“湿地公约”) ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
๑. จากการประชุมภาคีใน “อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ”ครั้งที่ ๓ ที่เพิ่งปิดไปเมื่อเร็วๆ นี้ ได้ประกาศว่า การประชุมฯ ครั้งที่ ๔ จะจัดขึ้นที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ระหว่างวันที่ ๒๑ – ๒๙ พ.ย. ปี 2022 (พ.ศ.๒๕๖๕) ซึ่งเป็นครั้งแรกที่จีนเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนี้ ภายใต้ประเด็น “ถนอมรักษาพื้นที่ชุ่มน้ำ มนุษย์และธรรมชาติอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน” (“珍爱湿地,人与自然和谐共生”) การประชุมครั้งนี้จะมุ่งหารือถึงการปฏิบัติตาม “แผนพัฒนาอย่างยั่งยืนปี ๒๐๓๐ ของสหประชาชาติ” (“联合国2030年可持续发展议程”) และพิจารณายุทธศาสตร์การพัฒนาของอนุสัญญาพื้นที่ชุ่มน้ำ เป็นต้น
๒. โดย “อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ” ได้ลงนามเมื่อวันที่ 2 ก.พ. ปี ๑๙๗๑ (พ.ศ.๒๕๑๔) และมีผลบังคับใช้ในวันที่ ๒๑ ธ.ค. ปี ๑๙๗๕ (พ.ศ.๒๕๑๘) มีคู่สัญญา ๑๗๒ รายลงนาม ซึ่งหลักการของอนุสัญญาฯ คือ ท้องที่และประเทศต่างๆ จะใช้มาตรการและดำเนินความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อผลักดันการอนุรักษ์ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม และใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างเหมาะสม สร้างคุณูปการต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของโลก การประชุมดังกล่าวนี้จัดขึ้นทุก ๓ ปี โดยรัฐบาลประเทศเจ้าภาพ
๓. รัฐบาลจีนเข้าร่วมสนธิสัญญาพื้นที่ชุ่มน้ำเมื่อปี ๑๙๙๒ (พ.ศ.๒๕๓๕) ซึ่งเป็นคู่สัญญาลำดับที่ ๖๗ โดยพยายามร่วมกับประชาคมโลกมาโดยตลอด ในการใช้มาตรการอย่างแข็งขันทางการท้าทายทั่วโลก เช่น การรับมือกับการลดลงของพื้นที่ชุ่มน้ำ การลดลงของบทบาททางระบบนิเวศ เป็นต้น โดยได้ผลักดันการกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กำหนดพื้นที่ชุ่มน้ำสำคัญระหว่างประเทศ ประกาศรายชื่อพื้นที่ชุ่มน้ำที่สำคัญ ดำเนินการสำรวจและกำกับดูแลพื้นที่ชุ่มน้ำ จัดทำโครงการปรับปรุงและอนุรักษ์ เป็นต้น ส่งเสริมการบริหารและการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างรอบด้าน มีการขยายการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งส่งเสริมให้ทั่วทั้งสังคมมีแนวคิดอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งเป็นที่ยอมรับและได้รับการชื่นชมจากประชาคมโลกอย่างกว้างขวาง
บทสรุป ปัจจุบัน ประเทศจีนมีพื้นที่ชุ่มน้ำสำคัญระดับนานาชาติ ๖๔ แห่ง (รวมถึง ๑ แห่งในฮ่องกง) พื้นที่ชุ่มน้ำสำคัญระดับประเทศ ๒๙ แห่ง เขตอนุรักษ์ธรรมชาติทางพื้นที่ชุ่มน้ำ ๖๐๒ แห่ง สวนพื้นที่ชุ่มน้ำ ๑,๖๙๓ แห่ง โดยได้สร้างระบบอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำระดับประเทศขั้นพื้นฐาน และเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีสภาพทางระบบนิเวศที่ดี
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.xinhuanet.com/travel/20211109/ab8c26e1bca74ec5b9cf32c54971f1fe/c.html )
นำเสนอ/รายงาน
ว่าที่ พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์
ตำแหน่ง เลขาธิการ
สถาบันศึกษาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงการเส้นทางสายไหม
12/11/2021