นายหวัง ปิ่งหนาน รมต.ช่วยพาณิชย์จีน ตั้ง 4 คาน 8 เสา ศูนย์การการบริโภคระหว่างประเทศ
นายหวัง ปิ่งหนาน (王炳南) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (商务部副部长) ของจีน ได้กล่าวถึงความคืบหน้าในการสร้างเมืองศูนย์กลางการบริโภคระหว่างประเทศ (国际消费中心城市培育建设工作) ในงานแถลงข่าวที่จัดขึ้นโดยกระทรวงพาณิชย์จีน เมื่อวันที่ ๒๐ ต.ค.๖๔ ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
๑. นายหวัง ปิ่งหนาน กล่าวว่า การสร้างเมืองศูนย์กลางการบริโภคระหว่างประเทศจะช่วยเร่งคุณภาพและยกระดับของการบริโภคและส่งเสริมการก่อตัวของตลาดภายในประเทศที่แข็งแกร่งและวงจรภายในประเทศที่ราบรื่น รวมทั้งยังช่วยส่งเสริมการเปิดสู่โลกภายนอก ผลักดันวัฏจักรคู่ในประเทศและต่างประเทศที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีคุณภาพสูง และสร้างรูปแบบการพัฒนาใหม่
๒. นายหวัง ปิ่งหนาน แนะนำว่า เพื่อบ่มเพาะและสร้างศูนย์การบริโภคระหว่างประเทศที่มีคุณภาพสูง โดยมหานครเซี่ยงไฮ้ กรุงปักกิ่ง นครกว่างโจว มหานครเทียนจิน และมหานครฉงชิ่ง ได้มีการจัดตั้ง “๔ คาน ๘ เสา” (“四梁八柱” เป็นการอุปมาถึงการปฏิรูปของจีนที่ต้องมีกรอบพื้นฐาน อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ ๑๘ โดยคณะกรรมการกลางของพรรคฯ ได้ดำเนินการสร้างรูปแบบเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการบริหารงานและดูแลพรรคอย่างเคร่งครัด ด้วยการแก้ไขพิธีการในพรรค รวมถึงปัญหาระบบราชการ ปัญหาลัทธินอกรีต และปัญหาความฟุ่มเฟือย) ซึ่งทั้ง ๕ เมืองนี้ได้กำหนดชุดของมาตรการนโยบายที่มั่นคงและมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ
๒.๑ มหานครเซี่ยงไฮ้ จะเน้นย้ำความได้เปรียบของการรวมทรัพยากรระดับไฮเอนด์ และนวัตกรรมของตลาดที่มีความกระตือรือร้น มุ่งมั่นที่จะเป็นแหล่งเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ทั่วโลกและจุดหมายปลายทางของผู้บริโภคทั่วโลก รวมถึงส่งเสริม ๔ แบรนด์หลัก ได้แก่ การบริหารเซี่ยงไฮ้ การผลิตของเซี่ยงไฮ้ ช้อปปิ้งในเซี่ยงไฮ้ และวัฒนธรรมเซี่ยงไฮ้
๒.๒ กรุงปักกิ่ง จะชูสมรรถนะความเป็นเมืองหลวงของจีน โดยเน้นที่การสร้างแลนด์มาร์คการบริโภคที่มีอิทธิพลในระดับสากล และถือการเผยแพร่วัฒนธรรมเมืองหลวงเป็นหลัก เสนอการดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบของ ๑๐ ปฏิบัติการพิเศษ อาทิ การสร้างแลนด์มาร์คการบริโภคใหม่ การสร้างความเป็นฐานแบรนด์ผู้บริโภค เป็นต้น
๒.๓ นครกว่างโจว จะดำเนินการ ๕ เรื่องหลัก ได้แก่ สิ่งของเครื่องใช้แฟชั่น การมีคุณภาพสูง การทรงพลัง การเข้าถึง และการมีความเลื่องชื่อ เพื่อสร้างความเป็นการบริโภคระดับสากลที่ดึงดูดลูกค้าจากทั่วโลก การขายสินค้าของทั่วโลกและขายสินค้าไปทั่วโลก
๒.๔ มหานครเทียนจิน จะใช้ประโยชน์จากกลยุทธ์การพัฒนาร่วมกันระหว่างกรุงปักกิ่ง-นครเทียนจิน-มณฑลเหอเป่ย และดำเนินการสร้างรูปแบบความเป็นย่านธุรกิจ “ศูนย์เดียวที่มีหลายจุดสนับสนุน” และชู 5 ด้านพิเศษเฉพาะตน ได้แก่ แม่น้ำ, ทะเล, ท่าเรือ, อาคารทรงตะวันตก และความเป็นตำบลเล็กที่สวยงาม สร้างความเป็นเมืองศูนย์กลางการบริโภคระหว่างประเทศที่มุ่งเป้าไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ และรัสเซีย ยุโรปกลางและตะวันออก
๒.๕ มหานครฉงชิ่ง จะชูความเป็นเมืองดัง ๕ ด้าน ได้แก่ การช้อปปิ้ง อาหาร นิทรรศการ การท่องเที่ยวและวัฒนธรรมนานาชาติ และดำเนินงาน ๑๐ โครงการหลัก อาทิ การเพาะปลูกผลิตภัณฑ์สินค้าที่ยอดเยี่ยมของฉงชิ่ง และการสร้างแบรนด์บริการที่มีลักษณะพิเศษ เพื่อสร้างเป็นเมืองศูนย์กลางการบริโภคสากลที่มีลักษณะพิเศษของตน ที่เปิดประตูสู่ภูมิภาคตะวันตกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับเอเชียใต้
บทสรุป ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์จีนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ออกแผนโดยรวมสำหรับการสร้างเมืองศูนย์การบริโภคระหว่างประเทศ โดยชี้แจงเป้าหมายโดยรวม ซึ่งจะใช้เวลา ๕ – ๑๐ ปี ในการดำเนินการ
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://shangrao.smartjx.com/zxkj/2021/1021/25302439.html )
นำเสนอ/รายงาน
ว่าที่ พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์
ตำแหน่ง เลขาธิการ
สถาบันศึกษาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงการเส้นทางสายไหม
25/10/2021